คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำลายป่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานทำลายป่าในเขตนิคมฯ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ ได้ แม้ไม่ได้ระบุบทกฎหมาย ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องข้อ 1 จ. ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันแผ้วถางป่าตัดต้นกาลอในป่านิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา อันเป็นการทำลายป่า ทำให้เสื่อมสภาพที่ดินเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในที่ดินภายในเขตของนิคมโดยไม่ได้รับอุนญาต? และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 4, 14, 15, 41 ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ แล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและโจทก์ระบุมาตรา 41 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดฐานนี้ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุบทกฎหมายที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดสำหรับความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ เท่านั้น หาทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกทำลายป่าสงวนฯ และการแก้ไขอัตราส่วนการจ่ายสินบนรางวัลให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นต้นน้ำลำธารในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยใช้เครื่องเลื่อยโซ่ก่นสร้างแผ้วถางป่าเป็นเนื้อที่ถึง 6 ไร่ เป็นการทำลายป่าและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธารอย่างกว้างขวาง อันเป็นเหตุอาจทำให้เกิดอุทกภัยและความแห้งแล้งเป็นผลเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนได้ จึงเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรงมากสมควรที่จะลงโทษสถานหนัก และจำเลยที่ 1ยังได้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฯ กับพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ อีกด้วยกรณีจึงไม่มีเหตุสมควรจะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 กำหนดให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไข เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้ว ประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลตามกฎหมาย มิใช่ขอให้จ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าจึงต้องให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเลื่อยโซ่ของกลางที่ศาลสั่งริบ ตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานทำลายป่า: สถานที่กระทำผิดต้องระบุชัดเจน และการอ้างพยานผู้กระทำผิดก็ทำได้
คำบรรยายฟ้องที่ไม่ถือว่าเคลือบคลุมกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานโจทก์เท่านั้นมิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้ที่กระทำผิดเช่นเดียวกับจำเลยมาเป็นพยาน
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแผ้วถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่าอยู่โดยรอบจำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ถางที่ดินที่ยังมีสภาพเป็นป่า เป็นการถางที่มีประโยชน์ที่ไม่มีสภาพเป็นป่า ข้อเถียงดังนี้เป็นการเถียงข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11013/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิพากษาความผิดฐานทำลายป่าไม้ แม้ไม้ไม่ใช่ไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้ โดยตัดฟันต้นงิ้วภายในเขตป่าประดางและป่าวังเจ้า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และเลื่อยออกเป็นท่อนได้ไม้งิ้ว 105 ท่อน ปริมาตร 12.07 ลูกบาศก์เมตร แล้วร่วมกันใช้รถยนต์บรรทุกนำไม้ดังกล่าวออกจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ต้นไม้งิ้วที่จำเลยกับพวกร่วมกันตัดฟันและเลื่อยออกเป็นท่อนนั้น เป็นไม้หวงห้ามอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานทำไม้ ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ดังนั้น ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาด้วยและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานร่วมกันทำไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกป่า ตัดไม้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ศาลฎีกายืนโทษฐานบุกรุกป่าและทำให้เสียทรัพย์
คำว่า ป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน การเป็นป่าตามความหมายดังกล่าวไม่ใช่กรณีเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ หากที่ใดแปลงใดเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ที่ดินแปลงใดแม้จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 616 (พ.ศ.2516) หรือไม่ หากไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิครอบครองทำกินตาม ป.ที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
จำเลยเข้าไปครอบครองตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรีและก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองป่าเป็นของตนหรือผู้อื่นจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ ป.อ. แยกการกระทำเป็นสองกรรมต่างหากจากกัน แต่เมื่อเป็นการกระทำความผิดต่อต้นยูคาลิปตัสจำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไป จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2563