พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8330/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนด
การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์นั้น พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มิได้มีบทบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตาม ป.วิ.พ.มาตรา94 (ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอขายที่ดินไม่ผูกพันตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
เมื่อเอกสารหมาย จ.1 ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย สัญญาจะขายหรือคำมั่นในการขาย แต่เป็นเพียงข้อเสนอขายที่ดินเพียงฝ่ายเดียว ยังไม่มีการตกลงกันในเรื่องราคาอันเป็นสาระสำคัญของการซื้อขาย โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะต้องเสนอราคาที่ดินมาก่อน หากจำเลยไม่พอใจราคาที่เสนอมาจำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ขายที่ดินดังกล่าวได้ จึงไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องได้ ฉะนั้นการที่จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนเสนอขายที่ดินของจำเลย จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต้องทำเป็นหนังสือตั้งแต่เริ่มจ้าง หากไม่เป็นไปตามนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
++ คดีแดงที่ 3995-4017/2542 ++
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ด้วย กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในภายหลังจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรค 4ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้าง จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ด้วย กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในภายหลังจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรค 4ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้าง จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995-4017/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาต้องทำเป็นหนังสือตั้งแต่เริ่มจ้าง จึงจะได้รับการยกเว้นค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างนั้น ต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ คือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้าง ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยเพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างฉบับแรกภายหลังลงมือทำงานแล้ว 1 เดือน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคหนึ่ง นั้นจะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร เมื่อจำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้างจึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังกล่าวไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือ หากไม่ทำตามตกลง สัญญาเป็นโมฆะ แม้วางมัดจำแล้ว
บันทึกข้อตกลงฉบับพิพาทมีใจความว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับเช็คเงินสดไว้จำนวนห้าแสนบาทถ้วน(500,000 บาท) เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2536 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด เช็คเลขที่ 0071851 ภายในวันที่20 เมษายน 2536 จะชำระส่วนที่เหลืออีกห้าล้านห้าแสนบ้าน(5,500,000) บาท) ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายในวันที่ 20 เมษายน 2536(หลังจากวันที่ 20 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ)ที่ดินรังสิต จำนวน 50 ไร่ โฉนดเลขที่ 9 ที่ดินระวาง 15 น.10 อ. ดังนี้ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้รับเงิน 500,000 บาท เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและตกลงกันว่าโจทก์จะชำระเงินมัดจำส่วนที่เหลืออีก5,500,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันภัยในวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์เองทราบดีว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกที่ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในวันที่ 20 เมษายน 2536 โจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันแน่นอนแต่โจทก์เกรงว่าจำเลยทั้งสี่อาจจะไม่ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ โจทก์จึงชำระเงิน 500,000 บาท ให้ฝ่ายจำเลยโดยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคู่กรณีจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันอีกชั้นหนึ่งในวันที่ 20 เมษายน 2536พร้อมทั้งโจทก์ต้องชำระเงินวางมัดจำจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาที่ดินพิพาท 60,000,000 บาท ซึ่งหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจะต้องมีข้อตกลงต่าง ๆและเงื่อนไขในการชำระเงินและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อกัน การที่บันทึกข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้โดยชัดเจนแต่ข้อความในวงเล็บว่า "หลังจากวันที่ 20 เม.ย. 36 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ" ซึ่งหมายถึงโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์ไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและวางเงินมัดจำ10 เปอร์เซ็นต์ ตามคำพูดที่ตกลงไว้ในบันทึกภายในวันที่20 เมษายน 2536 ก็ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทและเห็นความหมายได้ในตัวว่าโจทก์ผู้จะซื้อจะต้องมาหาฝ่ายจำเลยผู้จะขาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงไม่ไปพบจำเลยทั้งสี่ตามที่ตกลง และโจทก์และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ ผลก็คือสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังไม่ได้ทำขึ้นจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 และแม้การวางเงินมัดจำคำพูดดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำทั้งหมดก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์จึงอาศัยข้อตกลงตามบันทึกฉบับพิพาทมาฟ้องร้องบังคับจำเลยทั้งสี่ให้โอนขายที่ดินพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองและกู้ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดกับข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้และสัญญาจำนอง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อห้ามโอนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน จึงมีผลบังคับใช้
โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าห้ามมิให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขาย ต่อมาจำเลยที่ 1ได้ขายที่ดินพิพาทจำนวน 1,000 ส่วนใน 1,064 ส่วน ให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา500,000 บาท โดยจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนดังกล่าวดังนี้ เมื่อข้อห้ามโอนดังกล่าวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่โจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ ข้อห้ามโอนดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 1700 และ 1702 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง การวางเงินมัดจำยังไม่ถือเป็นสัญญาบริบูรณ์
คู่สัญญากำหนดจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยวิธีทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง ก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาเมื่อยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงยังไม่เกิด จะนำเอาวิธีอื่น เช่น การวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อจะขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือ การวางมัดจำยังไม่ถือเป็นสัญญาบริบูรณ์
โจทก์จำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินกันตามเอกสารหมายจ.1โดยโจทก์วางเงินมัดจำในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งและมีข้อตกลงว่าอีก5วันต่อมาจะมีการวางมัดจำเพิ่มเติมรวมทั้งจะทำหนังสือกันอีกครั้งเพื่อระบุรายละเอียดต่างๆได้แก่การชำระเงินส่วนที่เหลือการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองค่าภาษีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการโอนการขนย้ายบ้านและการรื้อถอนทรัพย์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินการกำหนดค่าปรับในกรณีผิดสัญญาข้อตกลงเกี่ยวกับการที่จะเข้าไปทำประโยชน์รวมทั้งหากที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยจะทำเป็นหนังสือให้ทนายความเป็นผู้ทำสัญญาเพิ่มเติมข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคสองส่วนการที่โจทก์วางมัดจำแก่จำเลยแล้วนั้นเมื่อคู่สัญญากำหนดจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยวิธีทำเป็นหนังสือก็ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาจะนำเอาวิธีอื่นเช่นการวางเงินมัดจำมาวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงจะซื้อจะขายกันแล้วโดยบริบูรณ์หาได้ไม่