พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร และการประเมินโดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บัญญัติบังคับให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว มาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการคำนวณเท่านั้น เนื่องจากค่ารายปีย่อมอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง
ค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แสดงว่า ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ซึ่งโจทก์ยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 โจทก์แจ้งรายการทรัพย์สินไม่ครบตามความเป็นจริง ครั้นเทศบาลตำบลจำเลยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปสำรวจทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อประเมินภาษีในปี 2543 จำนวน 26 รายการ โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 8 รายการ แสดงว่าค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ที่ใช้ในการประเมินเพื่อ เสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 ไม่ถูกต้องและต่ำกว่าความเป็นจริง กรณีจึงถือได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดค่ารายปีของปี 2543 เสียใหม่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้นำหลักเรื่องการแบ่งทำเลทรัพย์สินซึ่งมีการกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนแตกต่างกันในแต่ละทำเลมาใช้กับกรณีของโจทก์ โดยเห็นว่าทรัพย์สินของโจทก์อยู่ในทำเลที่ 2 กำหนดราคา ค่าเช่าทรัพย์สินที่เป็นอาคารในอัตรา 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการผลิต เช่น บ่อน้ำพื้นที่รวมและลานจอดรถพื้นที่รวมอัตรา 2 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สำหรับพื้นที่ต่อเนื่องของโจทก์ก็กำหนดอัตรา 0.50 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งลดจำนวนเดือนในการคิดค่ารายปีเหลือแค่ 7 เดือนครึ่งแล้ว ประเมินภาษีของโจทก์เป็นเงินเพียง 486,368 บาท นับว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีเพื่อประเมินภาษีของโจทก์ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง โดยรอบคอบและเหมาะสมถูกต้องแล้ว
ค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แสดงว่า ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ซึ่งโจทก์ยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 โจทก์แจ้งรายการทรัพย์สินไม่ครบตามความเป็นจริง ครั้นเทศบาลตำบลจำเลยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปสำรวจทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อประเมินภาษีในปี 2543 จำนวน 26 รายการ โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 8 รายการ แสดงว่าค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ที่ใช้ในการประเมินเพื่อ เสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 ไม่ถูกต้องและต่ำกว่าความเป็นจริง กรณีจึงถือได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดค่ารายปีของปี 2543 เสียใหม่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้นำหลักเรื่องการแบ่งทำเลทรัพย์สินซึ่งมีการกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนแตกต่างกันในแต่ละทำเลมาใช้กับกรณีของโจทก์ โดยเห็นว่าทรัพย์สินของโจทก์อยู่ในทำเลที่ 2 กำหนดราคา ค่าเช่าทรัพย์สินที่เป็นอาคารในอัตรา 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการผลิต เช่น บ่อน้ำพื้นที่รวมและลานจอดรถพื้นที่รวมอัตรา 2 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สำหรับพื้นที่ต่อเนื่องของโจทก์ก็กำหนดอัตรา 0.50 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งลดจำนวนเดือนในการคิดค่ารายปีเหลือแค่ 7 เดือนครึ่งแล้ว ประเมินภาษีของโจทก์เป็นเงินเพียง 486,368 บาท นับว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีเพื่อประเมินภาษีของโจทก์ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง โดยรอบคอบและเหมาะสมถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินค่าเช่าที่สมควร และการพิจารณาทำเลที่ตั้งในการกำหนดอัตราค่าเช่า
ชั้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยได้โต้แย้งด้วยวาจาขอให้กำหนดประเด็นเพิ่ม ศาลชั้นต้นสั่งว่าหากจำเลยจะคัดค้านให้คัดค้านเข้ามาเป็นหนังสือภายใน 8 วัน จำเลยยื่นคำร้องแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า ไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้ง จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2535 มาตรา 25 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109นอกจากนี้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่าเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดี กรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้นได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่าปี 2539เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2535 มาตรา 25 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109นอกจากนี้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่าเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดี กรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้นได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่าปี 2539เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์จากเปลี่ยนแปลงทำเลที่ตั้งตามแผนผังโครงการ
ตามแผนผังโครงการแนบท้ายสัญญาจะซื้อขายทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินพิพาทระบุว่า ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมตามโครงการ มีถนนด้านหน้าและด้านหลัง จากถนนด้านหน้าเข้าสู่ถนนในโครงการด้านซ้ายเป็นทาวน์เฮาส์ 7 ห้องและด้านขวาอีก 7 ห้อง ถัดจากทาวน์เฮาส์ไปเป็นบริเวณของสระว่ายน้ำและลานลอยฟ้า มีตึกคอนโดมิเนียมอยู่ด้านในติดกับถนนด้านหลัง และโจทก์ตกลงจะซื้อทาวน์เฮาส์ห้อง บี 7 ที่ระบายสีเหลืองไว้ซึ่งอยู่ใกล้สระว่ายน้ำจากจำเลย เมื่อแผนผังดังกล่าวเป็นการแสดงทำเลที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่จะก่อสร้างเสนอขายตามโครงการของจำเลยว่ามีสระว่ายน้ำ ลานลอยฟ้า และคอนโดมิเนียมอันอยู่ในทำเลที่สง่าสวยงามน่าอยู่ ไม่เปลี่ยวโดดเดี่ยวเหมือนอย่างที่มีทาวน์เฮาส์ 14 ห้อง เพียงอย่างเดียวหากเป็นทำเลคนละแห่งกันก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ การที่จำเลยก่อสร้างทาวน์เฮาส์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้สร้างสระว่ายน้ำ ลานลอยฟ้าและคอนโดมิเนียมให้เต็มตามโครงการที่ได้โฆษณาไว้ย่อมทำให้ทำเลที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่สร้างขึ้นแตกต่างไปเป็นคนละอย่าง ไม่เหมือนทำเลที่ตั้งทาวน์เฮาส์ตามแผนผังโครงการที่นำออกโฆษณาต่อลูกค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าสระว่ายน้ำและลานลอยฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกของทาวน์เฮาส์หรือไม่ หรือโจทก์จะมีสิทธิใช้สิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวได้หรือไม่ กับไม่เกี่ยวกับความแตกต่างของการถือครองกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้เป็นเจ้าของทาวน์เฮาส์และผู้เป็นเจ้าของห้องชุดในคอนโดมิเนียมแต่ประการใด และแม้จำเลยจะแยกโครงการดังกล่าวออกเป็นโครงการย่อย 2 ส่วนคือ ส่วนของโครงการทาวน์เฮาส์ และส่วนของโครงการคอนโดมิเนียม ก็ไม่ทำให้จำเลยผู้เป็นเจ้าของโครงการพ้นจากการตกเป็นผู้ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้ที่ดินรุกล้ำ: ศาลพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง, ประโยชน์ที่จะได้รับ, และอายุการใช้งานสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 7.9 ตารางวา แม้มีราคาประเมินตารางวาละ 750 บาท แต่จำเลยได้ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์บนที่ดินพิพาทติดกับร้านค้าของจำเลย แสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทอยู่ในที่เจริญ หากจำเลยไม่ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์รุกล้ำ โจทก์อาจนำที่ดินพิพาทไปปลูกสร้างอาคารให้เช่าหรือปลูกอาคารพาณิชย์หาประโยชน์ได้ ทั้งสภาพของโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์ดังกล่าวเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีสภาพมั่นคงแข็งแรงสามารถใช้งานได้ 10 ถึง 20 ปี กว่าจะสลายไปตามสภาพ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์ไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นอย่างมาก แม้ราคาที่ดินหากซื้อขายกันในขณะนี้จะมีราคาต่ำกว่าค่าใช้ที่ดินที่ศาลกำหนดให้ แต่หากพิจารณาถึงอนาคตแล้วราคาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้ใช้จำนวน 200,000 บาทนั้นจึงเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าใช้จ่ายที่ดินรุกล้ำ: พิจารณาทำเลที่ตั้ง, ประโยชน์สูญเสีย, และสภาพสิ่งปลูกสร้างเพื่อกำหนดราคาที่เหมาะสม
ที่ดินพิพาทเนื้อที่7.9ตารางวาแม้มีราคาประเมินตารางวาละ750บาทแต่จำเลยได้ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์บนที่ดินพิพาทติดกับร้านค้าของจำเลยแสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทอยู่ในที่เจริญหากจำเลยไม่ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์รุกล้ำโจทก์อาจนำที่ดินพิพาทไปปลูกสร้างอาคารให้เช่าหรือปลูกอาคารพาณิชย์หาประโยชน์ได้ทั้งสภาพของโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์ดังกล่าวเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีสภาพมั่นคงแข็งแรงสามารถใช้งานได้10ถึง20ปีกว่าจะสลายไปตามสภาพซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์ไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นอย่างมากแม้ราคาที่ดินหากซื้อขายกันในขณะนี้จะมีราคาต่ำกว่าค่าใช้ที่ดินที่ศาลกำหนดให้แต่หากพิจารณาถึงอนาคตแล้วราคาที่ศาลอุทธรณ์ภาค2กำหนดให้ใช้จำนวน200,000บาทนั้นจึงเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'เคหะ' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ พิจารณาจากเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า "เคหะ" ตามมาตรา 3 ก็คือ "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า"โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ประกอบธุระกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์" นั้น เป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้น แต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" และโดยที่พระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับเรื่องการเช่า ฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่ จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วย ว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่า การที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น "เคหะ" ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่า และเหตุผลแวดล้อมอย่างอื่นเป็นข้อประกอบด้วย
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8302/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาขนาดทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะ การใช้เกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกันถือว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีประจำปีภาษี 2552 ที่พิพาท เท่ากับปีภาษี 2551 ซึ่งเป็นปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว แต่ค่ารายปีของทรัพย์สินแต่ละรายอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แล้วแต่ข้อเท็จจริงของแต่ละปี ทั้งนี้การพิจารณาเพิ่มหรือลดค่ารายปีต้องมีเหตุผลและต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาทครั้งแรกเมื่อปีภาษี 2548 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ตามอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางที่จำเลยกำหนดในบันทึกข้อความที่ กท 7000/2912 ซึ่งโรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ต่อมาจำเลยมีบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 จัดกลุ่มตามพื้นที่ที่ตั้งเขตใหม่ ทำให้โรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 และมีอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางต่ำลง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เท่ากับค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วและนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 455/1-2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 3 ซึ่งมีความกว้างกว่าถนนเจริญราษฎร์ที่โรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ อีกทั้งมีราคาประเมินที่ดินที่สูงกว่า และนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 3609/9 ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันกับโจทก์ โดยไม่นำไปเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 358/1 และโรงเรือนเลขที่ 299/10 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยประเมินค่ารายปีโรงเรือนทั้งสองแห่งดังกล่าวโดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 อันแสดงให้เห็นว่าการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับอาคารลักษณะพิเศษในเขตเดียวกันใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ทำให้โจทก์ต้องรับภาระภาษีมากกว่าโรงเรือนรายอื่นที่มีลักษณะทรัพย์สินคล้ายคลึงกับโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน อันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของผู้เสียภาษี การกำหนด ค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับโรงเรือนของโจทก์จึงยังไม่เหมาะสมและไม่มีเหตุผลเพียงพอ กรณีจึงมีพฤติการณ์และเหตุผลอันสมควรให้ประเมินค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์โดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 ซึ่งเป็นคุณแก่โจทก์มากกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การกำหนดค่ารายปีตามสภาพประโยชน์ใช้สอยและทำเลที่ตั้ง
มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.โรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" กฎหมายมิได้บังคับให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรง เพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการคำนวณเท่านั้น เนื่องจากค่ารายปีย่อมอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง และสำหรับค่ารายปีนั้น มาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ จึงแสดงว่าค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่จำหน่ายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไป โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์ในส่วนที่เป็นพื้นที่ขายมากกว่าส่วนที่ใช้เป็นพื้นที่สำนักงาน และการนำอาคารห้างสรรพสินค้าให้ผู้อื่นเช่าย่อมได้ค่าเช่ามากกว่าอาคารที่ใช้เป็นพื้นที่สำนักงาน เมื่อลักษณะการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินแตกต่างกัน ค่ารายปีในส่วนพื้นที่ขายย่อมสูงกว่าพื้นที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน การที่ปีภาษี 2558 จำเลยกำหนดค่ารายปีพื้นที่ขายและพื้นที่สำนักงานในอัตราค่าเช่า 50 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนเท่ากันจึงไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง จำเลยย่อมมีอำนาจกำหนดค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2559 ในส่วนพื้นที่ขายใหม่ได้โดยไม่จำต้องใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปี พื้นที่ขายเป็นพื้นที่ที่โจทก์ใช้ประโยชน์เองจึงเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่าเช่าของผู้ประกอบการที่เช่าพื้นที่ของโจทก์ซึ่งมีอัตราค่าเช่าระหว่าง 700 ถึง 5,000 บาท เฉลี่ยตารางเมตรละ 1,884 บาทต่อเดือน กับค่าเช่าโรงเรือนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโจทก์ซึ่งมีอัตราค่าเช่าระหว่าง 240 ถึง 416 บาท เฉลี่ยตารางเมตรละ 289 บาทต่อเดือน มาเทียบเคียงเพื่อกำหนดค่ารายปีพื้นที่ขายของโจทก์นั้น แม้ทรัพย์สินที่นำมาเทียบเคียงดังกล่าวจะมีพื้นที่และลักษณะการประกอบกิจการแตกต่างจากโจทก์ แต่ต่างก็อยู่ในทำเลที่ตั้งและได้รับบริการสาธารณะเช่นเดียวกับโจทก์อันสามารถนำค่าเช่าดังกล่าวมาเทียบเคียงเพื่อกำหนดค่ารายปีพื้นที่ขายของโจทก์ได้ตามมาตรา 8