คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทำเหมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงทำเหมือง: สัญญาผูกพันจนกว่ารัฐมนตรีไม่อนุญาต และอายุความฟ้องละเมิดสัญญา
ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาท สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: การใช้สิทธิเลิกสัญญาที่ไม่สุจริตและการชดใช้ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติแร่ฯ มาตรา 76 และ 77 มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นหาใช่สัญญายังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากรัฐมนตรีไม่ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามแต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาทสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6กรกฎาคม 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องร้องกรณีบุกรุกทำเหมืองในพื้นที่คำขอประทานบัตร: โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ แต่ยังมิได้รับประทานบัตร หากระหว่างดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่มีผู้มาขุดแร่ในพื้นที่คำขอประทานบัตรรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรงเพราะโจทก์ยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาและดุลพินิจทางปกครองในการอนุมัติเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมือง
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นข้าราชการตำแหน่งทรัพยากรธรณีจังหวัด รับเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมืองจากโจทก์แล้วมิได้นำเสนออธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเพื่อพิจารณาอนุญาตโดยตรง หากแต่เสนอเรื่องราวดังกล่าวไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความเห็นก่อน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลหน่วยงานนี้สั่งการไว้ โดยคำสั่งดังกล่าวปฏิบัติตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดและคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมอบหมายให้ปฏิบัติราชการตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ (1) (2) อีกทั้งไม่มีระเบียบทางราชการกำหนดวิธีการปฏิบัติเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการ
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ การรับช่วงทำเหมือง และสิทธิครอบครองที่ดิน
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่าที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตรเป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตรแต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้นหากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นการชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาทเว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเอง ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่กับการขัดขวางการทำเหมือง ผู้รับประทานบัตรมีสิทธิฟ้อง แม้ประทานบัตรจะหมดอายุแต่ยังอยู่ในระหว่างต่ออายุ
ตามมาตรา 50,73 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 การได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่นั้น ไม่ทำให้ผู้นั้นได้สิทธิครอบครองที่ดินอยู่ในเขตประทานบัตรด้วย แต่เมื่อมีผู้ใดเข้าไปขัดขวางในการทำเหมืองแร่ในเขตประทานบัตรโดยไม่มีอำนาจโดยชอบแล้ว ผู้ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีอำนาจฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบแร่ที่ได้จากการทำเหมืองผิดกฎหมาย ต้องพิจารณาตามกฎหมายเหมืองแร่ ไม่ใช่ ก.ม.ลักษณะอาญา
แร่ที่จำเลยร่อน, มี และซื้อโดยฝ่าฝืนกฎหมายจะถูกริบหรือไม่นั้น ต้องวินิจฉัยตามกฎหมายว่าด้วยการทำเหมืองแร่ จะนำกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 27 มาใช้หาได้ไม่ กฎหมายเรื่อง การทำเหมืองแร่ ไม่ได้บัญญัติให้ริบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบแร่จากการทำเหมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีการฟ้องร้องอาญา
มาตรา 154 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ บัญญัติว่า บรรดาแร่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 132 ทวิ ฯลฯ มาตรา 135 ฯลฯ มาตรา 148 ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ โดยมาตรา 135 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานทำเหมืองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราว และมาตรา 148 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานมีแร่ไว้ในครอบครองเกินสองกิโลกรัม เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้รับประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวในการทำเหมืองแร่ แต่ผู้คัดค้านทำการขุดดินและดินนั้นเป็นแร่ ซึ่งเป็นการทำเหมืองตามคำนิยามในมาตรา 4 ถือได้ว่ามีการกระทำความผิดฐานทำเหมืองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับแร่ของกลางที่ขุดขึ้นมามีน้ำหนักเกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนด ผู้ใดจะครอบครองแร่ดังกล่าวได้จะต้องได้รับอนุญาตหรือมีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย เมื่อไม่มีผู้ใดได้รับอนุญาตให้ครอบครองและไม่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย แร่ของกลางจึงเป็นแร่ที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิดอันพึงต้องริบเสียทั้งสิ้นตามบทบัญญัติมาตรา 154 วรรคหนึ่ง สำหรับกรณีที่ผู้ร้องมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้คัดค้านเนื่องด้วยขาดเจตนาในการกระทำความผิดนั้น หาได้กระทบถึงสิทธิการร้องขอให้ริบแร่ของกลางของผู้ร้อง เพราะการริบทรัพย์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ริบได้โดยไม่จำต้องฟ้องหรือลงโทษผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดมาด้วย ทั้งริบได้โดยไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่