พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ถือว่าทิ้งคำร้องแม้ผู้ร้องไม่ดำเนินการทันตามกำหนด หากศาลมิได้แจ้งคำสั่งและผู้ร้องยังมีความพยายาม
เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยครั้งแรกไม่ได้ผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยใหม่ แม้จะไม่ได้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง กลับสั่งให้คำแถลงของผู้ร้องว่า "ไม่พบ ให้ปิด" โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย และเมื่อพนักงานเดินหมายนำหมายนัดและสำเนาคำร้องไปส่งให้แก่จำเลยครั้งที่สอง ก็ส่งให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะไม่พบป้ายชื่อจำเลย ผู้จัดการจำเลย และไม่มีผู้รับหมายไว้แทนแต่มีผู้แจ้งว่าจำเลยย้ายสำนักงานไปนานแล้ว พนักงานเดินหมายจึงไม่ได้ปิดหมายศาลชั้นต้นสั่งในรายงานการเดินหมายว่า "รอผู้ร้องแถลง" โดยมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องต่อไป ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยถึงเกือบ 8 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รอผู้ร้องแถลง" ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7513/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการทิ้งคำร้องของผู้ร้องที่ไม่ได้รับการแจ้งคำสั่งโดยชอบ
ผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยระบุในคำร้องว่ายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี รับทราบคำสั่งศาลกำหนดวันนัด แก้ไขคำผิดเล็กน้อย แถลงต่อศาลและตรวจสำนวนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีโดยเฉพาะ หาได้มอบหมายให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการขอเลื่อนคดีไม่ที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทว่ามีราคาน้อยกว่าราคาที่เป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลในส่วนที่ขาดเพิ่มขึ้นให้ถูกต้อง ให้ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลในนัดต่อไปแม้เสมียนทนายผู้ร้องจะลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็จะถือว่าทนายผู้ร้องหรือผู้ร้องรับทราบคำสั่งของศาลโดยชอบแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนอกเหนือจากที่เสมียนทนายผู้ร้องจะรับทราบตามที่ทนายผู้ร้องได้มอบฉันทะมาและกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ที่จะถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องนั้นต้องได้ความว่าผู้ร้องเพิกถอนไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จะถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องทันที โดยไม่ได้มีคำสั่งให้ทนายผู้ร้องและผู้ร้องที่มาศาลในวันดังกล่าวรับทราบคำสั่งโดยกำหนดเวลาตามสมควรให้ปฏิบัติ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องด้วยเหตุดังกล่าว คงเพียงแต่โต้แย้งเรื่องการประเมินราคาที่ดินพิพาทว่าเป็นการไม่ชอบเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ฎีกาผู้ร้องจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งคำร้องขอปล่อยทรัพย์ ทำให้ขาดสิทธิร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีคำร้องขอปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องนั้น เพราะผู้ร้องไม่วางเงินค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้ร้องทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ซึ่งตามมาตรา 176บัญญัติถึงผลของการทิ้งคำร้องว่าย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำร้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำร้องเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ไม่มีคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทของผู้ร้องอยู่ในศาลแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ในอันที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามมาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา ทำให้ถือว่าทิ้งคำร้องอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยว่าให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาวางศาลภายในกำหนด 7 วัน ย่อมหมายถึงให้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อ ศาลตามที่บังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ในวันครบกำหนดจำเลยคงนำแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้น มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือประกันให้ไว้ต่อศาล ถือได้ว่าจำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา หากไม่ปฏิบัติตามครบถ้วน ถือเป็นการทิ้งคำร้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยว่า ให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาวางศาลภายในกำหนด 7 วันย่อมหมายถึงให้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามที่บังคับไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ครั้นวันครบกำหนดจำเลยคงนำแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้นมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ถือได้ว่าจำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของนิติบุคคลอาคารชุด: การบังคับภาระจำยอมและการลบล้างผลทางกฎหมายจากการทิ้งคำร้อง
จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีหมายเลขแดงที่ 2572/2550 ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าว แต่เมื่อคดีดังกล่าวศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขอ จึงย่อมมีผลเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องขอ รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาภายหลังการยื่นคำร้องขอนั้น ทำให้จำเลยที่ 1 กลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นคำร้องขอเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 คดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากการทิ้งคำร้อง และการคำนวณทุนทรัพย์ในคดีครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอที่ให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องขอและจำหน่ายคดีแล้ว การยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอดังกล่าวจึงไม่มีผลที่จะให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้อีก