พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ไม่ครบถ้วน ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลจำหน่ายคดีชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องและคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ทั้งมิได้นั่งพิจารณาให้ครบองค์คณะไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ ย่อมมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไป ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิด จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท อย่างคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ไม่ยอมชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาภายในกำหนดถือเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามกฎหมาย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ถูกต้อง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระกรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ติดตามผลการส่งหมายและการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล
จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์พร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และให้จำเลยนำส่งให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน หากส่งไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 7 วัน เมื่อคำแถลงของจำเลยมีข้อความประทับว่า "ให้มาทราบคำสั่งถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบแล้ว" และทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว แม้ทนายจำเลยจะไม่มาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งที่ศาลได้สั่งในคำแถลงและในอุทธรณ์ของจำเลยโดยชอบแล้ว ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ โดยศาลไม่จำต้องแจ้งผลของการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ศาลชั้นต้นมีอำนาจกำหนดวิธีการส่งหมายได้ แม้ว่าในคำแถลงของจำเลยจะขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีธรรมดาก่อน เท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายตามที่จำเลยขอ กรณีหาเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า ได้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์แล้ว แต่ส่งไม่ได้ แต่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาล จึงถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ศาลชั้นต้นมีอำนาจกำหนดวิธีการส่งหมายได้ แม้ว่าในคำแถลงของจำเลยจะขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีธรรมดาก่อน เท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายตามที่จำเลยขอ กรณีหาเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า ได้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์แล้ว แต่ส่งไม่ได้ แต่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาล จึงถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่แถลงผลการส่งหมายนัดภายในกำหนด และผลของการประทับข้อความ 'ให้มาทราบคำสั่ง'
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2545 จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 ว่า "รับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้ ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน" เมื่อคำแถลงของจำเลยฉบับดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 กันยายน 2545 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2545 ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายโดยศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก แม้จำเลยจะขอให้ส่งโดยวิธีปิดหมายแต่ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการส่งหมายตามมาตรา 79 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดหมายอยู่ในตัว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่าได้นำหมายไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 20 ตุลาคม 2545 แต่ส่งให้ไม่ได้ การที่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงเจรจาประนีประนอมแล้วไม่ตกลง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง หากทนายแถลงเหตุผลให้ศาลทราบ
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีว่า ทนายคู่ความได้แถลงร่วมกันว่ามีความประสงค์จะประนีประนอมข้อพิพาท โดยทนายโจทก์และทนายจำเลยทั้งสี่จะได้แจ้งตัวความให้กำหนดผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นผู้ร่วมเจรจากันเพื่อหาข้อยุติให้ทันก่อนวันนัดหน้า หากยังไม่ได้ข้อยุติทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซึ่งเป็นผู้เจรจาฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้ถึงอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงขอไม่มาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจรจาประนีประนอมและการสืบพยานต่อได้
ทนายโจทก์แถลงว่าหากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ไม่มาศาลว่าเพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้ จึงไม่ขอมาศาล ซึ่งหากมาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลง เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้ว ศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจตนาประนีประนอมและการดำเนินการของโจทก์
การที่ทนายโจทก์แถลงว่า หากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงไม่ขอมาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดที่แล้วก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงรายละเอียดการเจรจาที่ไม่สามารถตกลงกันให้ศาลทราบแล้ว ซึ่งหากผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลงเมื่อตกลงกันไม่ได้ก็คงต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้วศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตราซึ่งมีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราที่ประทับข้อความดังกล่าว มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบ การที่เจ้าพนักงานศาลไม่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งต่อมาว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งผลการส่งหมายข้ามเขตแก่จำเลยก่อนพิจารณาว่าทิ้งฟ้องหรือไม่
จำเลยทั้งห้ายื่นอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในชั้นอุทธรณ์ เมื่อเจ้าหน้าที่ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้นำหมายนัด สำเนาอุทธรณ์ และสำเนาคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไปส่งให้โจทก์แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รอจำเลยทั้งห้าแถลง โดยมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งห้านำส่งสำเนาอุทธรณ์หรือให้จำเลยทั้งห้าแถลงหากส่งไม่ได้ เมื่อกรณีเป็นหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทั้งห้าทราบจำเลยทั้งห้าย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยทั้งห้ามิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันจะเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย: จำเลยมีหน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
จำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 5 วัน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำส่งหมายดังกล่าวย่อมมีความชัดเจนว่าจำเลยมีสิทธิใช้จ่ายเงินของตนได้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 24 จำเลยจะอ้างว่าไม่มีสิทธิใช้ทรัพย์สินเพราะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่นำพาต่อคำสั่งของศาลละเลยต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตนจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์