พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินของรัฐต้องทำตามแบบ หากไม่ทำสัญญาตกเป็นโมฆะ และสิทธิครอบครองต้องเข้ายึดถือจริง
ที่ดินพิพาทอยู่ในนิคมสร้างตนเองและอยู่ในความดูแลครอบครองของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้จัดสรรให้ ฮ. ใช้ประโยชน์ ฮ.ได้ปลูกบ้านพิพาทและให้จำเลยครอบครองเปิดเป็นร้านอาหาร ต่อมา ฮ. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทพร้อมสิทธิในที่ดินแก่โจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง แม้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะปลูกสร้างบนที่ดินของทางราชการก็ตาม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่งเช่นกัน แต่เมื่อสัญญาระหว่าง ฮ. กับโจทก์เป็นการซื้อขายกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทได้ และแม้กรมประชาสงเคราะห์จะทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทในลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ก็ตาม ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับบุคคลอื่นนอกจากคู่สัญญาได้ เมื่อจำเลยยังคงครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทและโจทก์ยังไม่อาจเข้าครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในบ้านและที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิอนุญาตใช้ที่ดินของรัฐตาม ป.ก.ที่ดิน มาตรา 9 มิได้ สัญญาซื้อขายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามเป็นโมฆะ
การได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9 ไม่ได้บัญญัติให้โอนกันได้ และไม่มีบทกฎหมายหรือกฎกระทรวงฉบับใดกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตโอนสิทธิหรืออำนาจตลอดจนวิธีดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเป็นการหาประโยชน์ในที่ดินของรัฐให้แก่บุคคลอื่นได้ การอนุญาตให้ใช้ที่ดินของรัฐในกรณีดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่ออนุญาตให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นการเฉพาะตัวเท่านั้น การที่ผู้ได้รับอนุญาตโอนสิทธิดังกล่าวย่อมเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9 อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเอง จะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ หากผู้รับโอนเข้าไปทำประโยชน์หรือใช้ที่ดินของรัฐโดยระเบิดและย่อยหินเองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 อาจมีความผิดตามมาตรา 108 ทวิ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองทำสัญญาซื้อขายหินกับโจทก์ในสภาพสังหาริมทรัพย์ แต่ให้โจทก์เป็นผู้ระเบิดและย่อยหินเองได้นั้น เป็นการทำสัญญาเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดหินและย่อยหิน ในเมื่อโจทก์กับจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงจะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ ทั้งกรณีหาใช่การให้สัมปทานตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 12 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การได้มา การสละสิทธิ และการคุ้มครองการครอบครอง
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินดังกล่าว ราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้ แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเอง ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวผู้มีสิทธิย่อมสละสิทธินั้นได้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองแล้ว
พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การโอนสิทธิและการแจ้งเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินดังกล่าว ราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้ แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเอง ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวผู้มีสิทธิย่อมสละสิทธินั้นได้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองแล้ว
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลยเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลยเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การสละสิทธิและการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเองแล้ว ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวให้ ผู้มีสิทธิก็ย่อมสละสิทธินั้นได้ ดังนั้น การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองต่อไป การที่จำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโดยอ้างว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นการนำข้อความเท็จไปแจ้งทำให้เจ้าพนักงานของรัฐหลงเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิจริง ดังนั้น การที่จำเลยได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ส.3) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จึงเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริงย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินหวงห้ามของรัฐ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแต่ยังเข้ายึดครองและปลูกสร้างอาคารจึงมีความผิด
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่พ.ศ. 2465 และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ. 2479 ให้ประชาชนทราบแล้ว ทั้งต่อมา พ.ศ. 2528 กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้าม มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ณ. เมื่อ พ.ศ. 2530 ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ
การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร พ.ศ. 2478 มาตรา 5, 7 (3) และ ป. ที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตาม ป. ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ณ. เมื่อ พ.ศ. 2530 ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ
การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร พ.ศ. 2478 มาตรา 5, 7 (3) และ ป. ที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตาม ป. ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 (1), 108 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: การสงวนหวงห้ามที่ดินของราชการมีผลทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติ แม้ยังมิได้ออกโฉนด
กระทรวงเกษตราธิการได้สงวนหวงห้ามที่ดินพิพาทไว้ใช้ประโยชน์ในทางราชการตั้งแต่ปี2459เป็นต้นมาที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้กระทรวงเกษตราธิการและจำเลยที่1ยังมิได้รับใบไต่สวนและยังไม่ได้ออกโฉนดก็ไม่ทำให้สภาพที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่แล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจอ้างการครอบครองในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินยันจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินของรัฐ: ความผิดเกิดขึ้นทันทีหลังการกระทำ ไม่ต้องรอการแจ้งเตือน
ฎีกาของจำเลยทั้งสามมีใจความกล่าวถึงคำฟ้องคำให้การและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าอย่างไร หาได้มีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1)ประกอบมาตรา 108 วรรคแรก แต่การครอบครองที่ดินของรัฐของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ใช้บังคับ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐ หาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ดังกล่าวเสียก่อนไม่
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไป เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทั้งสามยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริง หาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกับในฟ้องไม่
กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1)ประกอบมาตรา 108 วรรคแรก แต่การครอบครองที่ดินของรัฐของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ใช้บังคับ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐ หาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ดังกล่าวเสียก่อนไม่
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไป เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทั้งสามยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริง หาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกับในฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96พ.ศ.2515ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็น ที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซื้อได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเสียก่อนไม่ ความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐและจะคงเป็น ความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปจากที่ดินเกิดเหตุแม้ศาลอุทธรณ์ภาค3จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุตั้งแต่ปลายปี2532ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกันในฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินของรัฐหลังประกาศ คปค.96 มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) หากไม่ได้รับแจ้งเวนคืนหรือคำสั่งออกจากที่ดินก่อน
ฎีกาของจำเลยทั้งสามมีใจความกล่าวถึงคำฟ้องคำให้การและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าอย่างไรหาได้มีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกแต่การครอบครองที่ดินของรัฐจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ใช้บังคับการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่างๆดังกล่าวเสียก่อนไม่ ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปเมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยทั้งสามยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้องแม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟ้องข้อเท็จจริงแตกต่างกับฟ้องไม่