คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินชลประทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798-2799/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือที่ดินชลประทาน: การขยายเขต, สาธารณสมบัติ, อำนาจฟ้อง, และการรังวัด
เมื่อมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเรื่องขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับการชลประทาน แต่เขตที่ดินตามที่ประกาศหวงห้ามไม่เพียงพอเนื่องจากสภาพเป็นดินเหลวต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก กรมชลประทานจึงกันเขตเกินที่กำหนดไว้ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการในการกันเขตนั้น ตอนใดที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก็จ่ายเงินซื้อ ถ้าไม่มีเจ้าของก็ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ การที่กรมชลประทานได้รังวัดปักเขตที่ดินดังกล่าวเช่นนี้แล้ว ที่ดินนั้นก็ต้องถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) แล้ว ไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจกรมชลประทานหวงห้ามอย่างใดอีก
ที่ดินที่ใช้สำหรับการชลประทาน กรมชลประทานมีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินดังกล่าวจึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
การที่อธิบดีกรมชลประทานไม่ขัดข้องในการที่มีผู้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ไม่ทำให้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้นหมดไป กรมชลประทานยังมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยกล่าวอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ได้ให้การไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลมีอำนาจที่จะเรียกสำนวนคดีอื่นที่เกี่ยวกับคดีมาประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมก็ย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798-2799/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินชลประทานสาธารณสมบัติ: การขยายเขต, อำนาจฟ้อง, และผลกระทบต่อโฉนด
เมื่อมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้าม และจัดซื้อที่ดินสำหรับการชลประทาน แต่เขตที่ดิน ตามที่ประกาศหวงห้ามไม่เพียงพอเนื่องจากสภาพเป็นดินเหลว ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก กรมชลประทานจึงกันเขตเกินที่กำหนด ไว้ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการในการกันเขตนั้นตอนใดที่มี เจ้าของครอบครองอยู่ก็จ่ายเงินซื้อ ถ้าไม่มีเจ้าของก็ ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ การที่กรมชลประทานได้รังวัดปัก เขตที่ดินดังกล่าวเช่นนี้แล้ว ที่ดินนั้นก็ต้องถือว่า เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) แล้ว ไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจ กรมชลประทานหวงห้ามอย่างใดอีก
ที่ดินที่ใช้สำหรับการชลประทาน กรมชลประทานมีหน้าที่ดูแล รักษาที่ดินดังกล่าวจึงมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้
การที่อธิบดีกรมชลประทานไม่ขัดข้องในการที่มีผู้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ทำให้ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินสาธารณะนั้นหมดไป กรมชลประทานยังมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยกล่าวอ้างเหตุนอกเหนือจากที่ได้ให้การไว้นั้น เป็นการ กล่าวอ้าง ข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลมีอำนาจที่จะเรียกสำนวนคดีอื่นที่เกี่ยวกับคดีมาประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม ที่บัญญัติให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมก็ย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินชลประทาน: สาธารณสมบัติ ปักหลักเกินแนวเดิมได้ หากมีเหตุผลและความจำเป็น
กรมชลประทานปักหลักกันเขตที่ดินเพื่อใช้ในการชลประทานแม้จะปักเกินเขตที่กำหนดไว้ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการเรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับการทดน้ำ ไขน้ำฯลฯ เพราะดินเหลว ต้องใช้เนื้อที่มากกว่ากำหนดถ้าที่ดินตอนใดมีเจ้าของก็จ่ายเงินซื้อแล้วจึงปักหลักตอนใดไม่มีเจ้าของก็ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อดังนี้ต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) โดยไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจอีกผู้ใดจะบุกรุกและยกอายุความการครอบครองขึ้นยันกรมชลประทานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775-1776/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินชลประทานเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ห้ามยกอายุความได้ การครอบครองก่อนการกันเขตไม่เป็นอุปสรรค
1. กรมชลประทานเป็นกรมในรัฐบาล ขึ้นกับกระทรวงเกษตราธิการ และเป็นนิติบุคคล เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการทดน้ำ ไขน้ำ เมื่อมีผู้ละเมิด กรมชลประทานย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้
2. คำฟ้องที่กล่าวถึงเขตที่ดินที่กันไว้เพื่อการชลประทานโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ฯ และประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดหวงห้ามที่ดินชายทะเลโดยมีแผนที่ประกอบไว้ท้ายฟ้องด้วย นับว่าเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
3. ที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตที่ดินของชลประทานจึงเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สืบอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1306
4. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ให้หวงห้ามโดยวิธีการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ก่อนหน้านี้ไม่มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไร ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกประกาศหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าไม่ให้ผู้ใดรับจองหรือเข้าถือเอาโดยพลการ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายในที่ใดให้สิทธิราษฎรจับจองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเอาตามชอบใจ
5. ส.ค.1 ไม่เป็นเอกสารแสดงสิทธิอย่างใดตามกฎหมาย
(ซ้ำฎีกาที่ 1218/2504)