คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินต่ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้น้ำจากที่ดินสูงสู่ที่ดินต่ำ และการได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีว่า ที่นาจำเลยสูงกว่าที่นาโจทก์ การทำนาของโจทก์ต้องอาศัยน้ำจากลำเหมืองซึ่งผ่านที่นาจำเลยโดยเปิดคันนาจำเลยให้น้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่นาจำเลยเข้าไปสู่ที่นาโจทก์จำเลยปิดกั้นคันนาของจำเลยไม่ยอมให้น้ำไหลเข้าสู่ที่นาโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยเปิดคันนาและเรียกค่าเสียหาย เป็นการฟ้องว่าจำเลยใช้สิทธิโดยฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1339 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าน้ำที่ไหลเข้าที่นาจำเลยไม่ใช่น้ำที่ไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงไปสู่ที่ดินต่ำ มิใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 และมิใช่กรณีเป็นการชักน้ำไว้เกินกว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการทำนาของจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1355 ฎีกาโจทก์ที่ว่าจำเลยยอมเปิดคันนาให้น้ำไหลผ่านที่นาจำเลยเข้าสู่ที่นาโจทก์เพื่อให้โจทก์ใช้ทำนาติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความนั้น จึงไม่ตรงกับรูปเรื่องและเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับน้ำจากที่ดินสูง-ต่ำ และการได้สิทธิภารจำยอมทางอายุความ กรณีน้ำไหลผ่านที่นา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้ สิทธิฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1339 ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น้ำที่ไหลเข้าที่นาจำเลยมิใช่น้ำที่ไหลตาม ธรรมดาจากที่ดินสูงไปสู่ที่ดินต่ำ ไม่อยู่ในบังคับแห่งป.พ.พ. มาตรา 1339 และมิใช่กรณีตาม มาตรา 1355 ดังนี้ การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยอมเปิดทางน้ำเข้าสู่ที่นาโจทก์เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบปี โจทก์ได้ สิทธิภาระจำยอมทางอายุความนั้น จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น: หน้าที่ยอมรับน้ำจากที่สูงกว่าและการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ
ที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินสูง ส่วนที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นที่ดินต่ำ การที่โจทก์ระบายน้ำฝนตามธรรมชาติจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองไปสู่ลำน้ำเสียวจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องยอมรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และ 1340 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าโจทก์และประชาชนจะใช้ร่องน้ำในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นเวลานานเพียงใด ก็หาทำให้กลายเป็นลำรางสาธารณะหรือตกเป็นภาระจำยอมไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองไถดินกลบลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นเหตุให้น้ำท่วมขังที่ดินของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็นลำรางระบายน้ำตามเดิมได้
ฟ้องโจทก์ว่าลำรางร่องน้ำพิพาทเป็นลำรางสาธารณะหรือเป็นทางภาระจำยอม และบรรยายถึงข้อเท็จจริงไว้ชัดเจนอีกว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินได้รับความเสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางร่องน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหลจากบริเวณที่ดินของโจทก์ผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่ลำน้ำเสียว อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ลำรางร่องน้ำพิพาทได้กับมีคำขอไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดีเอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1339 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1340 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำขอของโจทก์ที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนคันเดินออกจากลำรางร่องน้ำพิพาทก็ให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนไถดินออกโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาและจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจมีคำพิพากษาตามคำขอส่วนนี้ของโจทก์ได้