คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินที่เหลือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8156/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหลืออยู่หลังเวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนเป็นที่ดินผืนใหญ่กว่า 20 ไร่ และ 50 ไร่สามารถใช้ประโยชน์แยกเป็นเอกเทศต่างหากจากกันได้ แต่ละส่วนมีด้านหนึ่งกว้างประมาณ 160 เมตร อยู่ติดทางคู่ขนานของทางหลวงพิเศษซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดทางคู่ขนานและประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้ทางคู่ขนานนี้สัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนจะอยู่ใกล้กับทางต่างระดับ แต่ก็อยู่ติดทางคู่ขนานที่เกือบเป็นทางตรง จึงสามารถเข้าสู่และออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่เหลือจากการเวนคืนโดยใช้ทางคู่ขนานนี้ได้การคมนาคมเข้าสู่และออกจากที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนจะสะดวกกว่าเดิมมาก สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากเดิมมากเช่นนี้ย่อมทำให้ที่ดินดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมากเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากราคาประเมินฯ ที่ปรับสูงขึ้นจากเดิมมาก กล่าวคือ บางส่วนจากตารางวาละ 800 บาท เป็น 10,000 บาท บางส่วนจากตารางวาละ2,500 บาท เป็น 4,500 บาท บางส่วนจากตารางวาละ 800 บาทเป็น 1,500 บาท ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน73.2 ตารางวา ส่วนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 81 ไร่ 2 งาน94.8 ตารางวา เทียบอัตราส่วนกันแล้วประมาณ 1 ต่อ 4.5 ดังนั้นแม้หากที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อยเพียง 1 ใน 4.5 ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนก็จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเสียอีกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เป็นตารางวาละ 1,875 บาท โดยไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อยู่แล้ว หากเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์อีกก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม
โจทก์มิได้อุทธรณ์เรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินทำสวนส้มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งการอุทธรณ์เป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดจะต้องทำก่อนคดีมาสู่ศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์เพิ่งเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้มาพร้อมกับคำฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากการขาดประโยชน์ในการใช้ที่ดินทำสวนส้ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินที่เหลือเพิ่มขึ้น หักออกจากค่าทดแทนได้ สิทธิการฟ้องละเมิดไม่มี
พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ พ.ศ. 2508 ออกตามความใน พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 56 กำหนดให้ท้องที่อำเภอต่าง ๆ รวมทั้งอำเภอเมืองสมุทรสาครซึ่งที่ดินของโจทก์ตั้งอยู่เป็นแนวเขตทางหลวง และต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ ในท้องที่อำเภอราษฎร์บูรณะ ฯลฯ ให้แก่จำเลย โดยถือว่าประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามความในมาตรา 41 และ มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 แต่ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้ยกเลิก พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 และให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทนซึ่งข้อ 87 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 3 มาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ และวรรคสองบัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ในกรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ขั้นตอนการดำเนินการเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งโจทก์ ดังนั้น การดำเนินการต่อไปตั้งแต่การมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนก็ดี การแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนก็ดี การอุทธรณ์ค่าทดแทนก็ดี กำหนดระยะเวลาที่โจทก์ต้องนำคดีมาร้องฟ้องต่อศาล ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ต่อไปที่เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ดีต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้นหมายความว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับย่อมเป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ (วันที่ 15 ตุลาคม 2535) ดังนั้น สิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าวคือวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จนถึง 15 ธันวาคม 2536 โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 เกินกว่า 1 ปีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันหมดสิ้นไป
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
การเวนคืนเพื่อตัดทางหลวงสายนี้ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งเนื้อที่ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีมากกว่าเนื้อที่ที่ดินที่ถูกเวนคืนเกิน 4 เท่า แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากเวนคืนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อยแค่ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ตามบทกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนให้เอาราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนในส่วนที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาหักออกจากเงินค่าทดแทน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาเพื่อรับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 5 บาท ภายหลังจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินอยู่แล้ว เมื่อไม่มีความเสียหายจึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนออกจากค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี 2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้วคงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48 ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319 ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ.2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออก พ.ร.ฎ.ประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ก็หมายถึงวันที่ออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเพื่อหักกลบลบกับค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
จำเลยที่1ที่2มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนในเวลาอันควรจำเลยที่2เพิ่งมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯพ.ศ.2516และเพิ่งพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในปี2531ดังนั้นการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนโดยพิจารณาในปีพ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ย่อมไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งตอนท้ายและยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521มาตรา33วรรคสามแต่ต้องพิจารณาจากราคาที่ดินในปี2531 แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตามแต่คณะกรรมการย่อมชอบที่จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลที่วิญญูชนจะพึงพิจารณาได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนเพื่อหักค่าทดแทนนั้นย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดที่มีอยู่ในขณะมีการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืนแม้ภายหลังจะได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อยและโอนไปแล้วก็ยังถือเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนและผลกระทบต่อราคาที่ดินที่เหลือ: การหักกลบค่าทดแทน
การเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องเป็นไปตามหลักการเบื้องต้นที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติไว้ กล่าวคือ จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ส่วนวิธีการคำนวณหาราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวเมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามที่มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตราการที่เห็นว่าเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อน หาใช่จะต้องแปลความว่าเมื่อไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้ว จะมิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนเสียเลย และไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ ทั้งนี้ เพราะจะทำให้มาตรา 21 วรรคสอง อันเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับ อันมิใช่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงมีอำนาจคำนวณราคาที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์ว่ามีราคาสูงขึ้นและนำมาหักกับค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์ได้
ได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะประกาศใช้มีผลให้ที่ดินของโจทก์จะต้องถูกเวนคืน การที่โจทก์จะได้รับชดใช้ค่าทดแทนหรือไม่เพียงใดย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมาย เมื่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากค่าทดแทนได้ แต่ไม่ให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีขึ้นนั้นสูงไปกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนเพื่อจะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายกลับต้องใช้เงินให้อีก เช่นนี้ เมื่อราคาที่สูงขึ้นนั้นมีจำนวนมากกว่าค่าทดแทนในกรณีของโจทก์ โจทก์ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่รัฐ แต่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากรัฐโดยนัยของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน การที่โจทก์ถูกเวนคืนโดยไม่ได้รับค่าทดแทนจึงเป็นไปตามบทกฎหมายและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 33 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนและผลกระทบต่อราคาที่ดินที่เหลือ
เมื่อการกำหนดเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 ใช้บังคับ จึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น จะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ และแม้ขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากเวนคืนตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับ ก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อนหาใช่มิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่ เพราะจะทำให้มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับส่วนมาตรา 5 แห่ง พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 มีผลเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคานั้น ไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่ พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้น เมื่อราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับ จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์คำนวณค่าทดแทน & ผลกระทบราคาที่ดินที่เหลือ
เมื่อการกำหนดเงินค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ลงวันที่28กุมภาพันธ์2534ใช้บังคับจึงต้องพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั้ง5ประการของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด หากการเวนคืนทำให้ที่ดินที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจะต้องเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์และแม้ขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากเวนคืนตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา21วรรคสี่บัญญัติไว้ออกใช้บังคับก็จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์หรือมาตรการที่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมเป็นส่วนรวมมาใช้ก่อนหาใช่มิต้องคำนวณราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและไม่ต้องนำมาหักออกจากค่าทดแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่เพราะจะทำให้มาตรา21วรรคสองซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นไม่มีผลใช้บังคับส่วนมาตรา5แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ.2537มีผลเพียงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคานั้นไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่ที่ดินที่ถูกเวนคืนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับเท่านั้นเมื่อราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าเงินค่าทดแทนที่โจทก์มีสิทธิได้รับจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367-368/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อที่ดินที่เหลือ
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ.2530ที่กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่ดินของโจทก์ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา159ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อ22แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ลงวันที่27พฤศจิกายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ลงวันที่27พฤศจิกายนพ.ศ.2515พ.ศ.2530ประกอบกับมาตรา5วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2531ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสี่ประกอบมาตรา21(2)หรือ(3)แต่ต่อมาหลังจากมีการฟ้องคดีแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ข้อ1ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และบัญญัติความใหม่แทนว่า"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29กุมภาพันธ์2534โดยข้อ5วรรคหนึ่งแห่งประกาศดังกล่าวบัญญัติว่า"บทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย"ดังนั้นเมื่อคดีของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงถือว่ากรณีของโจทก์นี้เป็นการเวนคืนซึ่งการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดตามความหมายของข้อ5วรรคหนึ่งแห่งประกาศดังกล่าวการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยถือเกณฑ์ตามมาตรา9วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ที่ถูกยกเลิกไปแล้วโดยถือตามราคาตามมาตรา21(2)หรือ(3)แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์จึงไม่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปรัฐก็มีหน้าที่ชดใช้ค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย เมื่อการเวนคืนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ที่3ที่เหลือมีอาณาเขตไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันโจทก์ที่3จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่ลดลงเพราะการเวนคืนของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสามแต่ขณะที่มีการเวนคืนที่ดินของโจทก์ที่3ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคำนวณราคาที่ดินที่ลดลงออกมาใช้บังคับตามมาตรา21วรรคสี่แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ.2537เมื่อวันที่25มกราคม2537ก็ตามแต่ตามมาตรา5ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่าหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับดังนั้นพระราชกฤษฎีกานี้จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับกับคดีนี้ได้จึงต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่3ส่วนที่เหลือที่ราคาลดลงโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งโดยอนุโลมในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งเมื่อการเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน29ตารางวาของโจทก์ที่3ถูกตัดขาดจากที่ดินเดิมจนไม่มีถนนเข้าที่ดินซึ่งเห็นได้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวย่อมมีราคาลดลงโดยสภาพที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์ที่3รวมเป็นเงิน144,440บาทนั้นจึงเหมาะสมแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกที่ดินตามสัญญายอมความ ต้องใช้สิทธิสุจริต โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จำเลยจะได้รับจากที่ดินที่เหลือ
สัญญายอมในศาลมีความว่า จำเลยยอมให้โจทก์ลงชื่อในโฉนดเลขที่ 3371 มีส่วนเนื้อที่ 1 ไร่ โดยให้โจทก์เลือกเอาที่ทางส่วนไหนของที่ดินก็ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลือกชี้เอาได้โดยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน1 ไร่ตามสัญญา แต่การเลือกชี้เอานั้นต้องกระทำอย่างสุจริต มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลย ถ้าโจทก์เลือกชี้เอาอย่างไม่สุจริตใจแล้ว ศาลก็ย่อมไม่บังคับแบ่งให้ตามนั้น ข้อที่จำเลยไม่ยอมโดยหาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตก็เพียงแต่จำเลยให้เหตุผลว่าที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลยถือไม่ได้ว่าเป็นการที่โจทก์เลือกชี้เอาโดยไม่สุจริต