พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมฯ ไม่ใช่สินสมรสก่อนออกโฉนด คำพิพากษาเดิมใช้บังคับไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้อง ก. ขอหย่าและแบ่งสินสมรส ซึ่งมีที่ดินพิพาทนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี - ลพบุรี จัดสรรให้แก่ ก. สมาชิกนิคมทำประโยชน์รวมอยู่ด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ ก. แบ่งสินสมรส ซึ่งรวมที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง โดยขณะนั้นยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อกรมประชาสงเคราะห์เป็นบุคคลภายนอกคดีย่อมไม่ใช่คู่ความในคดีเดิม ที่ดินพิพาทจึงอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ระบุว่า ก่อนมีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วให้ถือว่าบุคคลที่รัฐอนุญาตให้เข้าทำกินมีสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์เด็ดขาด แต่กลับมีมาตรา 12 บัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยัง สหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณี" และในวรรคสองบัญญัติว่า "ภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ดังนั้น ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ ก. ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อ ก. เพิ่งได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์และออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทมาภายหลัง จึงไม่ใช่สินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งรับโอนมรดกจาก ก. ให้แบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ก. ตามคำพิพากษาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9333/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโอนที่ดินในนิคมสร้างตนเองช่วงระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะโอนหลังพ้นกำหนด
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 และ 12 ต้องการปกป้องราษฎรที่เป็นสมาชิกของนิคมสร้างตนเองให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะจำหน่ายจ่ายโอน ด้วยประการใด ๆ ก่อนครบกำหนดไม่ได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดก ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของนิคมผู้ได้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตกลงโอนที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งให้แก่ น. ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกนิคม โดยให้ น. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทในทันที แม้จำเลยและ น. มีเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายหลังจากที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทและพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายนิคมสร้างตนเอง สัญญาเป็นโมฆะ และจำเลยหมดสิทธิฟ้องขับไล่
โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและต่างได้รับจัดสรรที่ดินคนละหนึ่งแปลง ต่อมาจำเลย ขายที่ดินซึ่งได้รับการจัดสรรให้โจทก์แต่ไม่สามารถโอนสิทธิให้โจทก์ได้เนื่องจากติดเงื่อนไขข้อห้ามโอนตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 จำเลยจึงได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองเพียงอย่างเดียวโดย มีข้อตกลงระหว่างกันเองว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนสิทธิให้โจทก์เมื่อมีกฎหมายหรือกฎระเบียบอนุญาตให้ทำได้ ดังนี้เมื่อโจทก์และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ และในเมื่อจำเลยก็ปฏิบัติฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ การที่จำเลยได้สละสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิทุกประการเหนือ ที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเองและบ้านที่ปลูกใหม่: สิทธิสินสมรสเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่สมบูรณ์
ที่ดินมือเปล่าที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวนิคมสร้างตนเองยังมิได้มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยและยังอยู่ในระหว่างที่กำลังปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจะได้กรรมสิทธิ์ แต่ยังปฏิบัติไม่สำเร็จตามเงื่อนไข และตกอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และถึงแม้หากจะได้มีหลักฐานกรรมสิทธิ์อยู่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าห้าปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสได้ ส่วนสิทธิในการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะไปว่ากล่าวกับนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ต่อไป บ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสปัจจุบันมีราคา 70,000 บาทและบ้านหลังนี้จำเลยได้ปลูกแทนบ้านที่ปลูกอยู่เดิม โดยจำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างใหม่ไปเป็นเงิน40,000 บาท ดังนี้การคำนวณราคาบ้านหลังเดิมว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องนำราคาบ้านหลังปัจจุบัน หักด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่นำมาปลูกขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และโมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินนิคมฯ ผู้ขายโอนไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในอัตราปีละ 200,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินนิคมสร้างตนเองก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ5,000บาทแม้มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายปีละ200,000บาทนับถัดจากวันฟ้องก็เป็นการเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่มิได้เรียกร้องมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องนี้ไว้ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเองจัดสรรให้ ฉ.ทำกินจะโอนไปยังบุคคลภายนอกได้ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแล้วและต้องให้เลยเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับเอกสารนั้นก่อนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12,15การที่ ล.ภริยาผู้รับมรดกของ ฉ.ซึ่งถึงแก่ความตายโอนขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งยังไม่มีเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อห้ามตามกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปหาประโยชน์ยึดถือหรือครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ แม้ครอบครองต่อเนื่องก็ไม่เกิดสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวแม้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน5ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองหรืออาศัยในที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเองต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ การซื้อขายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขไม่มีผล
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำตะคองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ พ. จะครอบครองอยู่ ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่จะโอนสิทธิไปให้แก่ผู้ใดเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้น ผู้ใดจะได้สิทธิในที่ดินต้องตกอยู่ในเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาทมาก่อนเลย โดยมี พ. เป็นผู้ครอบครองอยู่ ทั้งเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นแล้วโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองและขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่พ. เป็นผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แม้โจทก์จะอ้างว่าได้รับโอนขายที่ดินมาจาก พ.ตั้งแต่ก่อนที่พ. จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามเงื่อนไขและวิธีการของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิในที่พิพาทและถือว่าการโอนขายที่ดินระหว่าง พ. กับโจทก์เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่และเป็นสมาชิกของนิคมให้ออกจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: สิทธิของสมาชิกนิคมมีลำดับก่อน แม้มีการครอบครองก่อนโดยผู้อื่น
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมตามพ.ร.บ.จัดที่ดินฯ มิใช่สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บทมาตรา 1375 วรรคสองมิได้
สิทธิของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดินที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคม ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น มิใช่สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นจะเอาระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาใช้ไม่ได้