พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิจากการคัดเลือกของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินฯ และอำนาจในการเพิกถอน
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาก่อนมีการปฏิรูปที่ดินและมิได้เช่าจากโจทก์ แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาททั้งสองย่อมตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด เมื่อโจทก์ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ใช่เกษตรกรและไม่มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจและอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาอาจนำมาอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิแก่โจทก์ได้ไม่ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 โจทก์จึงสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปดำเนินการทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเพิกถอนสิทธิของโจทก์ต่อไป หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ใช่เกษตรกรและไม่มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจและอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาอาจนำมาอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิแก่โจทก์ได้ไม่ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 โจทก์จึงสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปดำเนินการทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเพิกถอนสิทธิของโจทก์ต่อไป หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์อยู่ที่ ส.ป.ก. ไม่ใช่ผู้ถือครอง
เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่จำเลยที่ 1 มีเพียงสิทธิถือครองเพราะยังไม่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิใด ๆ ให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงต้องถือว่าที่ดินนั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ป. ก. ตามพ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาดเพื่อเอาชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: กรรมสิทธิ์เป็นของ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึด
โจทก์ขอนำยึดที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ทาง ส.ป.ก. ได้จัดไว้เพื่อให้ผู้ถือครองคือจำเลยซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ขณะโจทก์นำยึดที่ดินยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 แก่จำเลย และพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยจะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยจะได้สิทธิในที่ดินไม่เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตปฏิรูปฯ ยังเป็นกรรมสิทธิ์ ส.ป.ก. โจทก์ไม่มีสิทธิยึดเพื่อชำระหนี้
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 36 ทวิ บัญญัติว่าบรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แสดงว่าที่ดินใดอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและผู้ครอบครองไม่สามารถแสดงสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายที่ดินเหล่านั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ที่ดินที่โจทก์นำยึดอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงถือว่าเป็นของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 2 ซึ่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินฯ ให้อำนาจ ส.ป.ก. นำไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ตามมาตรา 8 กรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นของ ส.ป.ก. หาใช่ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดไม่ ทั้งยังถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ห้ามยึดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 อีกด้วย เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูป แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ถือครองแต่ก็หาใช่ว่าจำเลยที่ 1 จะได้สิทธิในที่ดินไม่ เพราะเป็นเรื่องในอนาคต โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ยึดทรัพย์ที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ซื้อทราบข้อจำกัดสิทธิ โจทก์สวมสิทธิขออนุญาตทำประโยชน์ ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ก่อนทำสัญญาซื้อขายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในโครงการกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ทั้งหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้วในวันนั้นเองโจทก์ก็ได้ไปยื่นคำขอทำประโยชน์ ในที่ดินพิพาทต่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อขอรับหนังสืออนุญาต ให้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลย แสดงว่าโจทก์ทราบดีว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินอันอาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันได้ดังเช่น ที่ดินมีโฉนด การที่โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทโดยรู้อยู่ว่า จำเลยมีเพียงสิทธิครอบครองและกำลังดำเนินการขอรับหนังสือ อนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยมีเจตนาให้จำเลยโอนการครอบครอง ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อที่โจทก์จะสวมสิทธิของจำเลยไปดำเนินการขอออกหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินในนามของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าการที่จำเลยไม่สามารถ โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ได้เป็นการผิดสัญญาซื้อขาย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468-469/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินปฏิรูปที่ดิน: โมฆะหากทำภายใน 3 ปีโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา28 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใด ๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆซึ่งที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินภายในระยะเวลา 3 ปี เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย" บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามจำหน่ายโดยเด็ดขาด เป็นเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการก่อนเท่านั้น
คู่กรณีได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยกำหนดโอนกันครั้งแรกภายในระยะเวลา 3 ปี จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ซึ่งกำหนดโอนที่ดินพิพาทกัน และโจทก์ผู้จะซื้อมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ภายในระยะเวลา 3 ปี เช่นเดียวกัน จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน
คู่กรณีได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยกำหนดโอนกันครั้งแรกภายในระยะเวลา 3 ปี จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ซึ่งกำหนดโอนที่ดินพิพาทกัน และโจทก์ผู้จะซื้อมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ภายในระยะเวลา 3 ปี เช่นเดียวกัน จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8147/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิและการโอนสิทธิในที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดิน
การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินโอนสิทธินั้นไปยังบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดโดยทางมรดก ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนปฏิรูปที่ดิน แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ ย่อมมีสิทธิที่จะนำไปให้บุคคลใดที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ได้ เมื่อทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินได้ตรวจสอบคุณสมบัติของโจทก์แล้วอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย การงดสืบพยานก่อนพิสูจน์สิทธิเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก.เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก.ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นโมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถโอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่พอให้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 จนที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็นโมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถโอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่พอให้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 จนที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องพิสูจน์ว่าที่ดินได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินจริงก่อน จึงจะถือเป็นโมฆะ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ จำเป็นต้องฟังพยานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518มาตรา 30 จนจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรตามมาตรา 39 จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้งดสืบพยาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูป: ต้องเป็นที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาจัดให้เกษตรกรตามกฎหมายเท่านั้น
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39ซึ่งบัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้น ไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า การโอนสิทธิ ในที่ดินไปยังผู้อื่นจะกระทำมิได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวต่อเมื่อ ที่ดินนั้นเป็นที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม กล่าวคือ เป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แล้วนำที่ดินนั้นมาจัดให้ เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ดังนั้น สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาทตามฟ้องจะเป็นโมฆะ เพราะต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ ต่อเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการ ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเช่นนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทท้ายฟ้องเป็นโมฆะหรือไม่ 2. จำเลยทำสัญญาขาย ที่ดินพิพาทให้โจทก์หรือไม่ และ 3. โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสอง ทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยในเขตโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามสำเนาแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ให้แก่ โจทก์ตามสำเนาสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมายเลข 3 และจำเลย ทั้งสองให้การว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 เป็น โมฆะ เพราะที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้เพื่อทำประโยชน์เฉพาะราย ไม่สามารถ โอนการครอบครองหรือเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองทำประโยชน์ นั้น พอฟังได้เพียงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่ พอให้ ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมได้มาและจัดให้จำเลยทั้งสองตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 จนที่ดิน นั้นเป็นที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำเป็น ต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทข้อแรกที่ว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ หรือไม่ และประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ๆ ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยาน จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยการพิจารณา.