พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการครอบครองที่ดินราชพัสดุ แม้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ สิทธิการครอบครองยังคงมีผลบังคับ
สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่บ้านพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองทำสัญญาขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยได้รับค่าตอบแทนจากโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สละการครอบครองที่ดินและบ้านดังกล่าวโดยโอนการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และมาตรา 1378 จำเลยทั้งสองยังยอมรับสิทธิของโจทก์โดยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ไว้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินและบ้านแทนโจทก์โดยอาศัยสิทธิสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ เท่ากับยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินและบ้านดีกว่าจำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินและบ้านอีกต่อไป จำเลยทั้งสองจึงต้องออกไป โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดินราชพัสดุ: คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์ แม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง
กระทรวงการคลังโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ธ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุหรือทรัพย์สินในที่ดินราชพัสดุแทน เมื่อขณะที่ ธ. มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น ธ. ยังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 แม้ ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้ว แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอนจึงยังคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหตุที่ขณะฟ้อง ธ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้วมิได้ทำให้ฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามไปด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินราชพัสดุเมื่อไม่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจ ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ จึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจ แต่เวลาล่วงเลยมานับตั้งแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นเวลา 27 ปีเศษแล้ว ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างสถานีตำรวจในที่ดินโจทก์ จึงฟังได้ว่า ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 8 (2) ซึ่งจำเลยทั้งสองตกอยู่ในฐานะผู้ที่จะต้องคืนที่ดินนับแต่เวลาที่ถูกโจทก์เรียกคืน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเสนอคดีฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในวันที่ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่ดินราชพัสดุ: การโต้แย้งเรื่องอำนาจฟ้องและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยได้เช่าจากโจทก์เพื่อปลูกสร้างร้านขายอาหารในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาท กับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายก่อนฟ้องรวมเป็นเงิน 67,500 บาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่ทางราชการสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834-4835/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท การครอบครองปรปักษ์ และความรับผิดทางละเมิด กรณีบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9128/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองห้องแถวบนที่ดินราชพัสดุโดยไม่ทำตามแบบ แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันได้
จำเลยอยู่ในห้องแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก บ. เจ้าของเดิม ต่อมาบ. ได้ขายห้องพิพาทซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุให้แก่โจทก์โดยทำสัญญาการซื้อขายเป็น หนังสือ แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่บ. ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมห้องแถวพิพาทให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378ซึ่งไม่ต้องมีแบบ โจทก์จึงได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง และการโอน โดยข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่เป็นโมฆะ เมื่อการซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องแถวพิพาทเดิมไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้เป็นอาคารในที่ดินราชพัสดุ
แม้อาคารที่จำเลยผู้เช่าก่อสร้างขึ้นอยู่ในที่ดินราชพัสดุและอาคารดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงการคลังผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุแต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและมิได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้จำเลยจะอ้างว่าไม่มีหน้าที่ต้องรื้อถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตบนที่ดินราชพัสดุ เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอน แม้กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของรัฐ
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในที่ดินราชพัสดุที่จำเลยเช่าและแม้อาคารดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงการคลังตามสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุแต่อาคารดังกล่าวมิใช่อาคารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่ระบุไว้ในข้อ1แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่9(พ.ศ.2528)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็เป็นการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา21เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างรื้อถอนอาคารนั้นได้ตามมาตรา42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกที่ดินราชพัสดุ - ความเข้าใจผิดโดยสุจริต - ขาดเจตนา - ยกฟ้อง
จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลและใช้ประโยชน์ของกรมตำรวจ แต่กรมตำรวจมิได้มีการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวไม่มีประกาศในที่ดินดังกล่าวเพื่อให้ราษฎรทราบโดยเปิดเผยว่าเป็นที่ส่วนของทางราชการ จำเลยเข้าใจว่าไม่ใช่ที่สงวนหวงห้ามจึงได้ซื้อและเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์มาตลอดก็ไม่มีเจ้าพนักงานผู้ใดทักท้วงหวงห้าม นอกจากจำเลยแล้วยังมีราษฎรอื่นอีกหลายรายยึดถือครอบครองเช่นกัน เมื่อมีการห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่เกิดเหตุ จำเลยก็ไม่ยอมพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้จำเลยหลงเข้าใจโดยสุจริตว่าที่เกิดเหตุเป็นของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาที่จะเข้าถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดอาญาฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินราชพัสดุ: โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ หากจำเลยเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แต่เมื่อจำเลยทั้งสองเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิครอบครองของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท