คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การสงวนที่ดินและการโอนสิทธิ การครอบครองโดยไม่ชอบ
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้น แม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน แต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479แล้ว การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483 ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494 ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ.2501 ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเอง เจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 214/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสงวนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การออกโฉนด/ใบเหยียบย่ำต้องเป็นไปตามกฤษฎีกา สิทธิทำประโยชน์ก่อน พ.ร.บ.ที่ดิน ไม่ทำให้สิทธิสมบูรณ์
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้น. แม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน.แต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479แล้ว. การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา.
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483. ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494. ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ.2501. ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้. ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเอง. เจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 214/2480).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุก - การครอบครองที่ดินโดยสุจริต - ที่ดินสงวน - การพิพาทแพ่ง
จำเลยเข้าไปปลูกต้นยางพาราในที่ดินซึ่งกรมทางหลวงจองและขึ้นทะเบียนเป็นที่สงวนของทางราชการ โดยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้จำเลยหลงเข้าใจโดยสุจริตคิดว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินสงวนหวงห้ามมาก่อน เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะเข้าถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์อันเป็นของผู้อื่นซึ่งจะเป็นความผิดทางอาญาฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุก - ความเข้าใจผิดโดยสุจริต - ที่ดินสงวน - การครอบครองปรปักษ์
จำเลยเข้าไปปลูกต้นยางพาราในที่ดินซึ่งกรมทางหลวงจับจองและขึ้นทะเบียนเป็นที่สงวนของทางราชการ โดยมีพฤติการณ์ต่างๆ ที่ทำให้จำเลยหลงเข้าใจโดยสุจริตคิดว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินสงวนหวงห้ามมาก่อน เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะเข้าถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์อันเป็นของผู้อื่นซึ่งจะเป็นความผิดทางอาญาฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสงวนประโยชน์ใช้ราชการ: การพิสูจน์สถานะที่ดินและสิทธิครอบครองเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณา
ที่ดินที่ซึ่งรัฐบาลสงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 มาตรา 4 ข้อเท็จจริงวิธีการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติสำหรับที่ดินและราษฎรเพียงไรฟังได้และไม่ได้ว่าเป็นสงวนนั้นเป็นข้อเท็จจริง การที่เข้าอยู่ในที่ดินโดยถือสิทธิหรือโดยอาศัยนั้นเป็นข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินที่ถูกสงวนเพื่อประโยชน์ของงานทาง: สิทธิของผู้ซื้อจากการบังคับคดี และความถูกต้องของการชำระเงิน
ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 65 ที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจที่จะประกาศสงวนที่ดินเพื่อประโยชน์แก่งานทางโดยชอบได้นั้น จะต้องเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมิได้มีบุคคลเข้าครอบครอง แต่ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง สงวนที่ดินเพื่อประโยชน์แก่งานทางในตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ที่ประกาศสงวนที่ดินริมทางหลวงหมายเลข 22 จำนวนเนื้อที่ 10 ไร่ 33 ตาราง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2305 ซึ่งออกก่อนวันออกประกาศกระทรวงคมนาคมดังกล่าวกว่า 13 ปี ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินส่วนดังกล่าวนี้ยังไม่เสียไป โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดิน (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2305 จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมได้สิทธิในที่ดิน (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2305 ไปทั้งแปลง ซึ่งได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดิน (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2305 ทั้งแปลงให้แก่โจทก์แล้ว
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดระบุว่า "เป็นที่เข้าใจกันชัดเจนว่ากรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินรายนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขายได้มากน้อยเพียงใด ข้าพเจ้ารับซื้อไว้เท่านั้น การกำหนดเขตที่ดินโดยกว้างยาวและการบอกประเภทที่ดินตามประกาศขายทอดตลาดนั้น เป็นแต่กล่าวไว้โดยประมาณ ถึงแม้ว่าเนื้อที่ดินจะขาดหรือเกินไปหรือบอกประเภทของที่ดินผิดไปประการใดก็ดี ไม่ถือว่าเป็นข้อที่จะทำลายสัญญาซื้อขายนี้ได้" แม้แขวงการทางจะคัดค้านการรังวัดที่ดิน ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องต่อสู้กับกรมทางหลวง เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและจ่ายให้จำเลยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถูกต้องตามขั้นตอนการบังคับคดีแพ่ง ไม่เป็นลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11287-11288/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนสิทธิในที่ดิน การขายทอดตลาดไม่เป็นโมฆะแม้มีที่ดินสงวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 343 และให้จำเลยทั้งสองคืนเงินประกันการทำงานที่จำเลยทั้งสองได้จากการหลอกลวงคืนแก่ผู้เสียหายทั้ง 16 คน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคืนเงินประกันการทำงานให้แก่ผู้เสียหายเพียง 1 คน ที่ยังไม่ได้รับเงินคืนและมาเบิกความต่อศาล คำขออื่นให้ยก เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคำขอส่วนนี้ ประเด็นตามคำขอจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองคืนเงินเต็มจำนวนตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่ผู้เสียหายทั้ง 16 คน จึงไม่ชอบ