พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน อายุความใช้ไม่ได้ การต่อสู้เรื่องทางจำเป็นต้องยกขึ้นในประเด็นที่ถูกต้อง
ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พ.ศ.2485 และเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในการกำจัดขยะมูลฝอย จึงมีลักษณะสำคัญครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1304 (1) แล้ว ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานานจึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลยที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานานจึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลยที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดิน อายุความใช้ไม่ได้ การต่อสู้เรื่องทางจำเป็นนอกประเด็น
ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พ.ศ. 2485 และเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ในการกำจัดขยะมูลฝอย จึงมีลักษณะสำคัญครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1304(1) แล้ว ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานาน จึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลย ที่ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า จำเลยกับบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกมานาน จึงตกเป็นทางภารจำยอม ไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกาของจำเลย ที่ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้น จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืน: สิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายได้กรรมสิทธิ์คืน
(1)ในคดีเรื่องเดิม เมื่อศาลฎีกาฟังว่าคู่ความตกลงซื้อขายที่ดินเต็มทั้งโฉนด ต่อมาฝ่ายใดจะฟ้องร้องหรือต่อสู้กันเป็นคดีใหม่ว่าซื้อขายเฉพาะบางส่วน เช่นนี้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งมาตรา 148 ทั้งนี้ ถ้าหากเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินซึ่งถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกา
(2) ในสัญญาซื้อขายนั้นอาจระบุถึงที่ดินในเขตเวนคืนได้ แต่ไม่ทำให้ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกเวนคืน
(3) ในคดีเดิม ศาลฎีกาได้พิพากษาให้รัฐบาลคืนที่ดินที่เวนคืนแต่เหลือใช้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยได้ทำสัญญาขายที่ดินในเขตเวนคืนดังกล่าว จึงมีประเด็นว่า โจทก์จะเรียกร้องให้ส่งมอบได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีเรื่องก่อนๆ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
(4) ในเวลาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายจะไม่มีกรรมสิทธิ์ เพราะที่นี้ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกา แต่ต่อมาผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มา เพราะรัฐบาลคืนให้ ผู้ซื้อย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ขายได้.
(2) ในสัญญาซื้อขายนั้นอาจระบุถึงที่ดินในเขตเวนคืนได้ แต่ไม่ทำให้ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกเวนคืน
(3) ในคดีเดิม ศาลฎีกาได้พิพากษาให้รัฐบาลคืนที่ดินที่เวนคืนแต่เหลือใช้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยได้ทำสัญญาขายที่ดินในเขตเวนคืนดังกล่าว จึงมีประเด็นว่า โจทก์จะเรียกร้องให้ส่งมอบได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีเรื่องก่อนๆ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
(4) ในเวลาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายจะไม่มีกรรมสิทธิ์ เพราะที่นี้ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกา แต่ต่อมาผู้ขายได้กรรมสิทธิ์มา เพราะรัฐบาลคืนให้ ผู้ซื้อย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ขายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี แม้ยังไม่ได้ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯเมื่อพ้น 5 ปีแล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิขอที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืน แม้มีกำหนดโอนในช่วงห้ามโอน แต่ยังสามารถบังคับให้ทำสัญญาได้ หากไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
ที่ดินซึ่งอยู่ในเขตต์เวนคืนนั้นทำสัญญาจะซื้อขายต่อกันได้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและกำหนดไปโอนในเวลาซึ่งอยู่ในระหว่างกฎหมายห้ามโอนภายหลังแบ่งแยกโฉนดแล้ว ผู้ซื้อก็ขอบังคับให้โอนได้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและกำหนดไปโอนในเวลาซึ่งอยู่ในระหว่างกฎหมายห้ามโอนภายหลังแบ่งแยกโฉนดแล้ว ผู้ซื้อก็ขอบังคับให้โอนได้