พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ย, อำนาจฟ้องกรณีที่ดินเหลือ
เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันไว้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินฯ มาตรา 10 เนื่องจากไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2539 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา โดยได้รับในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ตามความในมาตรา 26 วรรคสาม อันเป็นกฎหมายพิเศษโดยไม่ต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 แต่อย่างใด
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน พิจารณาจากที่ดินที่เหลืออยู่และราคาตลาด
การพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินแปลงนั้นที่มีอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ หาได้มีความหมายเลยไปถึงที่ดินของโจทก์แปลงอื่นที่อยู่ข้างเคียงซึ่งมิได้ถูกเวนคืนด้วยเลยกลายเป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นหลังเวนคืน ไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเพิ่ม
ข้ออุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วย จึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกา
ที่ดินมรดกของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนด้านที่ติดคลองกลายเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนที่ที่จะก่อสร้างเนื่องจากการเวนคืนซึ่งเป็นถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรกว้าง 60 เมตรเป็นถนนขนาดใหญ่ แม้จะทำให้ที่ดินด้านกว้างซึ่งติดถนนสาธารณะอยู่แล้วแคบลงไปกว่าเดิม และเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้ที่ดินส่วนที่เหลือก่อสร้างอาคารสูงตามความตั้งใจของโจทก์ก็ตาม แต่ประโยชน์ในทางอื่นที่โจทก์ได้รับจากการใช้ที่ดินส่วนที่เหลือด้านที่ติดกับถนนที่ทางราชการตัดใหม่กลับมีมากกว่าเดิมเป็นอย่างมาก คือสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดแนว ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้น แม้ยังไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนออกใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ก็ตาม แต่มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ
เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน และผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 (1) ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นต้องเป็นกรณีที่ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง แต่เมื่อที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้น ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับการต้องถอยร่นระยะจากแนวถนนสาธารณะเมื่อมีการก่อสร้างอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้
ที่ดินมรดกของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนด้านที่ติดคลองกลายเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนที่ที่จะก่อสร้างเนื่องจากการเวนคืนซึ่งเป็นถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรกว้าง 60 เมตรเป็นถนนขนาดใหญ่ แม้จะทำให้ที่ดินด้านกว้างซึ่งติดถนนสาธารณะอยู่แล้วแคบลงไปกว่าเดิม และเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้ที่ดินส่วนที่เหลือก่อสร้างอาคารสูงตามความตั้งใจของโจทก์ก็ตาม แต่ประโยชน์ในทางอื่นที่โจทก์ได้รับจากการใช้ที่ดินส่วนที่เหลือด้านที่ติดกับถนนที่ทางราชการตัดใหม่กลับมีมากกว่าเดิมเป็นอย่างมาก คือสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดแนว ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้น แม้ยังไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนออกใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ก็ตาม แต่มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ
เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน และผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 (1) ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นต้องเป็นกรณีที่ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง แต่เมื่อที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้น ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับการต้องถอยร่นระยะจากแนวถนนสาธารณะเมื่อมีการก่อสร้างอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้