พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปในที่ดินเอกชน: จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเพื่ออ้างข้อยกเว้นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีไม้ประดู่และไม้มะค่าโมงแปรรูปเป็นไม้หวงห้ามเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่เสียค่าภาคหลวงและโดยไม่รับอนุญาต จำเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อจึงเป็นไม้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 48,50(4) แต่จำเลยนำสืบไม่ได้ความตามข้อต่อสู้ จำเลยจึงไม่พันผิด
ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่นั้น เมื่อคู่ความนำสืบไว้แล้วแต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยเองได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเกิดในที่ดินของผู้มีชื่อตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่นั้น เมื่อคู่ความนำสืบไว้แล้วแต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยเองได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่ดินเอกชนไม่เป็นไม้หวงห้ามหากตัดแปรรูปก่อนมีกฎหมายควบคุม การเคลื่อนย้ายจึงไม่ผิด
ไม้สักที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชนนั้น เมื่อตัดฟันและแปรรูปเสียก่อนใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2494 ก็ถือว่าไม้นั้นไม่ใช่ไม้หวงห้าม
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชน เคลื่อนที่นั้น ย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชน เคลื่อนที่นั้น ย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่ดินเอกชนตัดก่อนมีกฎหมาย ไม่ใช่ไม้หวงห้าม ไม่ผิดพ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้สักที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชนนั้น เมื่อตัดฟันและแปรรูปเสียก่อนใช้พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ก็ถือว่าไม้นั้นไม่ใช่ไม้หวงห้าม
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชนเคลื่อนที่นั้นย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 38
การนำไม้ที่ไม่ใช่ไม้หวงห้ามซึ่งขึ้นอยู่ในที่ดินเอกชนเคลื่อนที่นั้นย่อมไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของศาลจ้าวในที่ดินเอกชน: กฎกระทรวงฯ และ พรบ.ปกครองท้องที่ มิได้คุ้มครองศาลจ้าวที่ตั้งอยู่ในที่ดินเอกชน
กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยที่กุศาสถานชะนิดศาลจ้าว พ.ศ. 2463 พรบ ปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ม. 123 ศาลจ้าวซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินอันเอกชนมีกรรมสิทธิเป็นเจ้าของนั้นไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎกระทรวงดังกล่าง บทบัญญัติมาตรา 123 แห่ง พรบ ลักษปกครอง ืต้องที่ซึ่งบัญญัติว่ารัฐบาลได้ปกปักรักษาที่กุศลสถานทั้งหมดนั้นหมายความถึงกุศลสถานหรือศาลจ้าวซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักรักษาเท่านั้นไม่กินความถึงศาลจ้าวซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินอันเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เพียงแต่ให้ศาลจ้าวตั้งอยู่ในที่ของตนโดยไม่แก้โฉนดโอนทะเบียนและทำเรื่องราวขออุทิศ ไม่เรียกว่าเป็นการอุทิศที่ดินนั้นสำหรับศาลจ้าวโดยสิทธิขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางพิพาทในที่ดินเอกชน: การใช้ทางจำเป็น vs. ทางสาธารณประโยชน์
ทางหรือถนนซึ่งเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน อันจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ย่อมต้องเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน หาได้หมายความรวมถึงทางหรือถนนอันเป็นทรัพย์ของเอกชนหรืออยู่ในที่ดินของเอกชนด้วยไม่ เว้นเสียแต่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเอกชนจะได้อุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยที่ 2 แม้มีชาวบ้านใช้ทางพิพาทเข้าออกไปทำนา ทำสวน ทำไร่และขนพืชผลทางการเกษตรมาเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 50 ปี แต่ไม่มีพยานปากใดเบิกความว่า เจ้าของที่ดินได้อุทิศหรือยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว การใช้ทางพิพาทเฉพาะผู้ที่มีที่ดินอยู่ด้านในถัดจากที่ดินของจำเลยที่ 2 จึงเป็นลักษณะการถือวิสาสะหรือการใช้ทางจำเป็นหรือภาระจำยอมเท่านั้น มิใช่เป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อการสัญจรไปมาตามปกติของพลเมืองหรือประชาชนหมู่มากโดยทั่วไป ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าทางพิพาทมิได้สิ้นสุดเพียงในที่ดินของจำเลยที่ 2 เท่านั้นหรือเชื่อมต่อกับทางสาธารณประโยชน์อื่นด้วย พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่าทางพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) หรือเป็นที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เข้าไปทำนาและปลูกต้นกล้วยในทางพิพาทจึงไม่เป็นการร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามฟ้อง