คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินแปลงเดียวกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484-3485/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก: ที่ดินเดิมแปลงเดียวกัน แม้แบ่งแยกหลายทอดก็ยังคงสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินของจำเลยและของ บ. เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์ เป็นของ บ. ก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของ บ. เป็นของจำเลยภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด ถือว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาท เป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, สิทธิครอบครอง, ที่ดินแปลงเดียวกัน, น.ส.3ก., การโต้แย้งสิทธิ
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์กับที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวจำเลยได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นโต้แย้งในการชี้สองสถานของศาลชั้นต้นและในคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยให้จำเลยไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
ที่พิพาทตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 5141 ตำบลหนองขาม อำเภอ-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ของโจทก์ และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 ตำบลหนองขามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นที่ดินแปลงเดียวกันและโจทก์มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่พิพาทเพื่อออกโฉนดเป็นของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 5141 ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาข้อนี้ด้วยแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5141 และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏในการชี้สองสถานคู่ความทั้งสองรับกันแล้วว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปแล้วในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773-1782/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ที่ดินแปลงเดียวกันแบ่งแยก - สิทธิขอเปิดทาง - การรวมพิจารณาคดี - การจดทะเบียนภารจำยอม
ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ปิดล้อมที่ดินของโจทก์ทั้งสิบจนไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้เมื่อเดิมที่ดินของโจทก์ที่1ถึงที่6กับที่ดินของจำเลยทั้งสี่เป็นที่ดินแปลงเดียวกันเมื่อแบ่งแยกแล้วที่ดินของโจทก์ที่1ถึงที่6ไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ที่1ถึงที่6จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนส่วนที่ดินของโจทก์ที่7ถึงที่10มีที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้โจทก์ที่7ถึงที่10จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้และการที่ศาลสั่งให้รวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันก็เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนถูกที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนตามความจำเป็นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความและการบังคับจดทะเบียน: กรณีที่ดินแปลงเดียวกันแบ่งแยกและใช้ทางร่วมกัน
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นของ ป. ต่อมาตกได้แก่ ย.ส่วนที่ดินของจำเลยแบ่งเป็น 2 แปลง เป็นของ ก. และ ม.ซึ่งทั้งหมดต่างเป็นญาติกัน ป. และ ย. ต่างเดินผ่านที่พิพาทบนที่ดินของ ก. และ ม. ออกสู่ทางสาธารณะมากกว่า 10 ปีโดยมิได้ขออนุญาตหรืออาศัยสิทธิของผู้ใดทั้งเจ้าของที่ดินแต่ละแปลงต่อ ๆ มาก็มิได้เป็นญาติเกี่ยวข้องกัน แสดงว่ามีการใช้ทางพิพาทอย่างเป็นเจ้าของโดยมิได้อาศัยสิทธิของผู้ใด หรือเป็นการใช้อย่างฉันพี่น้องกัน ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมนับแต่ป. และ ย. เป็นเจ้าของแล้ว เมื่อโจทก์และจำเลยรับโอนที่ดินในภายหลัง โจทก์ย่อมได้สิทธิในภาระจำยอมนั้นด้วย โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในโฉนดของจำเลยได้ ถือเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ฟ้องผิดเลขที่โฉนด ศาลยังบังคับคดีได้ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่9923 เป็นของโจทก์ แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 9927 ศาลจะบังคับคดีได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาก่อนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยให้
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 273จำเลยก็ให้การยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้โจทก์อ้างเลขที่ของโฉนดที่ดินพิพาทผิดไป แต่การบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็แน่นอนว่าเป็นที่ดินแปลงใด การบังคับคดีจึงย่อมกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการเกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5819/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องครอบครองปรปักษ์ไม่ซ้ำกับคดีเดิม แม้ที่ดินแปลงเดียวกัน หากเหตุฟ้องต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ว่างเปล่า แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยเหตุว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยในฐานะโจทก์เป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผยเกินกว่า 10 ปีที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อน แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันโจทก์ก็ฟ้องคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นต่างกัน แม้ที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลอนุญาตฟ้องได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินในฐานะที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกร่วมกับจำเลย จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลฟังว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยบรรยายฟ้องว่าที่พิพาทซึ่งจำเลยปักหลักเขตรุกล้ำเป็นคนละแปลงกับที่พิพาทในคดีก่อน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยปักหลักเขตภายในที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเป็นที่พิพาทในคดีก่อน มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยปักหลักเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ ส่วนประเด็นในคดีก่อนมีว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งร่วมกับจำเลยหรือไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่เกิดเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมให้ใช้ทาง แต่ทั้งสองฝ่ายซื้อที่ดินจากเจ้าของเดียวกัน การใช้ทางเกิน 10 ปีไม่ทำให้เกิดภารจำยอม
ภารจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น เมื่อที่ดินที่โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกและที่ดินที่โจทก์เช่าอยู่เดิมเป็นของเจ้าของเดียวกัน และเจ้าของที่ดินดังกล่าวใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนอนุญาตให้โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกได้ แม้โจทก์จะใช้ทางดังกล่าวมาเกิน 10 ปีก็ไม่ก่อให้เกิดภารจำยอมเหนือที่ดิน โจทก์เพิ่งซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โจทก์เคยเช่ามายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่ได้ภารจำยอมในการใช้ทางเดินโดยอายุความ
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1194/2508 และ 1049/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความในที่ดินแปลงเดียวกัน แม้ยังมิได้แบ่งแยก
โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนหนึ่งของโฉนดโดยการครอบครองที่ดินนอกนั้นเป็นของจำเลยล้อมรอบที่ดินส่วนของโจทก์อยู่ แม้ที่ดินของโจทก์จำเลยอยู่ในโฉนดเดียวกันแต่เมื่อโจทก์จำเลยแยกครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลงเป็นส่วนสัดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยย่อมตกเป็นทางภารจำยอม แก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ที่ดินพิพาทเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีซ้ำในประเด็นสิทธิเดิมย่อมเป็นฟ้องซ้ำที่ต้องห้าม
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของจำเลยร่วมชำระคดีโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์นำเรื่องที่ดินรายเดียวกันนั้นมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก แม้จะเป็นเพียงที่ส่วนหนึ่งและเปลี่ยนตัวจำเลยจากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยคดีนี้ ก็คงมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทในคดีนี้เป็นของใครเท่านั้น กรณีเป็นเรื่องที่มีประเด็นซึ่งศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน ซึ่งศาลชี้ขาดมาแล้วในสิทธิของที่พิพาทว่าเป็นของจำเลยร่วม จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยซ้ำในเรื่องสิทธิแห่งที่พิพาทอีก เพราะเป็นฟ้องซ้ำ และที่ดินรายนี้จำเลยขายให้ภริยาจำเลย ฐานะของจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายที่แปลงนี้โดยตรงกับจำเลยร่วมก็จริงแต่จำเลยเป็นสามีของ ฟ. ภริยาจำเลยคู่สัญญาซื้อขายกับจำเลยร่วม ก็มีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินแปลงนี้ด้วย ในคดีนี้จำเลยร่วมได้ถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ทั้งจำเลยและจำเลยร่วมย่อมชอบที่จะอ้างสิทธิอันมีมาก่อนเป็นข้อต่อสู้ได้โดยชอบ
of 2