พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่งอกริมตลิ่ง การโอนสิทธิและผลกระทบต่อผู้รับโอน
คำฟ้องของโจทก์มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้วย่อมเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่สำเนาคำฟ้องของโจทก์ที่ส่งให้จำเลย ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เขียนหรือพิมพ์แทนที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงและพิมพ์ หาใช่เป็นข้อสาระสำคัญไม่ ส่วนที่ทนายโจทก์ไม่ได้ระบุเลขที่ใบอนุญาตว่าความไว้ในคำฟ้องและสำเนาคำฟ้องที่ส่งให้จำเลยก็อาจจะเนื่องจากความหลงลืม แต่อย่างไรก็ตามทนายโจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายความซึ่งระบุเลขใบอนุญาตของตนไว้ต่อศาลขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งจำเลยสามารถที่จะตรวจสอบความสามารถและอำนาจในการดำเนินคดีของทนายโจทก์ได้อยู่แล้ว หาทำให้คำฟ้องของโจทก์กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายไม่
ส. โอนขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นที่ดินแปลงเดิมให้บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปมีที่งอกริมตลิ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะ ส. ขอออกโฉนดที่งอกตั้งแต่ปี 2516 แต่ยังไม่เป็นที่ยุติว่ามีส่วนที่เป็นที่งอกมากน้อยเพียงใด เพราะการออกโฉนดยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ และไม่เคยมีการบันทึกในโฉนดเดิมไว้ให้ปรากฏการเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้ว ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่า ส. จะได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกค้างไว้ แล้วต่อมาในปี2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ ส. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินจาก ส. อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ย่อมทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
ส. โอนขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นที่ดินแปลงเดิมให้บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปมีที่งอกริมตลิ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะ ส. ขอออกโฉนดที่งอกตั้งแต่ปี 2516 แต่ยังไม่เป็นที่ยุติว่ามีส่วนที่เป็นที่งอกมากน้อยเพียงใด เพราะการออกโฉนดยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ และไม่เคยมีการบันทึกในโฉนดเดิมไว้ให้ปรากฏการเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้ว ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่า ส. จะได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกค้างไว้ แล้วต่อมาในปี2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ ส. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินจาก ส. อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ย่อมทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9870/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่สาธารณะและการเสียหายที่ควรคาดหมายได้: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่สาธารณะ
บ้านจำเลยเฉพาะส่วนที่ยังพิพาทกันปลูกอยู่ในที่ดินริมคลองเชียงรากใหญ่อันเป็นที่สาธารณะ ไม่ได้ปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์แม้บ้านและสิ่งก่อสร้างของจำเลยจะบังหน้าที่ดินโจทก์ที่จะออกสู่คลองสาธารณะมีความยาวถึง 16 เมตร แต่โจทก์ยังคงเหลือที่ดินติดคลองดังกล่าวซึ่งไม่ถูกบัง สามารถออกสู่คลองดังกล่าวได้มีความยาว 9.5 เมตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะยื่นฟ้อง โจทก์ยังไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์คงปล่อยที่ดินไว้ให้หญ้าขึ้นรก ไม่ได้ทำประโยชน์อย่างใด ส่วนจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าวมาประมาณ 20 ปีแล้ว ตามสภาพดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินริมคลองเชียงรากใหญ่อันเป็นที่สาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: การซื้อขายที่ดินโฉนด vs. ที่ดินมือเปล่า, สัญญาซื้อขายที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 กำหนดให้ทึ่งอกริมตลิ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ตั้งอยู่ริมตลิ่งเมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. เจ้าของที่ดินโดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่งอกให้โจทก์ ถือว่าได้แบ่งที่ดินตามโฉนดนั้นขายแก่โจทก์ไม่ใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่า โจทก์กับ ส.เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่งอก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยออกไปจากที่งอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดและที่งอกติดกับที่ดิน การซื้อขายต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด
เมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดที่งอกย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. โดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมายไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานว่าเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วที่งอกจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ถือว่าได้แบ่งที่ดินมีโฉนดขายแก่โจทก์หาใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่าแต่อย่างใดไม่การซื้อขายที่ดินมีกรรมสิทธิ์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์กับ ส. เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองไม่ได้ทำตามแบบจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโฉนดโดยเจ้าของรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน การวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์
ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่1ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตประเด็นข้อนี้จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่323ซึ่งเดิมโจทก์และ จ. เป็นเจ้าของร่วมกันต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งแยกโจทก์ได้ด้านทิศเหนือคือที่ดินพิพาทส่วน จ. ได้ด้านทิศใต้ จ.และจำเลยที่2ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่323ทั้งแปลงโดยสัญญาจะซื้อจะขายระบุเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดินพิพาทไว้อันเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์มิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ จ. เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทด้วยสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1361วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, ครอบครองปรปักษ์, อายุความ: ศาลฎีกาตัดสินคดีที่ดินโฉนด
คดีจะมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องเกิดจากคำให้การของจำเลยว่าจำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม ดังนั้นศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยประกอบคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ผู้ครอบครองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ที่ดินที่มีโฉนดจะนำเรื่องการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับใช้ไม่ได้เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโฉนด – มาตรา 1299 วรรคสอง – การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่าแม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้นไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินโฉนด เจ้าของรวม การเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าของ และผลต่อการต่อสู้คดี
จำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก็เท่ากับว่าจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ในส่วนที่โจทก์เองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย แม้ภายหลังโจทก์จะรับโอนที่ดินจากผู้มีกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นจนโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดดังกล่าวเพียงคนเดียวก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยจึงยกเอาการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน การครอบครองแทน และสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า
โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 เฉพาะที่ดินมีโฉนดเท่านั้นหาได้ซื้อที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาทจากจำเลยที่ 2 ด้วยไม่การที่โจทก์ยึดถือที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าและครอบครองสืบต่อมาโดยไม่ได้เลิกการเช่า จึงเป็นการยึดถือที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าตามเดิม โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้แทนผู้ครอบครองอันเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 2ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาท โจทก์หามีสิทธิครอบครองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดในที่ดินโฉนด การกระทำตามคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย และข้อยกเว้นความรับผิด
การที่จำเลยเข้าไปขุดลอกสระน้ำซึ่งอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์โดยเข้าใจว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ แม้จะไม่มีความผิดทางอาญา เนื่องจากขาดเจตนา แต่ขณะเกิดเหตุโจทก์ครอบครองทำประโยชน์อยู่ ทั้งโจทก์ได้ห้ามปรามและยังได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจมาห้ามปรามแล้ว จำเลยก็ยังไม่ยอมหยุดกระทำการสูบน้ำและขุดดินในสระน้ำ ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ได้รับความเสียหายถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 7 เป็นลูกจ้างของกรมชลประทาน ได้ร่วมกระทำการกับจำเลยอื่นตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเข้าใจว่าเป็นการช่วยเหลือวัด ถือได้ว่ากระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย แม้การกระทำของจำเลยที่ 7 ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 7 ก็ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 วรรคแรก จำเลยที่ 7 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
จำเลยที่ 7 เป็นลูกจ้างของกรมชลประทาน ได้ร่วมกระทำการกับจำเลยอื่นตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเข้าใจว่าเป็นการช่วยเหลือวัด ถือได้ว่ากระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย แม้การกระทำของจำเลยที่ 7 ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 7 ก็ได้รับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 วรรคแรก จำเลยที่ 7 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์