พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกแต่ถูกจำกัดด้วยสภาพภูมิประเทศและถนนสูงกว่า ทำให้ที่ดินไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ
แม้แต่เดิมโจทก์ใช้ลำห้วยหนองแสงที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์จำเลยเข้าออกสู่ถนนสาธารณะซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ แต่เมื่อในภายหลังได้มีการราดยางและยกระดับถนนสาธารณะสูงขึ้นจนสูงระดับศีรษะ ทำให้โจทก์ใช้ลำห้วยหนองแสงเป็นทางเข้าออกได้ลำบาก เนื่องจากตามปกติลำห้วยหนองแสงซึ่งลึกประมาณ 1 เมตร มีสภาพแห้งไม่มีน้ำ เวลาฝนตกจึงจะมีน้ำขัง แต่เป็นเวลาไม่นานก็จะแห้งอีก ไม่อาจใช้สัญจรไปมาตามปกติได้ ลำห้วยหนองแสงจึงไม่มีสภาพเป็นทางสาธารณะ เมื่อพิจารณาสภาพของลำห้วยหนองแสงในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ต่ำปละลึกไม่สะดวกที่โจทก์จะใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะที่มีระดับสูงกว่ามากเช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ดินโจทก์มีทางออกได้ แต่มีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากขวางอยู่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสอง และต้องบังคับตามความในมาตรา 1349 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าที่ดินโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทในที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางที่จำเลยจะเสียหายน้อยที่สุดเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: สิทธิของเจ้าของที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตร บนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น กรณีที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตรบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจ เลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอ ท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและการขัดขวางการปรับปรุงทาง กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และ อ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ.โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินดังกล่าวเป็น3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774, 94775 และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางผ่าน (ทางจำเป็น/ภาระจำยอม) กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยผ่านที่ดินของ น.และ บ.ไปออกถนนสาธารณะเพื่อขนส่งผลิตผลการเกษตร แต่ที่ดินของ น.และ บ.เป็นนาลึกฤดูฝนน้ำท่วมถึงอก ส่วนหน้าแล้งสามารถเดินด้วยเท้า รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้เพราะเป็นที่นา นอกจากทางพิพาทนี้แล้วโจทก์ไม่มีทางอื่นที่จะออกสู่ทางสาธารณะดังนี้ เมื่อที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้และเส้นทางพิพาทซึ่งผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 มีระยะทางสั้นเพียง 40 เมตรการใช้ทางพิพาทดังกล่าวผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้ที่ดินส่วนน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 1 รับภาระเกินไป และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในบริเวณนั้น อีกทั้งเป็นบริเวณที่โจทก์เคยใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างพนังกั้นนำเค็มซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างพนังกั้นน้ำเค็มแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็มตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้
โจทก์ได้ใช้เส้นทางพิพาทเข้าออกมาประมาณ 30 ปีแล้วโดยใช้มาก่อนมีการสร้างพนังกั้นนำเค็มซึ่งได้ทำขึ้นทับเส้นทางเดิม หลังจากสร้างพนังกั้นน้ำเค็มแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทบนผนังกั้นน้ำเค็มตลอดมา เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมด้วย ซึ่งทางพิพาทนี้เป็นทั้งทางจำเป็นและเป็นทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีทางออก - ทางพิพาทจำเป็น - ที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์แต่กีดขวาง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งทางด้านทิศตะวันออกติดต่อกับที่ดินของจำเลยทั้งสองที่มีทางพิพาทผ่าน เมื่อปรากฎว่าที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้แต่เดิมติดกับทางสาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชนทั่วไปได้ใช้ผ่านเข้าออกอยู่แล้ว และต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินอีก 2 แปลง คือเลขที่ 807 และ 808 ที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลงจึงติดกับทางสาธารณประโยชน์ การที่ต่อมาโจทก์ได้ปักรั้วเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ทางด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์จนติดที่ดินของจำเลยที่ 2 ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ไม่สามารถใช้เดินได้ โจทก์จึงเข้าออกทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่ได้อีก ดังนี้กรณีจะถือว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น และโจทก์จะมาร้องขอให้ศาลบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้เปิดทางพิพาททางจำเป็นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ดินไม่มีทางออก-จำเลยโอนถนนให้ผู้อื่น-โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้-โจทก์ไม่ผิดสัญญา
ที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อจากจำเลยเป็นที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แม้ในสัญญาจำเลยตกลงจะทำถนนให้โจทก์ไว้เป็นทางเข้าออกซึ่งจำเลยได้ทำเสร็จแล้วก็ตามแต่จำเลยก็ได้โอนถนนดังกล่าวให้แก่ ค. โจทก์จึงอาจได้รับความเดือดร้อนเสียหายได้หากค. ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าว ดังนั้นก่อนที่จำเลยโอนขายที่ดินให้ ค.จำเลยสามารถจะแบ่งแยกที่ดินส่วนที่ทำเป็นถนนออกก่อนหรือหากจำเป็นต้องโอนที่ดินส่วนนี้ให้ติดไปกับที่ดินที่จำเลยโอนขายให้แก่ ค. ก็ควรทำด้วยประการใด ๆเพื่อให้ ค. มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องยอมรับสิทธิของโจทก์ที่จะเข้าออกจากที่ดินที่เช่าซื้อไปสู่ทางสาธารณะได้ต่อไปไว้ด้วยแม้ว่าตามสัญญาเช่าซื้อจะไม่ได้กำหนดให้จำเลยต้องไปจดทะเบียน ภาระจำยอมก็ตามแต่จำเลยหาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลย จัดการเรื่องถนนให้เรียบร้อย จำเลยก็ไม่จัดการ เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ หากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อ ให้แก่จำเลยจนเสร็จสิ้นก็ไม่แน่ว่าจำเลยจะจัดการกับปัญหาที่จำเลย ก่อขึ้นให้เรียบร้อยให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์หน่วงเหนี่ยว ยังไม่ชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยจึงนับได้ว่า มีเหตุสมควร ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อโจทก์ พร้อมที่จะรับโอนที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ จำเลย จำเลยก็ต้องโอนให้โจทก์และรับชำระราคาส่วนที่เหลือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 17462 แบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. อีกทั้งที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้โจทก์จะสามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ก็ดี แต่การเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ยังจะต้องเข้าออกผ่านที่ดินของ บ.ส่วนที่เป็นถนนอีกทอดหนึ่ง การผ่านที่ดินของ ช.เป็นเรื่องของความยินยอม หาใช่สิทธิตามกฎหมายไม่กรณีต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดช่องทางพิพาทเป็นทางเข้าออก
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ แม้มีทางอื่นแต่ต้องผ่านที่ดินผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์ซึ่งแบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. มารดาจำเลยที่ถึงแก่กรรมไปแล้วมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้โจทก์สามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช แต่ก็เป็นเรื่องของความยินยอม มิใช่สิทธิตามกฎหมาย ต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางในที่ดิน บ. เป็นทางเข้าออก และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินติดคลองสาธารณะไม่ถือเป็นที่ดินไม่มีทางออก สิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นจึงไม่เกิด
เมื่อยังมีการใช้เรือสัญจรไปมาในคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นคลองสาธารณะอยู่คลองบางกอกน้อย จึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349ดังนั้นการที่ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองบางกอกน้อย ซึ่งเป็นทางสาธารณะเช่นนี้จึงไม่เป็นที่ดินที่มีดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้ที่ดินของจำเลยไม่เป็นทางจำเป็นของที่ดินของโจทก์ ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมโจทก์ได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความแล้วนั้นปรากฎว่าในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินของจำเลยเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่และไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงไม่มีประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย