พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัด: สิทธิความเป็นเจ้าของยั่งยืน แม้มีการครอบครองนานปี
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนด vs. ที่ธรณีสงฆ์: สิทธิของผู้เช่าหลังบอกเลิกสัญญา
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนด ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินดังกล่าวเมื่อจำเลยรับว่าเช่าที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนของโฉนดดังกล่าวจากโจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ ที่จำเลยจะขอนำสืบข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ธรณีสงฆ์วัด ต.(ร้าง) ซึ่งเป็นบุคคลที่สามจึงไม่จำเป็นเพราะที่ดินพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ธรณีสงฆ์หรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบุคคลผู้มีอำนาจดูแลที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความใช้ไม่ได้กับที่ดินวัด
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใครดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2504 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้าง วัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2504 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้าง วัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองนานไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้ซื้อมาจากผู้ครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ผู้ใดจะครอบครองที่พิพาทมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองนานไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้ซื้อมาจากผู้ครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ผู้ใดจะครอบครองที่พิพาทมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ใช้ยันวัดไม่ได้
ที่ธรณีสงฆ์นั้น ผู้ใดจะยกอายุความครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันกับวัด ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1467/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าอาวาสในการจัดการที่ธรณีสงฆ์และการฟ้องขับไล่ผู้เช่า
จำเลยทำสัญญาเช่าที่วัดปลูกอาคารอาศัยทำการค้า โดยนายอำเภอท้องที่ที่วัดตั้งเป็นผู้ทำสัญญาแทนวัด ต่อมาวัดต้องการที่ดินคืน เจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้ไวยาวัจกรฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ธรณีสงฆ์: สิทธิเหนือที่ดินสงฆ์ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ การพิสูจน์ความเป็นที่ธรณีสงฆ์
ที่ธรณีสงฆ์นั้นแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองทั้งนี้ก็เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 มาตรา 7ความว่า 'ที่วัดก็ดีที่ธรณีสงฆ์ก็ดีเป็นสมบัติทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทางปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้' แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะและแม้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความในมาตรา 41 ว่า 'ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติ'หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอายุความไม่ได้ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าที่แปลงใดเป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ซึ่งในกรณีนี้จะต้องสืบให้ได้ความชัดฟังได้ว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47-50/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ธรณีสงฆ์ไม่ต้องจดทะเบียน การพิสูจน์ความเป็นที่ธรณีสงฆ์เพียงพอต่อการฟ้องขับไล่
ที่ธรณีสงฆ์นั้นไม่มีกฏหมายให้ต้องจดทะเบียน
การฟ้องขับไล่ออกจากที่ธรณีสงฆ์นั้น โจทก์พิศูจน์ว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ก็เพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบถึงการได้มา.
การฟ้องขับไล่ออกจากที่ธรณีสงฆ์นั้น โจทก์พิศูจน์ว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ก็เพียงพอแล้วไม่จำต้องนำสืบถึงการได้มา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ธรณีสงฆ์: การได้มาไม่จำกัดเฉพาะการถวาย วัดมีสิทธิเหนือที่ดินโดยสมบูรณ์ การครอบครองปรปักษ์ใช้ไม่ได้
ที่ธรนีสงค์หมายถึงที่ซึ่งเปนสมบัติของวัด แต่ไม่จำกัดว่าจะต้องเปนที่มีผู้ยกไห้ อาดได้มาโดยทางอื่น เช่นโดยทางซื้อก็ได้
ไครจะอ้างการครอบครองโดยปรปักส์แก่ที่ของวัดไม่ได้
ไครจะอ้างการครอบครองโดยปรปักส์แก่ที่ของวัดไม่ได้