คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่บ้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง: ที่บ้านตามลักษณะเบ็ดเสร็จ vs. ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่ง
ผู้ครอบครองที่บ้าน ที่สวนอยู่ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 ย่อมได้กรรมสิทธิ์
เข้าแย่งการครอบครองเมื่อ 5 ปีมานี้ การแย่งการครอบครองที่บ้าน ที่สวนซึ่งผู้ครอบครองมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ผู้แย่งการครอบครองจะต้องครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงจะได้กรรมสิทธิ์(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมือเปล่าเป็นที่บ้าน, อายุความครอบครอง, การพิสูจน์สิทธิโดยอาศัยกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ
ที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินจำเลยเป็นที่ดินมือเปล่า ตามสภาพพออนุมานได้ว่าเป็นที่บ้าน เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์มีกรรมสิทธิไม่ใช่แค่เพียงสิทธิครอบครอง จึงควรฟังข้อนำสืบของโจทก์ว่ามีกรรมสิทธิ์ไม่ใช่แต่เพียงสิทธิครอบครอง จึงควรฟังข้อนำสืบของโจทก์ว่ามีกรรมสิทธิ์โดยอาศัยกฎหมายบทใดเสียก่อน ไม่ควรด่วนงดสืบพยาน อนึ่ง ในเรื่องอายุความ จะถือเอาระยะเริ่มที่โจทก์เค้าครอบครองที่ดินเป็นต้นมาไม่ได้ ต้องพิจารณาว่าที่เป็นที่บ้านมาแต่เมื่อใด ถ้าที่ดินได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42แล้ว โจทก์จะต้องละทิ้ง 9 ปี 10 ปี จึงจะขาดสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญและลักษณะเป็นที่บ้าน ศาลสันนิษฐานเป็นสัญญาจะขายได้
ที่พิพาทเป็นที่ว่างยังไม่ได้มีการปลูกสร้าง และไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน แต่ปรากฏว่าอยู่ริมถนนหลวงในเขตเทศบาลและมีบ้านเรือนปลูกอยู่แล้วโดยรอบที่นี้จึงมีลักษณะเป็นที่บ้าน
บิดาโจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาทซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ให้แก่จำเลย ทั้งยังได้ลงชื่อจำเลยไว้ในใบไต่สวนเพื่อรับโฉนดในภายหลัง และมอบให้จำเลยครอบครองโดยเปิดเผย ดังนี้ ตามพฤติการณ์แห่งรูปคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าคู่กรณีได้รู้ว่าหนังสือสัญญานี้ไม่สมบูรณ์ เป็นสัญญาซื้อขาย ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาจะขาย กรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136