คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ประชุมผู้ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9862/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากพ้นกำหนด ฟ้องร้องไม่ได้
บริษัททำการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ที่ประชุมใหญ่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของบริษัท หากผู้ถือหุ้นในบริษัทประสงค์จะขอให้เพิกถอนมตินั้นโดยเห็นว่าผิดระเบียบ ผู้ถือหุ้นต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งบัญญัติว่า การประชุมใหญ่นั้นถ้านัดเรียกหรือได้ประชุมหรือลงมติโดยฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัท กรรมการหรือผู้ถือหุ้นจะร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5839/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเนื่องจากไม่ส่งงบดุลก่อนการประชุม
ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการประชุมใหญ่ประธานที่ประชุมไม่ได้เสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นพิจารณาและไม่มีการลงมติในเรื่องที่ประชุมและไม่มีการอ่านข้อความที่เลขานุการที่ประชุมได้บันทึกไว้คงมีเพียงผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมและเลขานุการที่ประชุมสนทนากันเพียงเบา ๆและบันทึกข้อความเป็นภาษาต่างประเทศซึ่งโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นได้โต้แย้งคัดค้านและขอสำเนาบันทึกการประชุม แต่ประธานที่ประชุมปฏิเสธและกล่าวปิดประชุมทันที เท่ากับโจทก์ยอมรับว่ามีการลงมติกัน ไปตามบันทึกการประชุมดังกล่าว เป็นเพียงการบรรยายฟ้องกล่าวถึงวิธีการประชุมที่ไม่ชอบทั้งตอนท้ายของคำฟ้องยังกล่าวยืนยันว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533และมติของที่ประชุมฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีคำขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533 เสียจึงไม่มีประเด็นว่า การประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533ที่ประชุมได้มีการลงมติหรือไม่ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดการกำหนดประเด็นของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1197 วรรคสองกำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ส่งสำเนางบดุลให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทก่อนรับนัดประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน หากบริษัทใดฝ่าฝืนต้องรับโทษตาม พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิฯ มาตรา 18(2) ฉะนั้นโจทก์กับจำเลย จะตกลงปฏิบัติต่อกันให้แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1197 วรรคสองไม่ได้ เมื่อจำเลยมิได้ส่งสำเนางบดุลไปยังผู้ถือหุ้นของบริษัททุกคนรวมทั้งโจทก์ก่อนรับนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน การลงมติในการประชุมในระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองงบการเงินจึงไม่ชอบโจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนเสียได้ โจทก์ขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่หลายเหตุและได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ถอนอุทธรณ์ดังกล่าวและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์นั้นแล้วทั้งโจทก์มิได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์เหตุดังกล่าวจึงมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องยื่นคำร้องภายใน 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195
ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่า การดำเนินการทำหนังสือขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญไม่ได้ส่งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ตัวแทนหรือผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิเสนอวาระและแสดงความคิดเห็นผู้ถือหุ้นและตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียไม่มีสิทธิลงมติ จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ลงมติน้อยกว่า 1 ใน 3 ของหุ้นบริษัท การลงมติให้เลิกและขายกิจการบริษัทต้องกระทำโดยมติที่ประชุมใหญ่ การลงมติขัดต่อข้อบังคับและกฎหมายขอให้เพิกถอนมติเป็นเรื่องที่อ้างว่าการเรียกประชุมหรือการประชุมและการลงมติของที่ประชุมได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและการหมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1195 ป.พ.พ.
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติ เมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นเรื่องอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอน มติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติเมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการเดินรถโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำโดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้ สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วยในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีต้องผ่านการเลือกตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น การแต่งตั้งโดยกรรมการแล้วขอรับสัตยาบันไม่ชอบ
การตั้งผู้สอบบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบบัญชีงบดุลที่บริษัทจัดทำขึ้นโดยตรวจจากสมุดบัญชี เอกสารประกอบการลงบัญชีและหลักฐานอื่น ๆ โดยผู้ประกอบวิชาชีพตามแนวทางปฏิบัติงานที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เพื่อวินิจฉัยและแสดงความเห็นว่า งบการเงินที่จัดทำขึ้นมีความถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่เพียงใด ฐานะและบทบาทผู้สอบบัญชีจึงเป็นเสมือนตัวแทนของบริษัทในการควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ มติที่ประชุมใหญ่และตามกฎหมายหรือไม่ ดูแลว่าบัญชีของบริษัทได้ลงไว้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ทั้งเป็นผู้รับรองฐานะทางการเงินของบริษัทต่อผู้ถือหุ้นว่าฐานะทางการเงินตามที่แสดงไว้นั้นถูกต้อง ผู้สอบบัญชีจึงต้องแยกจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน กล่าวคือผู้สอบบัญชีจะเป็นกรรมการ ตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทในขณะที่ตนเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทไม่ได้ ผู้สอบบัญชีต้องขึ้นตรงต่อผู้ถือหุ้น กฎหมายจึงกำหนดให้เฉพาะที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเท่านั้น ที่มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนและให้บำเหน็จแก่ผู้สอบบัญชีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1208 ถึง 1211 เว้นแต่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าห้าคนร้องขอให้ศาลตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี ตามมาตรา 1212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับบริษัท และอำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น/กรรมการ
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้าน โดยไม่มีการขอเรียกประชุมจากจำนวนผู้ถือหุ้นครบตามข้อบังคับ ไม่มีคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้น ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพียงว่า ได้ส่งหนังสือเรียกประชุม และแจ้งทางโทรศัพท์แก่กรรมการทุกคนแล้ว มิได้คัดค้านโดยชัดแจ้งเลยว่าการประชุมดังกล่าวมิใช่การประชุมผู้ถือหุ้นแต่เป็นเพียงการประชุมคณะกรรมการผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ต้องดำเนินการส่งคำบอกกล่าวต่อผู้ถือหุ้นตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน คดีจึงไม่มีประเด็นว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมคณะกรรมการบริษัทผู้คัดค้านหรือไม่
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้ผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
ป.พ.พ. มาตรา 1195 บัญญัติว่า การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกันฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท เมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้ว ให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย เมื่อการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตามฟ้องเป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น การที่ผู้คัดค้านไม่ได้ส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ หรือส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้าน ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18117/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: ไม่ใช่ข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอส่วนหนึ่งให้เพิกถอนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวาระที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 อันเป็นการไม่ชอบ เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ซึ่งบัญญัติว่า "การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทก็ดี เมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้วให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย..." จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่า การประชุมและลงมติวาระตามฟ้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การดังกล่าว ศาลต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1195 ที่ศาลจะเพิกถอนมติที่ประชุมอันผิดระเบียบนั้นหรือไม่อันเป็นเรื่องระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทโดยไม่ต้องพิจารณาข้อตกลงในสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด คำฟ้องและคำขอบังคับในส่วนนี้จึงมิใช่ข้อพิพาทตามสัญญาผู้ถือหุ้นซึ่งโจทก์จะต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาผู้ถือหุ้นเสียก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น: เหตุฟ้องต้องอ้างอิงบทบัญญัติกฎหมายหรือข้อบังคับบริษัท ไม่ใช่ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 ส่วนที่ 3 วิธีการจัดการบริษัทจำกัด มาตรา 1195 ให้สิทธิแก่กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งได้นัดเรียกหรือประชุมกันหรือลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทได้ ปรากฏว่าข้ออ้างที่โจทก์ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องคดีนี้คือ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามบันทึกข้อตกลงการให้สินเชื่อและการชำระหนี้ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2532 ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียพิเศษ มิได้เข้าร่วมประชุมและมิได้เสนอบุคคลเข้าเป็นกรรมการเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงข้อ 5.3 นั้น หาใช่เหตุตามบทบัญญัติมาตรา 1195 อันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเพิกถอนการประชุมตลอดทั้งมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวไม่ แต่เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงที่มีต่อกัน ซึ่งหากโจทก์ได้รับความเสียหายประการใดในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่โจทก์เห็นว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนได้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้