คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่มาทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: สิทธิในการคัดค้านและการพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สิน
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น ตามบทบัญญัติมาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งรับคำร้องของพนักงานอัยการตามมาตรา 27 แล้ว ให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันเพื่อให้ผู้ซึ่งอาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนคดีถึงที่สุด ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านทรัพย์สินตามคำร้องรายการที่ 2 ดังกล่าวก็ตาม ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำร้องคัดค้านสำหรับทรัพย์สินตามคำร้องรายการที่ 2 นี้ด้วย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งขอให้คืนทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินจากความผิดฟอกเงิน แม้ทรัพย์สินได้มาก่อน พ.ร.บ.ฟอกเงินใช้บังคับ และการพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สิน
ส. เป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดมูลฐานมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปี 2544 ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของ ส. จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ส.ผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้คัดค้านทั้งสองที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ