คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ราชพัสดุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ราชพัสดุที่เทศบาลได้รับอนุญาตใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.365(3)
หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และ 5 จึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เมื่อเทศบาลตำบลน้ำพองซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาท มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดิน จำเลได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลน้ำพองโดยปกติสุข เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ราชพัสดุกับการรบกวนการครอบครอง: การจำแนกประเภททรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อกำหนดความผิดทางอาญา
แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ การครอบครองซื้อสืบต่อไม่ได้ สิทธิครอบครองต้องมีก่อนประกาศหวงห้าม
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตที่ราชพัสดุซึ่งมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงออกไว้ตั้งแต่ปี 2480 จ. ผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแจ้งต่อนายอำเภอว่าได้ที่ดินนี้มาโดยปกครองตั้งแต่ปี 2482 ซึ่งแม้ฟังเป็นจริงก็เป็นเวลาภายหลังจากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จ. จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อต่อจากส. ผู้ซื้อที่ดินจาก จ. แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็หาทำให้เกิดสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงให้เชื่อได้ว่ามีการครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนจะมีประกาศหวงห้ามที่ดิน จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินทุ่งฟ้าผ่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่ราชพัสดุ คำสั่งสมุหเทศาภิบาลไม่สร้างผลทางกฎหมาย
แม้หม่อมเจ้าธำรงศิริสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลจันทบุรีทรงมีลายพระหัตถ์ในเอกสารฉบับลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2458 และเอกสารฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2458 ถึงผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีในขณะนั้น ให้ขยายแนวเขตสนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่าออกไป เพื่อป้องกันมิให้กระสุนปืนทำอันตรายแก่ราษฎรผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นก็ตาม แต่เอกสารทั้งสองฉบับนั้นเป็นเพียงคำสั่งของสมุหเทศาภิบาลที่สั่งการให้ผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น มิได้มีผลเป็นกฎหมายดังเช่นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่ดินในเขตทุ่งฟ้าผ่าเป็นที่ดินที่ทางราชการทหารใช้เป็นสนามยิงปืน ย่อมเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) และเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 การที่ทางราชการทหารส่งหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงคืนให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและโลหกิจจังหวัด ไม่ทำให้สภาพของที่ดินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ราชพัสดุ, การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน, และข้อยกเว้นอายุความสำหรับสาธารณสมบัติ
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจ เพื่อกระจายอำนาจบริหารให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดวิธีการมอบอำนาจ โดยให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวงการคลังโจทก์มีคำสั่ง มอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์มีอำนาจร้องทุกข์และแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ โดยทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้จึงถูกต้องตามมาตรา 38 แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 และเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) ดังนั้น ที่จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งที่ดินพิพาทเกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความนั้น กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 จำเลยไม่สามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ราชพัสดุ, การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอายุความของคดีที่ดินสาธารณสมบัติ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 38 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจเพื่อกระจายอำนาจบริหารให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดวิธีการมอบอำนาจโดยให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวงการคลังโจทก์มีคำสั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์มีอำนาจร้องทุกข์และแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุโดยทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจึงถูกต้องตามมาตรา 38 แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลังโจทก์ตามพระราชบัญญัติราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3)กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306จำเลยจึงไม่สามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกทางจำเป็นและการจำกัดสิทธิในที่ราชพัสดุ: การใช้สิทธิเรียกทางจำเป็นต้องเป็นทางออกไปยังที่ดินเดิมที่เคยรวมกัน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทางในที่ราชพัสดุอ้างว่าเป็นทางมากกว่า 50 ปี โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์เรียกเอาทางในฐานะทางภารจำยอมหรือไม่ก็ทางจำเป็น ปรากฏว่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเดิมเป็นที่ดินที่สงวนไว้เพื่อราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมาจึงสร้างโรงเรียนลงในที่ดิน ดังนั้น ที่ราชพัสดุดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 ซึ่งมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน ทางที่โจทก์ฟ้องเรียกให้เปิดหากมีอยู่จริง จึงไม่ใช่ทางภารจำยอมที่จะได้มาโดยอายุความส่วนในกรณีทางจำเป็นได้ความว่าเดิมที่ดินของโจทก์รวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะ โดยโจทก์แบ่งซื้อมา โจทก์ย่อมมีสิทธิและชอบที่จะเรียกเอาทางออกผ่านที่ดินแปลงที่เคยรวมเป็นแปลงเดียวกันอยู่นั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ชอบที่จะเรียกเอาจากที่ราชพัสดุดังนั้น คำฟ้องโจทก์จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 โดยให้จำเลยเปิดทางมาใช้ศาลไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนที่ดินที่ให้เพื่อสร้างสถานีตำรวจ เมื่อทางราชการไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกฎหมายกำหนด
โจทก์ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2512 โดย มีเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธร ต่อมาเมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2522 จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุจึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธรแต่เวลาล่วงเลยมานับแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องเป็นเวลา 27 ปีเศษ ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างในที่ดินที่โจทก์ ยกให้ ครั้นโจทก์ขอที่ดินคืน จำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ตอบโจทก์ว่า เนื้อที่ดินที่ทางราชการได้มา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสร้างสถานีตำรวจได้ปรากฏว่ามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุฯ ข้อ 8 กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้ หรือทายาทของผู้ยกให้จะกระทำได้เมื่อ (2) ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปี นับแต่วันที่ยกที่ดินนั้นให้แก่ทางราชการ (3) ผู้ยกให้หรือทายาท ของผู้ยกให้ได้ยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์หรือนับแต่ วันที่ครบระยะเวลาตาม (2) ดังนี้ จึงฟังได้ว่า ทางราชการ ไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 8(2) และเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 ก็ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ตามหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ที่จะไม่ใช้ ประโยชน์ ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่อง - การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ
ขณะโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนั้น โรงเรียนที่จะสร้างขึ้นยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง และยังไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนดังกล่าว จึงเป็นการที่โจทก์ยกให้ที่มีวัตถุประสงค์ชี้ชัดอยู่ในตัวว่าเพื่อให้จำเลยนำที่ดินพิพาทไปใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างโรงเรียน ได้แก่อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ กรณีมิใช่เป็นการสละสิทธิครอบครองด้วยการยกให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ จำเลยย่อมไม่สามารถนำที่ดินพิพาทไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามอำเภอใจ และเมื่อโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่โดยจำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลย แม้คณะกรรมการศึกษาโดยศึกษาธิการอำเภอเคยจ้างรถเกรดมาไถที่ดินพิพาทให้เตียน ก็ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการอื่นใดต่อมาเป็นกิจจะลักษณะที่พอจะแสดงว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท และตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอก็ไม่ได้เข้าไปก่อสร้างหรือทำประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินพิพาทเลย การที่หลังจากจำเลยได้รับงบประมาณสำหรับสร้างโรงเรียนแล้ว จำเลยไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่สร้างโรงเรียน แต่กลับไปสร้างโรงเรียนในที่ดินแปลงอื่นที่ไกลออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งบุคคลอื่นยกให้และมีความเหมาะสมกว่า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าปลูกสร้างอาคารหรือปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับการสร้างโรงเรียนลงในที่ดินพิพาทดังนี้จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้รับเอาที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้ไปสร้างโรงเรียนตามเงื่อนไขของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาภายหลังว่าจำเลยจะสงวนที่ดินพิพาทไว้ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นของโรงเรียนเป็นการฝ่าฝืนต่อความประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์หาได้ไม่ ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วนแต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้นโจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาท จำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืนจำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบมิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอที่ราชพัสดุคืนหลังโอนให้ อบต. และระยะเวลาการนับสิทธิในการขอคืน
โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2522 ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งไม่ใช้บังคับกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดินพิพาทเริ่มเป็นที่ราชพัสดุเมื่อพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 ซึ่งเป็นไปโดยผลของพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 ก่อน การเริ่มนับระยะเวลายื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 3 จึงต้องเริ่มนับเมื่อที่ดินพิพาทมีฐานะเป็นที่ราชพัสดุ และทางราชการมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปีคือภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 โจทก์จึงมีสิทธิยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
of 4