คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนการศึกษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษา: การยุติการศึกษาจากคำสั่งสถาบัน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาการรับทุนเพื่อศึกษาในประเทศกับโจทก์ โดยข้อความในสัญญาดังกล่าวจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้ยุติหรือเลิกการศึกษาเสียเองแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ออกคำสั่งให้จำเลยพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาตามระเบียบของสถาบัน การยุติหรือเลิกการศึกษาไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามข้อบังคับบริษัทกับการชดใช้ทุนการศึกษา – การจงใจฝ่าฝืนสัญญา
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน 1,165,484.92 บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่คำพิพากษาในส่วนนี้ไม่ได้บังคับจำเลยที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งนักวิชาการ 4 ซึ่งตามข้อบังคับของโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นนักเรียนทุนประเภท 1 (ข) และตามข้อ 6 วรรคแรกของข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า "ให้สถาบันทำสัญญาผูกมัดให้พนักงานที่ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยกลับมาปฏิบัติงานตามแผนงานหรือโครงการที่สถาบัน กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเท่าของเวลาที่พนักงานผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างศึกษาฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย" จำเลยได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรียตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 โดยมิได้ทำสัญญาผูกมัดกับโจทก์เพื่อกลับมาชดใช้ทุน ระหว่างที่จำเลยได้รับทุนนั้นโจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนไปให้จำเลยลงชื่อที่ประเทศออสเตรียหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อ กลับยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ดังนี้ โจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนให้จำเลยลงชื่อหลายครั้งแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เพื่ออนุโลมให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่จำเลยกลับไม่ยอมลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์ จำเลยไม่อาจอ้างเหตุที่มิได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุนขึ้นมาปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุน: ทุนการศึกษาต่างประเทศไม่นับรวม
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาจากส่วนราชการให้ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ แม้ขณะนั้นยังคงสถานะเป็นข้าราชการแต่ก็มิใช่เป็นการอยู่รับราชการหรือปฎิบัติหน้าที่ราชการตามความหมายของสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อนับรวมเข้าเป็นระยะเวลาปฎิบัติหน้าที่ราชการใช้ทุนตามสัญญาฉบับก่อนที่ทำไว้ต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนชำระหนี้ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่มีการระงับข้อพิพาทเดิมและก่อให้เกิดสิทธิใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่เดิมและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามสัญญาขึ้นใหม่ ข้อความในหนังสือสัญญาผ่อนชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองที่มีใจความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระเงินค่าผิดสัญญาลาศึกษาของจำเลยที่ 1 โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนอัตราเดือนละ 5,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นการยอมรับผิดใช้ทุนการศึกษาซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันไว้เดิม โดยใช้วิธีชำระครั้งแรกครึ่งหนึ่งและขอผ่อนชำระอีกครึ่งหนึ่ง ไม่มีข้อความระงับข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมเพื่อก่อให้ได้สิทธิขึ้นใหม่ จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษา: การชดใช้คืนทุนและเบี้ยปรับ, สัญญาเหนือกว่าระเบียบ
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนมูลนิธิฟุลไบร์ทไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐ-อเมริกาโดยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งตามสัญญา-ดังกล่าวข้อ 4 ระบุว่า "ในกรณีที่ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) ผิดสัญญา... หรือข้าพเจ้า(จำเลยที่ 1) ไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าจะชดใช้คืนให้แก่ผู้รับสัญญา (โจทก์) ซึ่งทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดทั้งสิ้นที่ข้าพเจ้าได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมนอกจากนี้ข้าพเจ้าจะจ่ายเงินเป็นเบี้ยปรับให้แก่ผู้รับสัญญาอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับเงินที่ข้าพเจ้าจะต้องชดใช้คืน" ข้อความในสัญญาดังกล่าวหมายความว่า กรณีที่จำเลยที่ 1ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนหรือชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มหรือเงินอื่นใดให้แก่โจทก์และเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้เงินเดือนที่ได้รับจากโจทก์รวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1ย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชดใช้คืนทุนที่ได้ใช้จ่ายในการศึกษาให้แก่โจทก์อีก และแม้ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาดูงานในต่างประเทศจะระบุว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ทั้งเงินทุนและเงินเดือนและเงินอื่นใดที่ทางราชการจ่ายให้พร้อมทั้งเบี้ยปรับแก่โจทก์ มิใช่ชดใช้แต่เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม แต่เมื่อมิได้ระบุความดังกล่าวไว้ในสัญญา โจทก์จะอ้างระเบียบมาบังคับให้จำเลยที่ 1ต้องรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา: การบังคับใช้สัญญาเฉพาะเจาะจงเหนือกว่าระเบียบทั่วไป
จำเลยที่1ได้รับทุนมูลนิธิฟุลไบร์ทไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์มีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันซึ่งตามสัญญาดังกล่าวข้อ4ระบุว่า"ในกรณีที่ข้าพเจ้า(จำเลยที่1)ผิดสัญญาหรือข้าพเจ้า(จำเลยที่1)ไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใดๆก็ดีข้าพเจ้าจะชดใช้คืนให้แก่ผู้รับสัญญา(โจทก์)ซึ่งทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและหรือเงินอื่นใดทั้งสิ้นที่ข้าพเจ้าได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมนอกจากนี้ข้าพเจ้าจะจ่ายเงินเป็นเบี้ยปรับให้แก่ผู้รับสัญญาอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับเงินที่ข้าพเจ้าจะต้องชดใช้คืน"ข้อความในสัญญาดังกล่าวหมายความว่ากรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนหรือชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มหรือเงินอื่นใดให้แก่โจทก์และเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเมื่อจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้เงินเดือนที่ได้รับจากโจทก์รวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าให้แก่โจทก์แล้วจำเลยที่1ย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชดใช้คืนทุนที่ได้ใช้จ่ายในการศึกษาให้แก่โจทก์อีกและแม้ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาดูงานในต่างประเทศจะระบุว่าจำเลยที่1จะต้องรับผิดชดใช้ทั้งเงินทุนและเงินเดือนและเงินอื่นใดที่ทางราชการจ่ายให้พร้อมทั้งเบี้ยปรับแก่โจทก์มิใช่ชดใช้แต่เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามแต่เมื่อมิได้ระบุความดังกล่าวไว้ในสัญญาโจทก์จะอ้างระเบียบมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5631/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการค้ำประกันสัญญาทุนการศึกษา: เริ่มนับเมื่อสัญญาครบกำหนดและโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของรัฐบาล ประเทศออสเตรเลีย ภายใต้แผนโคลัมโบเพื่อไปศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีข้อสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องกลับมารับราชการกับโจทก์ หากไม่กลับมายอมคืนเงินค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนทันที โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2512 และโจทก์อนุมัติให้ลาศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอีก 2 ปี หลังจากครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์ตามสัญญา ดังนี้ ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2514 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2532จึงพ้นกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมแล้ว โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาการที่จำเลยที่ 1 ส่งโทรเลขถึงโจทก์ว่า ได้ทราบข้อความในจดหมายแล้วจะกลับมาติดต่อกับโจทก์โดยเร็วนั้น ข้อความในโทรเลขเป็นเพียงการตอบโจทก์ว่าจะติดต่อกับโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ และถือไม่ได้เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยว่ายอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษาและข้อผูกพันชดใช้คืน: ความรับผิดเมื่อผิดสัญญา
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆ รวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษาก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษาต่อนั้นจำเลยที่ 1ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้ เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1ต้องชดใช้คืนโจทก์ในฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาไปศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญาว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั้น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลงอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้ ให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้องอันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง
จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการศึกษาต่อต่างประเทศ แม้ทุนไม่ผ่านโจทก์ ก็ผูกพันจำเลยหากมีเจตนาให้กลับมาใช้ทุน
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆรวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษา ต่อนั้นจำเลยที่ 1 ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่าง ที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนโจทก์ ฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุน และค่าใช้จ่าย ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญา ว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั่น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลง อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรม และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชอบค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้อง อันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเหรียญสหรัฐเมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 2