คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการพิจารณาคำแก้อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระตามฟ้องแก่โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์ และการใช้สัญญากู้เงินเป็นหลักฐาน แม้ระบุสิทธิฟ้องคดีอาญา
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาข้อแรกว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 เป็นนิติกรรมอำพรางการร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยนั้น เป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โดยฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยข้อนี้มาเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาข้อต่อมาว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วย ซึ่งข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนจากสัญญากู้เงินที่เป็นคดีแพ่งให้กลายเป็นคดีอาญา จึงเป็นเอกสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย โจทก์ไม่อาจนำเอกสารหมาย จ.1 มาเป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยได้นั้น เห็นว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ความยินยอมหรือการตกลงกัน ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 จะมีข้อความระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยก็ตาม ก็มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท ที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้ 5,257.16 บาท แล้วทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยจึงต้องคำนวณหักจำนวนหนี้เงินกู้ซึ่งจำเลยไม่โต้แย้งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 35,257.16 บาท ออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8049/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองปรปักษ์มีทุนทรัพย์พิจารณาจากราคาที่ดิน แม้โจทก์อ้างครอบครองนานกว่า 20 ปี
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท โดยทำนาทุกปีด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา แต่ปรากฏตามคำฟ้องว่า จำเลยได้โต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและห้ามโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องอีกต่อไป สภาพแห่งคำฟ้องและคำขอบังคับจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาที่ดินที่พิพาทที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่จำเลยมาเป็นของโจทก์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองหรือความเป็นเจ้าของในที่พิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาท เมื่อมีราคาไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้าม – ผลประโยชน์ร่วมกัน – การคำนวณทุนทรัพย์ – ศาลสั่งรับอุทธรณ์โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบสองร่วมเล่นแชร์วงพิพาท โจทก์ทั้งสิบสองได้ส่งเงินค่างวดให้แก่จำเลยครบตามข้อตกลงรวม 24 เดือน ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 จำเลยได้ขอให้โจทก์ทั้งสิบสองและลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลหยุดส่งเงิน โดยจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินพร้อมดอกแชร์จากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปก่อนแล้วมาชำระให้โจทก์ทั้งสิบสองจนครบ โดยจำเลยแบ่งลูกแชร์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มของโจทก์ 12 คน จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้เดือนละ 18,627.50 บาท เป็นเวลา 26 เดือน ส่วนอีก 25,800 บาท โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและรับผิดชอบเงินจำนวนดังกล่าวเอง โดยให้กลุ่มของโจทก์ทั้งสิบสองจัดการแบ่งเงินแต่ละเดือนกันเอง จำเลยได้นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วส่งให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองถึงเดือนมกราคม 2541 เพียง 13 เดือนเท่านั้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้เรียกเก็บเงินค่างวดจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท โจทก์ทั้งสิบสองทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่เรียกร้อง ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ชำระเงินค่าแชร์ให้โจทก์ทั้งสิบสองครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีพิพาททรัพย์สิน: ทุนทรัพย์และปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสอง แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้ใหญ่บ้านได้รับมอบอำนาจจากองค์การบริหารส่วนตำบลให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองในข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ และโต้แย้งคัดค้านการที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้เป็นการพิพาทกันในตัวทรัพย์คือที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องว่า ที่ดินที่พิพาทมีราคาไม่น้อยกว่า 100,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ทุนทรัพย์แห่งคดีในชั้นฎีกาจึงมีจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับลายมือชื่อในสัญญากู้
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 จึงเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยซึ่งต้องตีความและวินิจฉัยไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง ผลเท่ากับเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อสมถวิล บุญภักดี ผู้กู้ในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 เป็นลายมือชื่อของจำเลย แม้ชื่อตามลายมือชื่อนั้นจะไม่ตรงกับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงของจำเลยคือ ถวิล บุญภักดี ก็ตาม แต่เป็นการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ตามที่ปรากฏในสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์และทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกระทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลกรณีร้องสอด - การโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย - ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นผู้ชนะการประมูลขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ล้มละลาย และได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งได้ชำระราคาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงรับโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยตามคำพิพากษาในคดีนี้ด้วย การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาในคดีก็เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่แล้ว หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ทำให้ผู้ร้องได้ทรัพย์สินใด ๆ เพิ่มเติมขึ้น ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามที่ระบุไว้ในตาราง 2 (3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงเมื่อมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้นจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งคดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพิษณุโลกตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกเสียแล้ว ศาลจังหวัดพิษณุโลกย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงพิษณุโลกซึ่งเป็นศาลที่เขตอำนาจพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย
of 77