พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีทุนทรัพย์น้อย และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเหตุขยายเวลา
ฎีกาของจำเลยแม้เป็นฎีกาคัดค้านในเรื่องของการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ มิใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี ก็ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท แม้เป็นฎีกาคัดค้านการใช้ดุลพินิจ
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี เป็นฎีกาคัดค้านเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 248 เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายได้ หากฎีกาข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า เบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ทั้งมาตรา 380 วรรคสอง ก็ให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไปโดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วยในฐานที่เป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหายเมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นพร้อมเบี้ยปรับแสดงให้เห็นถึงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่กำหนดให้จริง ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ตนชำระค่าเสียหายเป็นค่าซื้อทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ชำระเงินประกันสัญญา และชำระค่าปรับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลซึ่งเป็นฎีกาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: ดอกเบี้ย, ค่าเสียหาย, ค่าทนายความ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า "ถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ"ดังนี้ เมื่อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้กำหนดจำนวน เงินไว้แน่นอนในกรณีจำเลยผู้กู้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีค่าใช้จ่ายในการติดตาม ทวงถามหนี้รายนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ตามข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศ กระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้เมื่อมิใช่เบี้ยปรับเพราะ ตามสัญญากู้ยืมเงินรายนี้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินที่ค้างชำระและต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้ ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่ง ในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า ให้ผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยืมยอมให้ถือว่าผิดนัดในหนี้ทั้งหมดและยอมให้ผู้ให้กู้ยืมฟ้องร้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดผิดสัญญานี้จากผู้กู้ยืมจนครบถ้วนได้ทันที และถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการซึ่งเป็นการตกลงให้จำเลยผู้กู้ต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดและข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6455/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานหลังกำหนดเวลา และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อย
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยหลังจากระยะเวลากำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วโดยอ้างว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยาน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ให้อำนาจไว้เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์เพียง 27,500 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งและมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ตามลำดับ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้น อันเป็นการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6455/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบัญชีระบุพยานหลังพ้นกำหนด & ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยหลังจากระยะเวลากำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคหนึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วโดยอ้างว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88ให้อำนาจไว้เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์เพียง27,500บาทคู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา248วรรคหนึ่งตามลำดับการที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นอันเป็นการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมและการพิจารณาค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท
คดีนี้เป็นคดีที่ผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 ต้องพิจารณาแต่ละคนแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 เรียกร้องว่าเป็นของตนนั้นมีราคาไม่เกิน200,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม ในกรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อศาลเห็นว่าเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ศาลจะเรียกอะไรมาเป็นพยานหลักฐานเพื่อประกอบคดีอีกก็ได้ แม้จะเป็นพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งศาลสั่งงดสืบพยานไปแล้วก็ตาม
คดีนี้ศาลชั้นต้นหยิบยกเหตุผลในคำสั่งว่า หากศาลสูงไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่ตัดพยานผู้ร้อง ก็อาจย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความทุกฝ่าย ฝ่ายผู้คัดค้านที่ได้ทำการสืบพยานไปบ้างแล้วก็ได้สืบพยานอย่างเต็มที่ ทั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ร้องขอครอบครองปรปักษ์อยู่ด้วยผู้ร้องหรือผู้คัดค้านจะนำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลังก็ไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันแต่อย่างใด นอกจากนี้พยานผู้คัดค้านก็ยังสืบไม่เสร็จ ซึ่งผู้คัดค้านมีสิทธินำพยานเข้าสืบได้อีกจนสิ้นกระแสความ ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้านำพยานเข้าสืบได้ภายหลังที่ได้สืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จสิ้น และปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่ผู้คัดค้านทั้งสามถามค้านพยานผู้ร้องทั้งห้าแล้ว แต่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่ติดใจถามค้านเอง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการปฏิบัติไปโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86วรรคสาม
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งสาม เพียงขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบตามคำร้องของผู้ร้องทั้งห้า และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้ายื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมและคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้าสืบพยานหลังจากสืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสามชนะคดีมากกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอาศัยข้ออ้างตามปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ผู้คัดค้านแต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาคนละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ข) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีการวมกันมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่ผู้คัดค้านทั้งสาม
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม ในกรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อศาลเห็นว่าเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ศาลจะเรียกอะไรมาเป็นพยานหลักฐานเพื่อประกอบคดีอีกก็ได้ แม้จะเป็นพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งศาลสั่งงดสืบพยานไปแล้วก็ตาม
คดีนี้ศาลชั้นต้นหยิบยกเหตุผลในคำสั่งว่า หากศาลสูงไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่ตัดพยานผู้ร้อง ก็อาจย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความทุกฝ่าย ฝ่ายผู้คัดค้านที่ได้ทำการสืบพยานไปบ้างแล้วก็ได้สืบพยานอย่างเต็มที่ ทั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ร้องขอครอบครองปรปักษ์อยู่ด้วยผู้ร้องหรือผู้คัดค้านจะนำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลังก็ไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันแต่อย่างใด นอกจากนี้พยานผู้คัดค้านก็ยังสืบไม่เสร็จ ซึ่งผู้คัดค้านมีสิทธินำพยานเข้าสืบได้อีกจนสิ้นกระแสความ ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้านำพยานเข้าสืบได้ภายหลังที่ได้สืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จสิ้น และปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่ผู้คัดค้านทั้งสามถามค้านพยานผู้ร้องทั้งห้าแล้ว แต่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่ติดใจถามค้านเอง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการปฏิบัติไปโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86วรรคสาม
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งสาม เพียงขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบตามคำร้องของผู้ร้องทั้งห้า และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้ายื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมและคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้าสืบพยานหลังจากสืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสามชนะคดีมากกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอาศัยข้ออ้างตามปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ผู้คัดค้านแต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาคนละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ข) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีการวมกันมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่ผู้คัดค้านทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องและเจตนาครอบครอง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเข้าไปปั้นคันนาในที่พิพาทแล้วออกไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับที่พิพาทอีก ระยะเวลาหลังจากนั้นมาจึงมิใช่การครอบครองหรือแย่งการครอบครองตามกฎหมาย แม้ต่อมาจำเลยจะเข้าไปตัดฟันต้นชาด จำเลยก็ไม่ได้ครอบครองต่อเนื่องนับจากเข้าไปปั้นคันนา จำเลยมีเจตนารบกวนเพื่อให้โจทก์ดำเนินคดี แต่มิใช่เจตนาครอบครองที่พิพาทเพื่อตน ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองตามกฎหมาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการในการว่าต่างคดี และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
อ.เป็นพนักงานอัยการ มีอำนาจที่จะรับว่าต่างคดีให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาได้ตาม พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(5)และอ.ได้รับเป็นทนายความว่าต่างให้โจทก์แล้วตามใบแต่งทนายความในสำนวนคดีนี้ อ.จึงมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมทั้งการเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้โดย ไม่จำต้องระบุถึงฐานะเช่นนั้นในช่องผู้เรียกคำฟ้องอีก จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าฉาง และค่ากรรมกรขนข้าวเปลือกจากโจทก์มากกว่าจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง หรือขอให้ใช้ราคาทรัพย์และค่าเสียหายเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่ส่งมอบ มิใช่เป็นการอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง