พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในคดีแพ่ง: การแบ่งแยกค่าเสียหายและข้อจำกัดการฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ขับขี่และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นั่งซ้อนท้าย จนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้โจทก์ทั้งสามได้รับค่าเสียหายรวมกันมาเป็นจำนวน 254,000 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ จะเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคนได้ นำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว โดยส่วนของโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 40,000 บาท ส่วนของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้รับคนละ 90,000 บาท เมื่อทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสามแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เนื่องจากทุนทรัพย์ชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับจากจำเลยทั้งสามนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาทฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การแบ่งแยกค่าเสียหายในคดีละเมิด
แม้ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดเป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งสองรวมกันจำนวน 200,000 บาท นั้น เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคนได้ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง เมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งเป็นเงินคนละ 100,000 บาท และนำไปรวมกันค่าเสียหายที่เป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาทแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนจึงไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในคดีละเมิดร่วมกัน: การแบ่งแยกค่าเสียหายเพื่อคำนวณทุนทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดตามคำพิพากษาเป็นค่าปลงศพมีจำนวน 50,000 บาท แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่กำหนดให้โจทก์ทั้งสองได้รับรวมกันมาจำนวน 200,000 บาท นั้น เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง เมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งเป็นเงินคนละ 100,000 บาท และนำไปรวมกับค่าเสียหายที่เป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาทแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาท, อายุความ, การอุทธรณ์, ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จะต้องคำนวณจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง โดยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับแชร์วงแรก มีจำนวน 42,787.23 บาท ต้องถือว่าอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับแชร์วงแรกเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับแชร์วงแรกเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนอุทธรณ์ในดอกเบี้ยค้างชำระเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง เพราะหนี้ประธานต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับแชร์วงแรก การที่โจทก์เพียงยื่นคำแก้ฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาใหม่ โดยพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 บังคับให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่มีผลเป็นการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นดังกล่าว คดีสำหรับแชร์วงแรกจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา หนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความแล้ว นั้น เห็นว่า จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าแชร์วงที่สองจัดตั้งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2532 แล้วแชร์ล้มก่อนครบกำหนด โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยนับแต่แชร์ล้ม แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความซึ่งมีกำหนด 5 ปี คำให้การของจำเลยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าหนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระขาดอายุความ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองนั้นชอบแล้ว
ยอดหนี้ค่าแชร์วงที่สองของโจทก์จำนวนสามหุ้นกับดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องคำนวณยอดเงินได้ 119,547.50 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์เพียง 118,566.16 บาท เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาและกรณีมิใช่การผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
จำเลยฎีกา หนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความแล้ว นั้น เห็นว่า จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าแชร์วงที่สองจัดตั้งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2532 แล้วแชร์ล้มก่อนครบกำหนด โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยนับแต่แชร์ล้ม แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความซึ่งมีกำหนด 5 ปี คำให้การของจำเลยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าหนี้ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งเกินกว่า 5 ปี ขาดอายุความเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระขาดอายุความ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างชำระสำหรับแชร์วงที่สองนั้นชอบแล้ว
ยอดหนี้ค่าแชร์วงที่สองของโจทก์จำนวนสามหุ้นกับดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องคำนวณยอดเงินได้ 119,547.50 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์เพียง 118,566.16 บาท เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาและกรณีมิใช่การผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างชำระจำนวน 423,933.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยค้างชำระอยู่ 353,333.50 บาท เท่านั้น คดีของจำเลยจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเพียง 70,600 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละราย ทำให้การอุทธรณ์ในส่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 บาท ต้องห้ามตามกฎหมาย
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกรายสิทธิประกันภัย, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ, ความรับผิดของผู้ขนส่ง
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ส่งผลให้ฎีกาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษราคา 15,000 บาท ตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้อง และแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ตามฟ้องโจทก์ และมีราคาไร่ละ 6,000 บาท ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาทตามฟ้องโจทก์ คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกา, อายุความมรดก, การครอบครองแทนทายาท
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกเนื้อที่ 119.45 ตารางวา ราคา1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้า แม้จะฟ้องรวมกัน มาโดยมิได้ระบุส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับในคำฟ้องเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์แต่ละคนที่จะได้รับมรดกมีจำนวนเพียง คนละ 23.89 ตารางวา ราคา 200,000 บาท ดังนั้น ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันคือคนละ 200,000 บาทเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล. เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนไม่ได้ครอบครองแทน ล. ล. ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล. นำคดีมาฟ้องคดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่นมิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7195/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เยาว์, การแก้ไขข้อบกพร่อง, และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงเมื่อมีทุนทรัพย์พิพาทจำกัด
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่่มีอำนาจฟ้องปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ คดีนี้เป็นคดีละเมิดมิใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534ดังนั้นเมื่อมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของโจทก์ที่2ถึงที่7ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในคดีนี้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องโดยตั้งโจทก์ที่1เป็นผู้แทนเฉพาะคดีให้แก่โจทก์ที่2ถึงที่7ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56วรรคสุดท้าย โดยโจทก์ที่1ไม่จำต้องขออำนาจในการดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ที่2ถึงที่7จากศาลเยาวชนและครอบครัว คดีนี้โจทก์ทั้งแปดต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2ที่3และที่4ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่2ที่3และที่4ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง