พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เริ่มนับจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ ไม่ใช่วันที่แพทย์ประเมิน
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ โจทก์ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพในเรื่องเงินทดแทนการขาดรายได้นั้นเป็นไปตามมาตรา 71ส่วนกรณีใดจะเป็นกรณีทุพพลภาพนั้นเป็นไปตามมาตรา 5
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุพพลภาพถาวรและการแจ้งให้บริษัทประกันทราบ การพิสูจน์เหตุจำเป็นไม่ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
คำว่า "ทุพพลภาพ" หมายถึง หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติ โจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์ และต้องพูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์ การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสีย ไม่ได้ยินเสียง โจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไป ถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่า โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่า โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุพพลภาพถาวรและการบอกกล่าวเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การตีความสัญญาประกันภัย และข้อยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไข
คำว่า "ทุพพลภาพ" หมายถึง หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติ โจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์ และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์ การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสีย ไม่ได้ยินเสียง โจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไป ถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากการสูญเสียการได้ยิน และข้อยกเว้นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่ต้องอาศัยการฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบการซ่อมรถและพูดคุยกับลูกค้าเมื่อประสบอุบัติเหตุทำให้ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถในการประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือว่าโจทก์ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงตามสัญญาแล้วหาจำต้องเป็นกรณีขาดกำลังที่จะประกอบการงานถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพหน้าที่การงานใดๆในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นได้โดยสิ้นเชิงไม่ ข้อสัญญาตกลงกันว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันภัยต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการ ทุพพลภาพดังกล่าวเป็น ลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรจึงไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"มิได้กำหนดโดยเคร่งครัดว่าต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีโจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตัวเองแต่ ไม่ได้ทำ เป็นหนังสือเพราะใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้และจำเลยได้รับคำ บอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าไม่ติดใจให้โจทก์แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุพพลภาพถาวรและข้อยกเว้นการแจ้งลายลักษณ์อักษรตามสัญญาประกันภัย
คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุและการแจ้งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยคำนึงถึงเหตุจำเป็น
คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลละเมิด-ค่าเสียหาย-ดอกเบี้ย-ค่าทนายความ: กรณีรถชน-บาดเจ็บ-ทุพพลภาพ-กำหนดค่าเสียหายเหมาะสม
ข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์ของจำเลยทุกคันที่จอดไว้ที่ซอยหน้าโรงงานของจำเลยในช่วงเวลากลางวัน เมื่อเลิกงานแล้วจะต้องนำเข้าไปเก็บในโรงงาน ธ. ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้รับมอบกุญแจรถจาก ส. ยามประตูโรงงานผู้มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจรถยนต์ของจำเลย ในช่วงเวลาที่โรงงานจำเลยเลิกงานตามปกติแล้ว และ ธ. ขับรถคันดังกล่าวซึ่งจอดอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงงานนำไปที่ด้านข้างโรงงาน โดยมิได้ขับไปที่อื่นใดหรือขับไปเที่ยวเล่นเพราะในช่วงนั้นเป็นเวลาที่จะต้องนำรถไปเก็บไว้ภายในโรงงาน ดังนี้ เมื่อ ธ. ขับรถไปชนโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ย่อมถือ ได้ว่า ธ. ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย
โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใด ค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร
โดยปกติการนำผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลย่อมจะส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด เพื่อให้มีการรักษาพยาบาลรวดเร็วและทันท่วงที เมื่อโรงพยาบาลเอกชนอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่สุด และขณะเกิดเหตุมีผู้อื่นนำโจทก์ที่ 2 ซึ่งอยู่ในอาการช็อคส่งโรงพยาบาลดังกล่าวโดยไม่มีทางเลือกโรงพยาบาลอื่นใดได้อีก เช่นนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองได้เสียค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนั้นไปเพียงใด ค่ารักษาพยาบาลจำนวนนั้นจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเต็มจำนวน แม้ค่ารักษาพยาบาลจะแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐก็ตาม
ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก
อัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ศาลพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น ตามอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงแห่งทุนทรัพย์ เมื่อศาลเห็นว่าคดีมีข้อยุ่งยากต้องใช้เวลามาก ทนายความทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติงานนานและใช้เวลามิใช่น้อย และคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะเต็มตามฟ้อง ในทุนทรัพย์ 700,000 บาท และกำหนดค่าทนายความในอัตรา ร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าอัตราขั้นสูงตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่นับว่า สูงเกินสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: เกณฑ์การพิจารณาอาการบาดเจ็บเกิน 20 วัน
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปีครึ่ง กระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายไม่ถึงขั้นทุพพลภาพหรือวิกลจริต: ความรับผิดตามมาตรา 338 เท่านั้น
เตะเขาล้มลงสิ้นสติไปชั่วครู่นั้น ยังไม่ถึงบาดเจ็บทุพพลภาพ หรือวิกลจริตดังที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 254 จึงมีผิดฐานทำร้ายร่างกายไม่ถึงบาดเจ็บตามมาตรา 338(3) เท่านั้น.
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายไม่ถึงขั้นทุพพลภาพหรือวิกลจริต ความผิดตามมาตรา 338(3) เท่านั้น
เตะเขาล้มลงสิ้นสติไปชั่วครู่นั้น ยังไม่ถึงบาดเจ็บทุพพลภาพ หรือวิกลจริตดังที่บัญญัติไว้ใน กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 254 จึงมีผิดฐานทำร้ายร่างกายไม่ถึงบาดเจ็บตามมาตรา338(3) เท่านั้น