พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากศาลฎีกายังไม่อนุญาตทุเลาการบังคับคดี
การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง แม้ผู้คัดค้านจะได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว แต่เมื่อศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหรืองดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: เริ่มนับจากคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ไม่มีการขอทุเลา
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใดก็ตามแต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้แล้วแต่กรณีดังนั้นกรณีที่มีการฎีการะยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีค้าง: แม้มีอุทธรณ์ ก็ต้องชำระก่อนหากไม่ได้รับการทุเลา
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้วจะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่ โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีจากการทุเลาการชำระภาษี และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับคดีหลังศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตทุเลา และเงื่อนไขการงดการขายทอดตลาด
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีแล้วการดำเนินการบังคับคดีย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้น และเมื่อศาลชั้นต้นยึดทรัพย์ของจำเลยมาและขายทอดตลาด จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อนการจะงดการขายทอดตลาดหรือไม่ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบังคับคดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งคำร้องของจำเลยได้
โดยหลักทั่วไป เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีอันจำเลยจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมมีผลให้จำเลยต้องปฏิบัติตามแม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่จำเลยจะได้ยื่นอุทธรณ์และดำเนินการตามวิธีใดวิธีหนึ่งในมาตรา 231 คือขอทุเลาการบังคับคดีหรือวางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีหรือได้หาประกันมาให้สำหรับจำนวนเงินเช่นว่านี้ จนเป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นซึ่งจะเป็นผลให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้
จำเลยมิได้วางเงินหรือหาประกันมาให้แต่ได้ยื่นขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 231 มาตรา 231วรรคท้าย เป็นเรื่องที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดศาลย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตามมาตรา 231 วรรคท้าย ได้ เมื่อกรณีจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 231 วรรคท้าย เพราะจำเลยมิได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีจำเลยจึงขอให้งดการขายทอดตลาดตามมาตรา 231 วรรคท้าย ไม่ได้
โดยหลักทั่วไป เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีอันจำเลยจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมมีผลให้จำเลยต้องปฏิบัติตามแม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่จำเลยจะได้ยื่นอุทธรณ์และดำเนินการตามวิธีใดวิธีหนึ่งในมาตรา 231 คือขอทุเลาการบังคับคดีหรือวางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีหรือได้หาประกันมาให้สำหรับจำนวนเงินเช่นว่านี้ จนเป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นซึ่งจะเป็นผลให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้
จำเลยมิได้วางเงินหรือหาประกันมาให้แต่ได้ยื่นขอทุเลาการบังคับคดีต่อศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 231 มาตรา 231วรรคท้าย เป็นเรื่องที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดศาลย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตามมาตรา 231 วรรคท้าย ได้ เมื่อกรณีจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 231 วรรคท้าย เพราะจำเลยมิได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีจำเลยจึงขอให้งดการขายทอดตลาดตามมาตรา 231 วรรคท้าย ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม แม้มีการฟ้องคดีขอทำลายสัญญายอมแล้ว ก็มิอาจทุเลาการบังคับคดีได้
ศาลได้พิพากษาตามที่โจทก์จำเลยยอมความกันให้ขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าของโจทก์ ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยจึงถูกขับไล่ตามคำพิพากษานั้นด้วย ผู้ร้องฎีกาคำสั่งที่ให้ขับไล่ และขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ทุเลา บัดนี้ผู้ร้องอ้างว่าได้ฟ้องโจทก์,จำเลยต่อศาลขอให้ทำลายสัญญายอมนั้นแล้ว จึงขอให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเหตุผลที่ผู้ร้องอ้างไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม แม้มีการฟ้องคดีขอทำลายสัญญายอมแล้ว ก็มิอาจทุเลาการบังคับคดีได้
ศาลได้พิพากษาตามที่โจทก์จำเลยยอมความกันให้ขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าของโจทก์ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยจึงถูกขับไล่ตามคำพิพากษานั้นด้วยผู้ร้องฎีกาคำสั่งที่ให้ขับไล่ และขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ทุเลาบัดนี้ผู้ร้องอ้างว่าได้ฟ้องโจทก์จำเลยต่อศาลขอให้ทำลายสัญญายอมนั้นแล้ว จึงขอให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเหตุผลที่ผู้ร้องอ้างไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14654-14655/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมเป็นที่สุด การบังคับคดี และการขอทุเลา/งดบังคับคดี
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง และศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามนั้นแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งจำเลยสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ จำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามยอมนั้น ตามมาตรา 229 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยหาได้อุทธรณ์ไม่ กลับยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขข้อสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีความมุ่งหมายให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าไม่อาจใช้บังคับได้ ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมอันไม่อาจกระทำได้โดยศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความก็หาใช่เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของมาตรา 138 วรรคสอง ที่จำเลยจะอุทธรณ์ได้ไม่ อีกทั้งต่อมาศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเห็นพ้องด้วยในผลกับศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย และปัญหาดังกล่าวได้ยุติไปแล้วโดยศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลยคำพิพากษาคดีนี้จึงเป็นที่สุดแล้ว ปัญหาข้อโต้แย้งด้วยวิธีต่าง ๆ ของจำเลย หาได้ทำให้คำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้วกลับมาไม่เป็นที่สุดตามที่จำเลยเข้าใจแต่อย่างใดไม่
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาและขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมจำเลยซึ่งจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีได้ ทั้งเมื่อคำพิพากษาตามยอมเป็นที่สุดและไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีกับจัดให้มีวิธีคุ้มครองชั่วคราวโดยระงับการออกหมายจับจำเลยและบริวารไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาและขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมจำเลยซึ่งจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีได้ ทั้งเมื่อคำพิพากษาตามยอมเป็นที่สุดและไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีกับจัดให้มีวิธีคุ้มครองชั่วคราวโดยระงับการออกหมายจับจำเลยและบริวารไว้ก่อนตามคำร้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีอาญา: ศาลไม่รับคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีและฎีกา กรณีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำลำน้ำ
คดีนี้เป็นคดีอาญาที่ถึงที่สุดแล้ว ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษปรับกับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและอาคารที่ก่อสร้างล่วงล้ำลำน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตภายใน 60 วัน นับแต่มีคำพิพากษา โทษที่ลงแก่จำเลยเป็นโทษทางอาญาและเมื่อคดีถึงที่สุด ต้องมีการบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในภาค 6 แห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและอาคารที่ก่อสร้างล่วงล้ำลำน้ำโดยอ้างถึงคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 32/2560 มีผลเท่ากับเป็นการของดการบังคับโทษทางอาญาอันเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้น จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องดังกล่าว ทั้งกรณีมิใช่เป็นเรื่องของการบังคับคดีส่วนแพ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 247 ที่ต้องขออนุญาตฎีกา ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขออนุญาตฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ