พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าในการสร้างท่าเทียบเรือขยายพื้นที่เกินสัญญาเดิม ผู้รับโอนที่ดินไม่ต้องรับผิดชอบ
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายใน เขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้นมิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้าง ท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ให้เช่าจะต้อง ยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ. ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองให้โจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาตกรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ ก็เป็นการเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้นกว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิมแม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเอง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้กระทำนอกเหนือไปจากสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยประมาทเลินเล่อไม่ดูแลรักษาท่าเทียบเรือ ทำให้สะพานหัก โป๊ะคว่ำ ผู้โดยสารเสียชีวิต จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหม
จำเลยผู้เดียวเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากท่าเรือสี่พระยาขณะเกิดเหตุเรือของจำเลยกำลังเข้าเทียบท่าเพื่อรับคนโดยสารได้มีผู้โดยสารลงไปที่โป๊ะจำนวนมากทำให้สะพานไม้ที่ทอดไปสู่โป๊ะหักเป็นเหตุให้โป๊ะคว่ำจมน้ำบุตรโจทก์ซึ่งรอโดยสารเรือของจำเลยที่โป๊ะจมน้ำตายการตายของบุตรโจทก์เป็นผลโดยตรงของการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคงปล่อยให้สะพานไม้ที่ทอดสู่โป๊ะหักจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจเทศบาลในการออกเทศบัญญัติเกี่ยวกับท่าเทียบเรือเอกชน และการจำกัดสิทธิโดยเทศบัญญัติ
เทศบัญญัติของเทศบาลเมืองตะกั่วป่าเรื่องสพานท่าเทียบเรือสาธารณ 2493 ลงวันที่ 4 ม.ค.2494 ข้อ 6 ป.วิธีพิจารณาแพ่ง ม.142(5)
ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัยก็ได้
เทศบาลจะมีอำนาจตราเทศบัญญัติเรื่องสพานท่าเทียบเรือสาธารณะได้ก็แต่ภายในขอบเขตต์อำนาจของตนโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
พ.ร.บ. เทศบาล 2486 มาตรา 70 เพียงแต่ให้อำนาจเทศบาลกระทำกิจการใด ๆ ภายในเขตต์เทศบาลเช่นให้มี ฯลฯ ท่าเทียบเรือ ฯลฯเท่านั้น ดังนี้ เทศบาลไม่มีอำนาจออกเทศบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างหรือทำให้เกิดสิ่งกีดขวางขึ้นลงและไปมาในเขตต์ท่าของเทศบาลภายในรัศมี 500 เมตร ดังนี้แม้จำเลยจะได้ปลูกสร้างท่าเทียบเรือขึ้นภายในรัศมีดังกล่าว ก็ไม่ผิดเพราะเทศบัญญัตินั้นไม่มีผลใช้บังคับ
ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัยก็ได้
เทศบาลจะมีอำนาจตราเทศบัญญัติเรื่องสพานท่าเทียบเรือสาธารณะได้ก็แต่ภายในขอบเขตต์อำนาจของตนโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
พ.ร.บ. เทศบาล 2486 มาตรา 70 เพียงแต่ให้อำนาจเทศบาลกระทำกิจการใด ๆ ภายในเขตต์เทศบาลเช่นให้มี ฯลฯ ท่าเทียบเรือ ฯลฯเท่านั้น ดังนี้ เทศบาลไม่มีอำนาจออกเทศบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างหรือทำให้เกิดสิ่งกีดขวางขึ้นลงและไปมาในเขตต์ท่าของเทศบาลภายในรัศมี 500 เมตร ดังนี้แม้จำเลยจะได้ปลูกสร้างท่าเทียบเรือขึ้นภายในรัศมีดังกล่าว ก็ไม่ผิดเพราะเทศบัญญัตินั้นไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจเทศบาลในการออกเทศบัญญัติเกี่ยวกับท่าเทียบเรือและสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยก็ได้
เทศบาลจะมีอำนาจตราเทศบัญญัติเรื่องสะพานท่าเทียบเรือสาธารณะได้ก็แต่ภายในขอบเขตอำนาจของตนโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
พระราชบัญญัติเทศบาล 2486 มาตรา 70 เพียงแต่ให้อำนาจเทศบาลกระทำกิจการใดๆ ภายในเขตเทศบาลเช่นให้มี ฯลฯ ท่าเทียบเรือ ฯลฯ เท่านั้นดังนี้เทศบาลไม่มีอำนาจออกเทศบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างหรือทำให้เกิดสิ่งกีดขวางขึ้นลงและไปมาในเขตท่าของเทศบาลภายในรัศมี 500 เมตรดังนี้แม้จำเลยจะได้ปลูกสร้างท่าเทียบเรือขึ้นภายในรัศมีดังกล่าว ก็ไม่ผิดเพราะเทศบัญญัตินั้นไม่มีผลใช้บังคับ
เทศบาลจะมีอำนาจตราเทศบัญญัติเรื่องสะพานท่าเทียบเรือสาธารณะได้ก็แต่ภายในขอบเขตอำนาจของตนโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
พระราชบัญญัติเทศบาล 2486 มาตรา 70 เพียงแต่ให้อำนาจเทศบาลกระทำกิจการใดๆ ภายในเขตเทศบาลเช่นให้มี ฯลฯ ท่าเทียบเรือ ฯลฯ เท่านั้นดังนี้เทศบาลไม่มีอำนาจออกเทศบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างหรือทำให้เกิดสิ่งกีดขวางขึ้นลงและไปมาในเขตท่าของเทศบาลภายในรัศมี 500 เมตรดังนี้แม้จำเลยจะได้ปลูกสร้างท่าเทียบเรือขึ้นภายในรัศมีดังกล่าว ก็ไม่ผิดเพราะเทศบัญญัตินั้นไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเรือชนท่าเทียบเรือ: ความรับผิดชอบของผู้กระทำละเมิดและผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ
เมื่อจำเลยที่ 4 ผู้ควบคุมเรือเพ็นนินซูล่าซึ่งมีหน้าที่ตรวจนับสินค้าและผูกโยงเชือกเรือไม่สามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของเรือดังกล่าวได้เองต้องแล่นไปตามที่เรือยนต์จินดา 95 ลากจูงไปที่มี น. เป็นผู้ควบคุม จำเลยที่ 4 จึงไม่ใช่ผู้ควบคุมเรืออันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 437 ผู้ควบคุมเรืออันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลขณะเกิดเหตุคือ น. ซึ่งขับเรือยนต์จินดา 95 ลากเรือลำเลียงเพ็นนินซูล่า เข้าไปในระยะกระชั้นชิดใกล้กับสะพานของท่าเทียบเรือ และเลี้ยวกลับเป็นเหตุให้เรือลำเลียงเพ็นนินซูล่ากระแทกเสาและคานของท่าเรือ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของ น. โดยตรง และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที จำเลยที่ 4 ไม่อาจช่วยเหลือหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุได้ จำเลยที่ 4 มิได้มีส่วนประมาท จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434-3440/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยควบคุมความปลอดภัยท่าเทียบเรือทำให้เกิดเหตุจมน้ำ เสียชีวิตและบาดเจ็บ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชดใช้
จำเลยที่ 3 เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ การขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 89 (3) (6) (8) (9) และ (20) แม้จะให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกชนเช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งมอบท่าเทียบเรือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวมทั้งควบคุมความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่ประชาชนผู้มาใช้ท่าเทียบเรือและโป๊ะเทียบเรือ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมาย การปิดป้ายประกาศไว้เพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจป้องกันและควบคุมประชาชนจำนวนมากที่ต้องการใช้บริการเรือด่วนไม่ให้ลงไปอยู่บนโป๊ะเทียบเรือได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอ้างการปิดป้ายประกาศดังกล่าวมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดได้