คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคารพาณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้เป็นสถาบันการเงินก็ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
แม้ว่าโจทก์จะเป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 ก็ตาม แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดด้วย ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์นั้น โจทก์ได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็นสองอัตรา คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ปฏิบัติผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเลยจึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ อันเป็นการต้องห้าม ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) จึงตกเป็นโมฆะ
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่า เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลใน ข้อ. 1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,150,253.55 บาท แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 กับที่ 5 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 558,543.32 บาท แก่โจทก์ เมื่อรวมจำนวนเงินทั้งสองจำนวนแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,708,796.87 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์ การคิดดอกเบี้ยโมฆะ
โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกันวันที่ 13 มกราคม 2535 ส่วนประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2535 จึงไม่ใช่ประกาศที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใดที่ให้สิทธิโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์จะเป็นธนาคารพาณิชย์มิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินโดยไม่ปรากฏว่ามีประกาศของโจทก์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงเป็นปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีในสัญญากู้ยืมเงินจึงตกเป็นโมฆะ
เงินที่จำเลยได้ชำระมาและโจทก์นำไปหักดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงเป็นต้นเงินตามรายการในการ์ดบัญชี เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุโมฆะแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยได้ จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาจึงต้องนำไปหักต้นเงินอย่างเดียว และไม่เป็นการชำระดอกเบี้ยอันไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ ธปท. กำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ มิได้ขัดต่อกฎหมาย
มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 บัญญัติว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้? (2) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ การที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยและส่วนลดจากลูกค้าทุกประเภทได้เองก็เพื่อความคล่องตัวของระบบธนาคารพาณิชย์ตามภาวะขึ้นลงของเศรษฐกิจในขณะนั้นอันจะก่อให้เกิดความมั่นคงและเป็นหลักประกันแก่การประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ทั้งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ข้อ 4 ยังกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งประกาศเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 3 วัน เพื่อควบคุมไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศตามอำเภอใจ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้วิธีหนึ่งตามที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ให้อำนาจไว้ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และการกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้
พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) จึงเป็นโมฆะ
ตามสัญญากู้ยืมเงินระบุให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 4 ของทุกเดือน แต่เมื่อจำเลยผ่อนชำระหลังวันที่ 4 ของเดือน โจทก์ก็รับชำระหนี้โดยไม่มีการทักท้วง แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้ 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยรับหนังสือทวงถามวันที่ 27 ตุลาคม 2541 ครบ 7 วัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดวันผิดนัดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา: ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของตนเอง
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ขณะจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการอำนวยสินเชื่อไว้สำหรับสินเชื่อสำหรับบุคคลทั่วไปว่า 1.1 กรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี และ 1.2 กรณีเกินวงเงิน/ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กรณีของจำเลยอยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ 1.1 แต่ในสัญญากู้ยืมเงินระบุดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในชั้นพิจารณาของศาลพนักงานฝ่ายสินเชื่อและเร่งรัดหนี้สินของโจทก์เบิกความยืนยันว่าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ในการคิดอัตราดอกเบี้ยมิได้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่การคิดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งโจทก์ได้ออกประกาศดอกเบี้ยและส่วนลดตามอัตราดอกเบี้ยแต่ละกรณี ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) จึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซ็นต์โดยธนาคารพาณิชย์ และความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ 2522 มาตรา 31
ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ป.และบริษัท ส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัด ป.และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัท ป.และบริษัท ส.จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองดังกล่าว
แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินและทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์
จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขายที่ดินให้แก่บริษัท ร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย การที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่โจทก์ฟ้องบริษัท ป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและบริการทางการเงินเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การจัดประเภทภาษีการค้า
โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยโจทก์จะออกบัตรเครดิตของโจทก์ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ว่าจะรับบัตรเครดิตของโจทก์แทนการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยให้ผู้ใช้บัตรเครดิตลงลายมือชื่อไว้ในใบบันทึกการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แล้วสถานธุรกิจดังกล่าวจะนำใบบันทึกดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากโจทก์ โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนในบันทึกให้แก่สถานธุรกิจโดยหักส่วนลดไว้ร้อยละ 3 ถึง 3.5 จากนั้นโจทก์จะไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการตามใบบันทึกจากสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิต หากสมาชิกไม่ชำระเงินให้โจทก์ภายในกำหนดเวลา โจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระจนกว่าสมาชิกจะชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับสมาชิกผู้ถือบัตร หากโจทก์เก็บเงินจากสมาชิกไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิไปไล่เบี้ยหรือเรียกคืนจากสถานธุรกิจ ดังนี้ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับเก็บหนี้สินแทนสถานธุรกิจ หากแต่เป็นเรื่องที่สถานธุรกิจโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้แก่โจทก์โดยโจทก์ใช้เงินทุนของโจทก์ในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือค่าบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เอง มิใช่รับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น รายรับของโจทก์จากกิจการดังกล่าวคือรายรับจากส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการตามบัตรเครดิต จึงมิใช่รายรับจากการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากรในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน แต่ปรากฏว่าธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ธนาคารหลายแห่งประกอบอยู่เป็นปกติ จึงถือได้ว่าการประกอบธุรกิจของโจทก์เป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร
โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงิน เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้ โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษี-การค้าตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน
โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่าง ๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัท อ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสัญญารับมอบสินค้าเชื่อ (ทรัสต์รีซีท) ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแม้โจทก์กล่าวถึงสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ทำกับโจทก์ก็เป็นเพียงการเท้าความให้เห็นถึงความเป็นมาของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อเท่านั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่เกี่ยวกับสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตออกจึงไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีและความรับผิดของจำเลยที่1เปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงชอบแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ที่ทำกับโจทก์มีจำเลยที่1ทำสัญญาค้ำประกันไว้และกล่าวถึงรายละเอียดของสัญญารับมอบสินค้าเชื่อตลอดจนภาระหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.และจำเลยที่1จะต้องร่วมกันรับผิดไว้ครบถ้วนคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดว่าเล็ตเตอร์ออฟเครดิตแต่ละฉบับเลขที่เท่าใดจำนวนเงินเท่าใดและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อแต่ละฉบับเกี่ยวกับเล็ตเตอร์ออฟเครดิตฉบับใดนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผู้ขายส่งสินค้ามาประเทศไทยพร้อมกับส่งตั๋วแลกเงินและเอกสารกำกับสินค้าให้แก่ธนาคารตัวแทนของโจทก์ในต่างประเทศเพื่อส่งมาให้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.ไม่มีเงินชำระค่าสินค้าจึงทำสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทไว้แก่โจทก์เพื่อขอให้โจทก์มอบเอกสารต่างๆให้จะได้นำไปออกสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปจำหน่ายและนำเงินค่าสินค้ามาชำระให้โจทก์โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์คงเป็นเจ้าของสินค้าและห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.จะทำการขายสินค้าในฐานะตัวแทนโจทก์สัญญารับมอบสินค้าเชื่อดังกล่าวจึงเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของสินค้าการครอบครองสินค้าของโจทก์จึงไม่ใช่การครอบครองในลักษณะจำนำการที่โจทก์มอบเอกสารกำกับสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. เพื่อนำไปออกสินค้าจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อระงับไป สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีทเป็นธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์มาตรา9ทวิ โจทก์ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ.เมื่อปี2523โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าสินค้าแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้แก่โจทก์ได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินค้าซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่26พฤษภาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าขายธนาคารพาณิชย์
ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกค้า ข้อ 2 มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอกรายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ 6 มีข้อความว่า การถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ 11 มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๆที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนให้ธนาคาร พร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไปข้อ 17 มีข้อความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ 20 มีข้อความว่า ให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึงการฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนี้ด้วย และธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควรดังนี้ แสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์แล้ว ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาคอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ได้ตามประเพณีการค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเข้าข่ายเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ก. หลายครั้งหลายช่วงเวลาและการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกันหรือส่งเงินตราไปนอกราชอาณาจักร โจทก์มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบการค้าดังกล่าวตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2.
of 5