คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธรณีสงฆ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ การโอนที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายเป็นโมฆะ
เจ้าของเดิมอุทิศที่ดินให้แก่วัดโจทก์ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 คือ โอนกรรมสิทธิ์โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้มีการทำนิติกรรมและจดทะเบียนโอนต่อกันมาหลายทอดจนถึงจำเลย เมื่อมิได้กระทำตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จึงเป็นการโอนที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยออกจากที่ดินซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ได้ โดยหาจำต้องฟ้องเจ้าของเดิมและผู้รับโอนคนก่อนจำเลยไม่ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกตกเป็นสมบัติของวัด: นิติกรรมโอนขายที่ดินธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ
พระภิกษุ ส. ได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่วัดจำเลยร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส. จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดกให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย
แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วม แม้จะ โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมย่อมเสียเปล่ามาแต่แรก โดยศาลไม่จำเป็นต้องเพิกถอน และโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดเมื่อมรณภาพ การโอนขายธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทพระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส.จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดก ให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทในฐานะ ผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33(2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วมแม้โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หากจำเลยที่ 2ได้นำที่พิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นธรณีสงฆ์ของวัด โจทก์ขอสิทธิครอบครองมิได้ การพัฒนาพื้นที่เป็นอำนาจหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้วแม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรองโดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมายล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมายล.1 และ ล.8 จึงรับฟังได้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลูกสร้างบนที่ธรณีสงฆ์ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น
วัดจำเลยโดยพระอธิการ ช.เจ้าอาวาส ได้ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้ลงทุนปลูกสร้างอาคารในที่ธรณีสงฆ์ มีสาระสำคัญว่า เมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่างๆตามสัญญาเสร็จแล้วให้กรรมสิทธิ์ในอาคารต่างๆ ที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทันที และให้โจทก์มีสิทธิเช่าอาคารต่าง ๆ จากจำเลยเป็นระยะเวลา30 ปี ต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ ดังนี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่าการกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเณรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ใช่เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ และอาคารต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่าหากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะมีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่าอาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างก็ทราบดี เพราะมีข้อสัญญาระบุว่าตกลงจะชำระเงินให้จำเลยเป็นการตอบแทนจำนวน 1,200,000 บาท ในวันที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบสัญญานี้ เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ตามกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถจะนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ แม้จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ และไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ ตามสัญญา โดยไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน ก็เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น โจทก์หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ไม่สมบูรณ์หากไม่ได้รับการอนุมัติจากกรมการศาสนา จำเลยผิดสัญญาเมื่อบอกเลิกก่อนได้รับอนุมัติ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา ดังนี้ เมื่อพิจารณาสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแล้วจึงไม่ใช่ เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แต่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะ มีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่า อาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี อันจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบ จากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างทราบดีดังจะเห็น ได้จากสัญญาในข้อ 5 ที่ว่าเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ลงทุน สร้างอาคารในที่ดิน ผู้ลงทุนตกลงชำระเงินบำรุงวัดสุวรรณคีรีวงก์ จำนวน 1,200,000 บาท โดยผู้ลงทุนจะชำระในวันที่กรมการศาสนา ให้ความเห็นชอบสัญญานี้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมศาสนา สัญญาระหว่าง โจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถ นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยได้บอกเลิก สัญญาแก่โจทก์ ไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ โดย ไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน จำเลยจึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและธรณีสงฆ์: ห้ามจำเลยอ้างอายุความในการครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ดินของวัดโจทก์อันเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองและยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ ทั้งนี้เพราะจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: การได้มาโดยการยกให้ และสิทธิครอบครองแม้มีการซื้อขายต่อ
พ.ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่วัดจำเลยโดยให้นาง ข.ซึ่งเป็นภรรยามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต และจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแล้วเช่นนี้ ที่ดินพิพาทได้ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลยตั้งแต่ พ.ยกให้ และจำเลยรับไว้แล้วเป็นต้นมานาง ข.เป็นเพียงผู้ครอบครองแทน แม้ต่อมานาง ข.จะได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาก็ตาม วัดจำเลยก็ยังคงมีสิทธิครอบครองเช่นเดิม เพราะโจทก์ต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505 มาตรา 34
การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาและสละที่ดินพิพาทบางส่วนไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนการได้มาและจำหน่ายออกไปจากทะเบียนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น หาได้เป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทที่ได้รับมาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินธรณีสงฆ์โดยการยกให้และการครอบครองต่อเนื่อง สิทธิของวัดเหนือกว่าการซื้อขายที่ดินโดยบุคคลอื่น
โจทก์กล่าวอ้างขึ้นในชั้นฎีกาโดยแนบหนังสือรับรองของปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอมาท้ายฎีกาว่า พ. ถึงแก่ความตายประมาณปี พ.ศ. 2475 เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณาความและจำเลยไม่มีโอกาสซัก ค้านเกี่ยวกับเอกสารนี้หนังสือรับรองดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ก่อนถึงแก่ความตาย พ. สามี ข. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและยกที่ดินพิพาทให้แก่วัด จำเลย โดยให้ ข. มีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต จำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทแล้วให้ ข. นำออกให้เช่าหาประโยชน์ตามเจตนาของ พ. ข. ก็ยอมรับสิทธิของจำเลยโดยระบุในสัญญาเช่าว่าที่ดินที่ให้เช่าเป็นของวัดจำเลย ที่ดินพิพาทตก เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย นับแต่ พ. ยกให้และจำเลยรับไว้แล้วเป็นต้นมา ข. เป็นเพียงผู้ครอบครองแทน ส่วน จ. หาได้ครอบครองไม่แม้ต่อมา ข. และ จ. จะได้ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา วัดจำเลยก็ยังมีสิทธิครอบครองเช่นเดิม เพราะโจทก์ต้องห้ามมิให้ยกอายุความต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ มาตรา 34 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมา และสละบางส่วนไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนการได้มาและจำหน่ายออกไปจากทะเบียนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2511) ออกตามความใน พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฯ หาเป็นเหตุให้จำเลยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทที่ได้รับมาไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6371/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินออกทับธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ต่อมา ผู้รับโอนก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
โฉนดที่ดินออกทับที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์เป็นการออกโฉนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการโอนทางทะเบียน ต่อมาจนถึงจำเลยผู้มีชื่อรายสุดท้ายจำเลยผู้รับโอนก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ตนรับโอนไม่ และเมื่อโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์จะขอให้ลงชื่อโจทก์แทนชื่อจำเลยในโฉนดดังกล่าวหาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมิได้ขอให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดดังกล่าวที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเสียได้
of 4