พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญา แม้ใช้ตราประทับไม่ถูกต้อง หากได้รับประโยชน์จากสัญญานั้น
แม้ว่าตราประทับของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ใช้ประทับในสัญญาจะมิใช่ตราสำคัญที่บริษัทจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็เป็นตราที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ในการทำธุรกรรมทางการค้ากับโจทก์ตลอดมาเป็นเวลานานประมาณ 10 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์ตามสัญญาแล้ว การทำสัญญาดังกล่าวจึงสมประโยชน์จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทธุรกรรมเป็น 'จ้างทำของ' ไม่ใช่ 'ซื้อขาย' และผลกระทบต่อการเสียอากรแสตมป์
โจทก์ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์โดยในการผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ดังกล่าว โจทก์ต้องผลิตตามแบบแม่พิมพ์ที่ทางบริษัท ซ. ซึ่งถือหุ้นในบริษัทโจทก์ร้อยละเก้าสิบห้ากำหนดขึ้น เป็นการผลิตตามแบบรูปทรงและขนาดที่บริษัท ซ. ต้องการและกำหนดให้โจทก์ทำขึ้น โจทก์ต้องผลิตให้แล้วเสร็จตามที่บริษัท ซ. ต้องการโดยมิได้ตีตราหรือยี่ห้อของโจทก์ไว้และโจทก์มิได้นำออกจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท โจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการรับจ้างหล่อโลหะ (ชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ (ไม่สำเร็จรูป) และเหล็กหล่ออื่น ๆ ) เท่านั้น เมื่อโจทก์ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์เสร็จและส่งมอบให้บริษัท ซ. โจทก์จะระบุถึงรายละเอียดในการส่งของไว้ตามเอกสารว่าเป็นใบส่งของ และระบุไว้ด้วยว่าส่งตามใบจ้างทำของของบริษัท ซ. พฤติการณ์ต่าง ๆ เห็นได้ชัดว่าการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการรับจ้างทำของ ไม่ใช่เป็นเรื่องการซื้อขายดังที่โจทก์อุทธรณ์
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร
ป. รัษฎากร มาตรา 103 บัญญัติว่า "ตราสาร" หมายความว่าเอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ และมาตรา 104 บัญญัติว่า ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 4 ได้บัญญัติลักษณะแห่งตราสาร จ้างทำของ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ด้วย เอกสารที่บริษัท ซ. มีถึงโจทก์จำนวน 467 ฉบับนั้น มีเพียงพนักงานของบริษัท ซ. ลงลายมือชื่อสั่งจ้างโจทก์ให้ผลิตชิ้นส่วนคอมเพรสเซอร์ส่งให้แก่บริษัท ซ. เท่านั้น โดยไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์หรือพนักงานของโจทก์เป็นผู้รับจ้างแต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการว่าจ้างทำของที่ทำเป็นหนังสือ มิใช่เป็นหนังสือสัญญาว่าจ้างทำของระหว่างโจทก์กับบริษัท ซ. อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายของมาตรา 103 และ 104 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าโรงแรมและที่ดิน: การจัดบริการโทรศัพท์และธุรกรรมเพื่อการจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพัก การใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพ-มหานคร ต่างจังหวัด และต่างประเทศได้ และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ ดังนี้ เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพัก จึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพัก ดังนั้น ค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับ อันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม หาใช่ประเภทการค้า 10 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่ และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้า ซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้า โจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทยมาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่
โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดิน โจทก์ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ บริษัท ท.เป็นบริษัทย่อยของโจทก์ โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ 99.99 และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์ มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้ เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าว การชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าว ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี 2526 ทำให้มีกำไร เพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จึงเห็นได้ว่า โจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิม ที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2526 จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไร แม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 11
โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดิน โจทก์ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ บริษัท ท.เป็นบริษัทย่อยของโจทก์ โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ 99.99 และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์ มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้ เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าว การชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าว ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี 2526 ทำให้มีกำไร เพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จึงเห็นได้ว่า โจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิม ที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2526 จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไร แม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าโรงแรมและที่ดิน: การประเมินรายรับจากบริการโทรศัพท์และธุรกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างบริษัทแม่และบริษัทย่อย
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพักการใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพมหานครต่างจังหวัดและต่างประเทศได้และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ดังนี้เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพักจึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพักดังนั้นค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับอันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า7(ข)โรงแรมหาใช่ประเภทการค้า10ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่และตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้าซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้าโจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่ โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินโจทก์ที่ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์บริษัทท. เป็นบริษัทย่อยของโจทก์โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ99.99และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าวการชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี2526ทำให้มีกำไรเพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จึงเห็นได้ว่าโจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิมที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี2526จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไรแม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการไม่ยอมออกจากที่เช่าควรเป็นค่าเช่าที่แท้จริง ไม่ควรเป็นค่าเสียโอกาสจากธุรกรรมอื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายโดยกล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารมาเพื่อชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทและโจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่ผู้ซื้อหากผิดนัดจดทะเบียนโอนแก่ผู้ซื้อไม่ได้จะต้องถูกปรับเป็นรายวันจำเลยทั้งสองไม่ยอมออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์จดทะเบียนโอนให้ผู้ซื้อไม่ได้โจทก์จึงไม่มีเงินชำระหนี้ได้รับความเสียหายต้องชำระค่าดอกเบี้ยแก่ธนาคารและค่าปรับแก่ผู้ซื้อดังนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุการที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกจากที่ดินและตึกแถวที่เช่าค่าเสียหายควรเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4354/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหนี้จากกิจการเงินทุน: การพิจารณาวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลและลักษณะของธุรกรรม
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในการเรียกร้องเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนที่ได้ดำเนินการไว้ตั้งแต่โจทก์ยังไม่ได้ถูกระงับใบอนุญาต มิใช่เป็นการประกอบกิจการเงินทุนขึ้นใหม่ภายหลังโจทก์ถูกระงับใบอนุญาตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนระบุวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประเภท "เงินทุน" ในเมืองฮ่องกง ซึ่งปกติคำว่า"เงินทุน" มีความหมายมิได้จำกัดเพียงการกู้ยืมหรือรับฝากเงินเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า คำดังกล่าวมีความหมายพิเศษตามบทกฎหมายแห่งเมืองที่โจทก์จดทะเบียนไว้นั้นระบุจำกัดไว้ดังกล่าว ประกอบกับการที่โจทก์รับดำเนินการซื้อสินค้าแทนจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหมายผลในจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าแทนนั้นมาเป็นหลักแห่งหนี้สินซึ่งเป็นตัวเงิน และโจทก์ได้ผลประโยชน์จากดอกเบี้ยอันเกิดจากตัวเงินดังกล่าวนี้ จึงมีลักษณะเป็นกิจการเงินทุนอย่างหนึ่งการซื้อสินค้าแทนดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการดำเนินการเพื่อบริการจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้าในการก่อหนี้ที่เป็นกิจการเงินทุนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องตัวการตัวแทนอันเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้คืนอันเนื่องมาจากกิจการเงินทุนของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าดอกเบี้ยตามราคาตลาดจากธุรกรรมภายในห้างหุ้นส่วน
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มี อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งมีหน้าที่ต้องระมัดระวังจัดการงานของห้างหุ้นส่วนให้ดำเนินไปด้วยดี และต้องเป็นผู้เสียสละอีกด้วย การที่ อ.ได้ค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนเพื่อจะได้เงินมาดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งแม้จะเห็นได้ว่าเป็นการช่วยเหลือโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์จะตอบแทน อ.ด้วยการกู้ยืมเงินจากผู้อื่นหรือเอาเงินของโจทก์ที่มีอยู่มาให้ อ. กู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมากในขณะที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้ตามมาตรา65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมในธุรกรรมทางสินเชื่อและผลผูกพันต่อคู่สมรสกรณีสินบริคณห์
ภริยารู้เห็นยินยอมในการที่สามีลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ และมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้บุคคลภายนอกนำไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการที่บุคคลภายนอกเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารนั้น แม้ภริยาจะมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยภริยาก็ต้องผูกพันในการกระทำของสามี
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลในการทำธุรกรรมหลังพินัยกรรมไม่ทำให้สิทธิรับมรดกตกไป
ทายาทตามพินัยกรรม หลอกลวงให้ผู้ทำพินัยกรรมทำใบมอบอำนาจให้แล้วเอาไปจัดการโอนที่ดินที่ตนจะได้รับตามพินัยกรรมเป็นของตนเสีย กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการฉ้อฉลให้เจ้ามรดกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมผู้นั้นจึงมิต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15645/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจ กลต. และ ป.ร.ส. กับผลของการไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการทำธุรกรรม
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 14 ให้อำนาจคณะกรรมการ กลต. กำกับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ และให้รวมถึงออกระเบียบหรือข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.นี้ ซึ่งคณะกรรมการ กลต. อาศัยอำนาจตามมาตรา 14 และมาตรา 117 ออกข้อกำหนด ตามประกาศคณะกรรมการ กลต. เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นข้อกำหนดเพื่อการยื่นคำขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ซึ่งหากการยื่นคำขอไม่เข้าหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามข้อกำหนด สำนักงานคณะกรรมการ กลต. ย่อมมีอำนาจที่จะไม่อนุมัติให้จดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวมเสียได้เท่านั้น หาใช่เป็นการออกประกาศข้อกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในกิจการ ซึ่งบังคับให้ต้องกระทำหรือห้ามมิให้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่หากฝ่าฝืนแล้วจะมีความผิดและต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ การจดทะเบียนจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม แม้ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จึงมิใช่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะ ทั้งข้อกำหนดดังกล่าวก็มิใช่เป็นแบบของนิติกรรมที่กฎหมายบังคับไว้ ซึ่งหากมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบแล้วจะมีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเช่นกัน
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ภายใน 2 วัน ทำการ นับจากวันประมูลนั้น เป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล หาใช่เป็นบทกฎหมายที่หากไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนแล้วจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่ ป.ร.ส. ไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนด เกี่ยวกับวันเวลาตามที่บริษัทเงินทุน ก. โอนสิทธิที่จะเข้าทำสัญญาขายแก่โจทก์เกินกำหนดเวลา 2 วันทำการ นับจากวันประมูล จึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไปและการที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้เข้าประมูลแข่งขันก็ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า เพราะข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ เป็นระเบียบที่ออกมาเพื่อเป็นข้อปฏิบัติภายหลังจากที่มีการประมูลซื้อทรัพย์สินเปิดประมูลโดยเปิดเผยแล้ว
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ภายใน 2 วัน ทำการ นับจากวันประมูลนั้น เป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล หาใช่เป็นบทกฎหมายที่หากไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนแล้วจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่ ป.ร.ส. ไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนด เกี่ยวกับวันเวลาตามที่บริษัทเงินทุน ก. โอนสิทธิที่จะเข้าทำสัญญาขายแก่โจทก์เกินกำหนดเวลา 2 วันทำการ นับจากวันประมูล จึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไปและการที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขาย โดยไม่ได้เข้าประมูลแข่งขันก็ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า เพราะข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ เป็นระเบียบที่ออกมาเพื่อเป็นข้อปฏิบัติภายหลังจากที่มีการประมูลซื้อทรัพย์สินเปิดประมูลโดยเปิดเผยแล้ว