พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมมูลหนี้จากการปล่อยสินเชื่อหลายประเภทเพื่อคำนวณค่าขึ้นศาล
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินประกอบธุรกิจด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า ซึ่งทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะโดยการให้กู้ยืมเงินให้เบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นที่สามารถ ทำได้ในการให้เงินหรือหลักประกันแก่ลูกค้าโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน เป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ ย่อมสามารถทำ ธุรกิจการเงินกับโจทก์ได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นวิธีใดวิธีหนึ่ง เพียงอย่างเดียว การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ขอเบิกเงินเกินบัญชีและขายลด ตั๋วสัญญาใช้เงินกับโจทก์ แม้จะเรียกชื่อวิธีการก่อให้เกิดหนี้ต่างกัน แต่ทุกประการล้วนแต่เป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์นั่นเอง จำเลยจึง สามารถนำที่ดินและทรัพย์สินหลายรายการมาจดทะเบียนจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ก่อขึ้นทั้งหมดกับโจทก์ โดยมิได้ แบ่งแยกว่าทรัพย์รายใดประกันหนี้ประเภทไหนรายการใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงนำสินเชื่อทุกชนิดมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ฟ้องมาเป็นคดีเดียวกัน ได้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ(1)ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม โดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละรายการ จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่า ที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเก็บเกินจากสองแสนบาท คืนโจทก์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและบริการทางการเงินเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การจัดประเภทภาษีการค้า
โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับบัตรเครดิต โดยโจทก์จะออกบัตรเครดิตของโจทก์ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ว่าจะรับบัตรเครดิตของโจทก์แทนการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยให้ผู้ใช้บัตรเครดิตลงลายมือชื่อไว้ในใบบันทึกการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ แล้วสถานธุรกิจดังกล่าวจะนำใบบันทึกดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากโจทก์ โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนในบันทึกให้แก่สถานธุรกิจโดยหักส่วนลดไว้ร้อยละ 3 ถึง 3.5 จากนั้นโจทก์จะไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการตามใบบันทึกจากสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิต หากสมาชิกไม่ชำระเงินให้โจทก์ภายในกำหนดเวลา โจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระจนกว่าสมาชิกจะชำระเงินให้โจทก์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับสมาชิกผู้ถือบัตร หากโจทก์เก็บเงินจากสมาชิกไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิไปไล่เบี้ยหรือเรียกคืนจากสถานธุรกิจ ดังนี้ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับเก็บหนี้สินแทนสถานธุรกิจ หากแต่เป็นเรื่องที่สถานธุรกิจโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้แก่โจทก์โดยโจทก์ใช้เงินทุนของโจทก์ในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าหรือค่าบริการจากสถานธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ การดำเนินกิจการของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เอง มิใช่รับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น รายรับของโจทก์จากกิจการดังกล่าวคือรายรับจากส่วนลดค่าสินค้าหรือบริการตามบัตรเครดิต จึงมิใช่รายรับจากการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่น ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากรในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน แต่ปรากฏว่าธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ธนาคารหลายแห่งประกอบอยู่เป็นปกติ จึงถือได้ว่าการประกอบธุรกิจของโจทก์เป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร
โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงิน เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้ โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษี-การค้าตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน
โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่าง ๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัท อ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4
โจทก์ได้ให้บริการแก่สมาชิก ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ในการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากเครื่องเบิกถอนเงิน เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารต่าง ๆ ที่ทำสัญญาไว้กับโจทก์ได้ โดยโจทก์จะคิดค่าธรรมเนียมผู้ถอนในอัตราร้อยละ 5 ของยอดเงินที่เบิกถอนบวกด้วยค่าบริการครั้งละ 100 บาท แม้โจทก์จะมิใช่ธนาคาร แต่ประกอบกิจการให้เบิกถอนเงินสดฉุกเฉินได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์รายรับจากค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินฉุกเฉินของโจทก์จึงต้องเสียภาษี-การค้าตามประเภทการค้า 12 ธนาคาร เช่นเดียวกัน
โจทก์เป็นผู้นำเข้าเช็คเดินทางของบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารที่ขายเช็คเดินทางให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเก็บรักษาและแจกจ่ายให้แก่ธนาคารต่าง ๆ จะมีรายจ่าย เช่น ค่าภาษีการนำเข้า ค่าจ้างพนักงาน ค่าจัดส่ง และค่าพาหนะต่าง ๆ โจทก์จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปก่อน แล้วเรียกคืนจากบริษัทอ.ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมค่าบริการอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการจนสำเร็จให้แก่บริษัท อ.ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเท่ากับร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายที่โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท อ.จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ค่าบริการที่โจทก์ได้รับมาดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประเภทการค้า 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6241/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการใช้ชื่อธุรกิจด้านการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะคำว่า "ธนกิจ" ซึ่งถูกตีความว่าเป็นธุรกิจเงินทุน
มาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 13 เป็นว่า"ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากบริษัทเงินทุนใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "เงินทุน" "การเงิน" "การลงทุน""เครดิต" "ทรัสต์" "ไฟแนนซ์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์หรือสำนักงานที่กระทำการแทนธนาคารต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์" และคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางที่ 1/2527 เรื่อง การรับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทอธิบดีกรมทะเบียนการค้า นายทะเบียนกลางห้ามมิให้รับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ใช้ชื่อ คำหรือข้อความ คือชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามบัญชีท้ายคำสั่งนั้น ซึ่งรวมทั้งคำว่า "ธนกิจ" ด้วย คำสั่งดังกล่าวแม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการแสดงว่าทางราชการถือว่าคำว่า "ธนกิจ" เป็นชื่อของผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จึงมีคำสั่งห้ามจดทะเบียนคำนี้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจด้านธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อธุรกิจว่า "บริษัทคลังสินค้าอาคเนย์ธนกิจ จำกัด" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาให้หมายถึงการประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า ธุรกิจเงินทุน และหลักทรัพย์ด้วย เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน จำเลยจึงต้องเลิกใช้ชื่อที่มีคำว่า "ธนกิจ" ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนด ฯ ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ฯ พ.ศ.2522มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนด ฯ หากฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13, 72