พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างดำรงตำแหน่งในธุรกิจอื่น ฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง
การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดของนายจ้างจะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำนั้นๆ มิใช่ว่าจะต้องให้ความเสียหายต่อนายจ้างปรากฏขึ้นด้วยเสมอไป จึงจะนับว่าการฝ่าฝืนนั้นๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรง
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า "อาจเป็นผลให้" และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืนข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนางจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า "อาจเป็นผลให้" และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืนข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนางจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป