พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายอุปกรณ์โรงแรม: การพิจารณาประเภทธุรกิจและหนังสือรับสภาพหนี้
หนี้ที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการโรงแรมได้ซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวพร้อมการติดตั้งจากเจ้าหนี้ เป็นการกระทำเพื่อหากำไรในการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ต่อไป จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่สับสนจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจโรงแรม
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า 'ฮิลตัน''โฮเต็ล' และ 'บางกอก' พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานานทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์ และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์ จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมของจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตันเป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช่าเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
เช่าทำโรงแรมนั้นเป็นการใช้ประกอบธุระกิจ ไม่ใช่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่ง คสช. 6/2562 ยกเว้นโทษทางอาญาธุรกิจโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาต หากแจ้งและปรับปรุงความปลอดภัยตามเกณฑ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ปรากฏว่า ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 เรื่อง มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งใช้อาคารในการประกอบธุรกิจโรงแรมในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และอาคารนั้นมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนการประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบถึงการฝ่าฝืนและดำเนินการปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พร้อมทั้งยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบ เอกสารท้ายฎีกาของจำเลย เป็นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ถึง ม. ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่เกิดเหตุ เรื่อง การแก้ไขอาคารตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาพร้อมเอกสารดังกล่าว มิได้โต้แย้ง จึงรับฟังหลักฐานได้ว่า สถานที่ประกอบกิจการของ ม. ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จเรียบร้อย ซึ่งตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวกำหนดให้ได้รับยกเว้นโทษทางอาญา ถือว่าเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเว้นโทษให้ผู้กระทำความผิด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (7)