พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในความผิดฐานทำไม้ การบรรยายฟ้องต้องครอบคลุมการกระทำทั้งหมด
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะ หมายความว่า "ตัด""ฟัน" "ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้อง ว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องนอกคำฟ้อง: การอ้างเสียเสรีภาพเกินขอบเขตคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งห้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่พนักงานของจำเลยสั่งห้ามเดินทางทางเครื่องบินของจำเลยเป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศสิงคโปร์ และค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ อับอายขายหน้าสูญเสียเวลานัดหมายและธุรกิจ แต่ฎีกาของโจทก์ทั้งห้าที่ว่า การที่จำเลยห้ามไม่ให้โจทก์ที่ 1 ขึ้นเครื่องบินของจำเลยเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพ นั้นเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ทำให้โจทก์ทั้งห้าเสียเสรีภาพก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานนอกคำฟ้อง, การพิพากษาเกินคำขอ, และข้อยกเว้นการฎีกา
แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าเปลือกก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่26 กรกฎาคม 2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานนอกคำฟ้องและคำให้การในคดีหนี้ค่าแชร์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ค่าแชร์ ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ จำเลยให้การว่า ไม่เคยเป็นนายวงแชร์และไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีเพียงว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์และเป็นหนี้ค่าแชร์โจทก์หรือไม่ แม้โจทก์จำเลยจะนำสืบว่าเกี่ยวกับหนี้ค่าแชร์นี้ จำเลยได้นำ พ.มาทำสัญญากู้เงินให้ไว้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นการนำสืบนอกคำฟ้องและคำให้การ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าหนี้ค่าแชร์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำฟ้องและคำให้การ คดีหนี้ค่าแชร์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ค่าแชร์ ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ จำเลยให้การว่าไม่เคยเป็นนายวงแชร์และไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีเพียงว่า จำเลยเป็นนายวงแชร์และเป็นหนี้ค่าแชร์โจทก์หรือไม่ แม้โจทก์จำเลยจะนำสืบว่า เกี่ยวกับหนี้ค่าแชร์นี้จำเลยได้นำ พ. มาทำสัญญากู้เงินให้ไว้แก่โจทก์ก็ตามก็เป็นการนำสืบนอกคำฟ้องและคำให้การ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าหนี้ค่าแชร์ระหว่างโจทก์จำเลยระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยนอกคำฟ้องในคดีทางภารจำยอม การฟ้องซ้ำ และการได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ
จำเลยให้การว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอมเพราะไม่เคยมีใครใช้ทางดังกล่าว คำให้การของจำเลยย่อมมีความหมายไปถึงว่าไม่ใช่ทางภารจำยอมแม้แต่วาเดียวหรือศอกเดียวไปด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปถึงว่าความกว้างยาวของทางภารจำยอมมีขนาดไหน จึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การของจำเลยแล้วไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์ได้ใช้ที่ดินของจำเลยดังกล่าวส่วนหนึ่งมีขนาดกว้าง 2 วา ยาว 10 วา ใช้เป็นทางเดินเข้าออกของที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะเป็นระยะเวลาติดต่อ กันประมาณ 35 ปีแล้ว โดยสงบ โดยเปิดเผย มีเจตนาให้ได้ทางภารจำยอม เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความ
คดีก่อนประเด็นพิพาทมีว่า จำเลยสละการครอบครองที่พิพาทแล้วหรือไม่ ทั้งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยยังครอบครองที่พิพาท ไม่ได้สละการครอบครองโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ซึ่งมีประเด็นต่างกันและเหตุที่วินิจฉัยก็ต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์ได้ใช้ที่ดินของจำเลยดังกล่าวส่วนหนึ่งมีขนาดกว้าง 2 วา ยาว 10 วา ใช้เป็นทางเดินเข้าออกของที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะเป็นระยะเวลาติดต่อ กันประมาณ 35 ปีแล้ว โดยสงบ โดยเปิดเผย มีเจตนาให้ได้ทางภารจำยอม เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความ
คดีก่อนประเด็นพิพาทมีว่า จำเลยสละการครอบครองที่พิพาทแล้วหรือไม่ ทั้งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยยังครอบครองที่พิพาท ไม่ได้สละการครอบครองโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ซึ่งมีประเด็นต่างกันและเหตุที่วินิจฉัยก็ต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดนอกคำฟ้องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา การบรรยายฟ้องต้องชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้อำนาจด้วยกำลังกายข่มขืนกระทำชำเราโจทก์จนสำเร็จความใคร่ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 243 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยได้กอดโจทก์ แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กอดโจทก์อันเป็นความผิดตามมาตรา 246 ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดนอกคำฟ้องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา ศาลต้องยึดตามคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยใช้อำนาจด้วยกำลังกายข่มขืนกระทำชำเราโจทก์จนสำเร็จความใคร่ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 243ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยได้กอดโจทก์ แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กอดโจทก์อันเป็นความผิดตามมาตรา 246 ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีภาษีอากรนอกคำฟ้อง โจทก์ต้องฟ้องเรียกค่าภาษีที่ค้างชำระทั้งหมด ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าภาษีอากร เงินเพิ่มอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสินค้ารายการที่ 5 ที่จำเลยนำเข้า ตามที่โจทก์ประเมินและแจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมิน จำนวนเงินภาษีย่อมยุติตามการประเมินแม้จะปรากฏว่าจำเลยชำระภาษีอากรในสินค้ารายการที่ 4 ที่นำเข้าพร้อมกันเกินไว้ เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยเคยแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ไว้และเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยก็ขาดนัดยื่นคำให้การ ฟ้องโจทก์จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ทั้งในเรื่องของจำนวนภาษีที่จะได้คืน จำเลยต้องขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และ ป.รัษฎากร การที่จำเลยเพียงโต้แย้งพิกัดอัตราศุลกากรตอนนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่การขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด ศาลไม่อาจพิพากษาให้นำเงินค่าภาษีอากรที่จำเลยชำระไว้เกินมาหักกลบลบหนี้กับค่าภาษีอากรที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระได้ เพราะเป็นการพิพากษานอกคำฟ้องโจทก์ อันเป็นการต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17