พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงนอกสำนวนในชั้นฎีกา: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุกลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยขาดเจตนาทางอาญาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาดังกล่าวตามป.วิ.อ.มาตรา 46 นั้น จำเลยเพิ่งจะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาโดยแนบเป็นเอกสารท้ายฎีกา ซึ่งโจทก์แก้ฎีกาคัดค้านจึงเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกสำนวนและขัดแย้งกับข้อตกลงเดิม ถือเป็นการไม่ชอบ
การลากิจตามเอกสารหมาย ร.16 ของผู้คัดค้านนั้น ผู้ร้องมิได้บรรยายหรือกล่าวไว้ในคำร้องว่าผู้คัดค้านได้ขาดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบการลาซึ่งผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลแรงงานนำมาฟังเป็นโทษแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนเอกสารหมาย ร.21 เป็นการลากิจ ซึ่งผู้คัดค้านได้ยื่นใบลาล่วงหน้าจึงไม่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง แต่เป็นการลาเกินกำหนด 4 วัน เป็นกรณีไม่ได้รับค่าจ้างตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งผู้ร้องก็ไม่ได้อนุมัติการลา แต่ผู้ร้องได้หมายเหตุไว้ว่า ในกรณีนี้ผู้จัดการบุคคลได้เรียกมาว่ากล่าวตักเตือนให้นำไปปรับปรุง ผู้คัดค้านรับปากว่าขอเป็นครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ ซึ่งหากมีอีกจะยอมถือเป็นขาดงานและลงชื่อผู้จัดการไว้ ตามข้อความดังกล่าวผู้ร้องไม่ติดใจเอาโทษแก่ผู้คัดค้านและไม่ถือว่าเป็นความผิดแล้ว ผู้ร้องจะนำการลากิจครั้งนี้มากล่าวโทษผู้คัดค้านอีกหาได้ไม่ ผู้คัดค้านจึงมิได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน
ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้าง เป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้าง เป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน: ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากคำเบิกความที่ไม่มีในสำนวนเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาใหม่
โจทก์มิได้มาเบิกความเป็นพยาน ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์เบิกความยืนยันว่าลายมือชื่อให้ความยินยอมที่ปรากฏเป็นชื่อโจทก์เป็นลายมือปลอม และไม่มีส่วนคล้ายกับลายมือชื่อโจทก์ที่แท้จริง จึงเป็นการฟ้องข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีอยู่ในสำนวน เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องคดีอาญาของผู้ครอบครองทรัพย์สิน & การใช้หลักฐานนอกสำนวน
ในขณะเกิดเหตุแม้โจทก์ร่วมจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกจำเลยลักไป เมื่อถูกจำเลยแย่งการครอบครองโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3(1)(2) เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าเอกสารที่จะอ้างหรือนำสืบในคดีอาญาจะต้องเป็นเอกสารที่ได้มีการสอบสวนและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นศาลย่อมรับฟังบันทึกคำรับสารภาพ แผนที่บ้านจำเลยและภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้ แม้ว่าเอกสารดังกล่าวจะมิใช่เอกสารที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนก็ตาม.