คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นอกเส้นทาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481-2485/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งประจำทางนอกเส้นทางอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่ง และผู้ขับรถไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง
บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางจากจังหวัดสิงห์บุรีถึงบ้านชันสูตร การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ร่วมกันนำรถยนต์โดยสารเข้าไปรับส่งคนโดยสารและสินค้าในเส้นทางซึ่งนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนนั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 10 อันมีโทษตามมาตรา 59 ตามฟ้องโดยตรง เพราะออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนดให้ประกอบการขนส่ง หาได้เป็นความผิดเกี่ยวกับมาตราอื่นที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษไม่
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะ จำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วยไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบนายจ้างต่ออุบัติเหตุลูกจ้างขณะปฏิบัติงานนอกเส้นทางเพื่อแก้ไขความผิดพลาดของตนเอง
ลูกจ้างที่ประสบอันตรายและจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 5 ต้องเป็นลูกจ้างที่ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์ขับรถบรรทุกไปส่งวัสดุก่อสร้างที่บ้านของลูกค้านายจ้างแล้วขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อไปยืมเงินเพื่อนบิดาของโจทก์ ทำให้รถของนายจ้างติดหล่ม โจทก์จึงขับรถจักรยานยนต์ไปตามเพื่อนมาช่วยยกรถที่ติดหล่ม และประสบอุบัติเหตุชนกับรถจักรยานยนต์อื่นที่วิ่งตัดหน้าในระหว่างที่ขับรถจักรยานยนต์ไปตามเพื่อนจนทำให้ตาขวาของโจทก์บอดสนิท สมองช้ำ นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขับรถของนายจ้างไปทำธุระส่วนตัวอันเป็นการกระทำนอกทางการที่จ้าง เมื่อโจทก์ขับรถของนายจ้างไปติดหล่มย่อมเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่โจทก์จะต้องแก้ไขความผิดพลาดอันเกิดจากการกระทำของตนเองและจำเป็นต้องจัดการเอารถของนายจ้างขึ้นจากหล่มให้ได้เพื่อปกปิดมิให้นายจ้างทราบว่าตนเองขับรถของนายจ้างออกนอกเส้นทางไปทำธุระส่วนตัว โดยนายจ้างไม่ทราบว่าโจทก์แอบขับรถของนายจ้างไปทำธุระส่วนตัวนอกทางการที่จ้าง ดังนี้ การประสบอุบัติเหตุของโจทก์เพราะสาเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการประสบอันตรายตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน