คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นักโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ โดยพิจารณาจากสถานที่ควบคุมตัวนักโทษ
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 บัญญัติว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ฎ. นี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนักโทษเด็ดขาดในคดีของศาลจังหวัดลพบุรี ซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวางซึ่งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนนทบุรีในวันที่ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับ และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.ฎ. นี้บัญญัติว่า ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ ผู้พิพากษาศาลแห่งท้องที่หรือตุลาการศาลทหารแห่งท้องที่หนึ่งคนและอัยการแห่งท้องที่หรืออัยการทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน รวมสามคนเป็นคณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ และส่งรายชื่อต่อศาลแห่งท้องที่ให้เสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับ เพื่อความสะดวกแก่ศาลแห่งท้องที่นั้นพิจารณาออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษแล้วแต่กรณี ฉะนั้นจึงชอบที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นศาลแห่งท้องที่นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของนักโทษ: ความแตกต่างระหว่างการจำคุกตามคำพิพากษาและคำสั่ง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีนั้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการปล่อยตัวนักโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ: ศาลจังหวัดนนทบุรีมีอำนาจเหนือศาลทหารกรุงเทพ
จำเลย (ที่ 1) ถูกศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ.2503 แต่จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้งตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2504 และ พ.ศ. 2506 ลดโทษลงเป็นจำคุก 20 ปี นับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2502 จำเลยจึงเป็นนักโทษเด็ดขาด ถูกจำคุกไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง ครั้นต่อมาได้มี พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2514 ออกใช้บังคับ ซึ่งผู้ร้องผู้เป็นภริยาจำเลยเห็นว่า ตามความในมาตรา 5(จ)
จำเลยอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ยังมิได้รับการพิจารณาสั่งปล่อย ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 โดยถือว่าจำเลยถูกควบคุมโดยผิดกฎหมาย การยื่นคำร้องดังกล่าวนั้นต้องยื่นต่อศาลจังหวัดนนทบุรีตามความในมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลแห่งท้องที่ที่ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอยู่ในเขตมีอำนาจออกหมายสั่งปล่อย หาใช่ศาลทหารกรุงเทพ(ศาลอาญา) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าถูกจำคุก ผิดจากคำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อนักโทษได้รับอภัยโทษแล้วกระทำผิดซ้ำ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละคดี
การที่ศาลจะนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นนั้นเป็นดุลพินิจของศาลจะพิจารณาเห็นสมควร การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตในคดีอื่นซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานอภัยโทษจนเหลือโทษจำคุกอีก 10 ปี และระหว่างกำลังรับโทษที่เหลืออยู่นี้ได้กระทำผิดฐานฆ่านักโทษซึ่งศาลพิพากษาให้จำคุก 20 ปี เช่นนี้ เมื่อพิจารณาว่าจำเลยต้องรับโทษต่อไปอีกถึง 20 ปีข้างหน้าแล้วเห็นว่าเหมาะสมแก่ความผิดที่กระทำในคดีนี้แล้ว เหตุผลที่จำเลยมากระทำผิดในข้อหาฐานความผิดเดียวกันซ้ำอีก รวมทั้งการได้รับพระราชทานอภัยโทษในคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อซึ่งคงเหลือจำคุกอีกเป็น 10 ปีนั้น ยังไม่ถือเป็นเหตุพิเศษที่จะควรนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวนักโทษซื้อของโดยไม่มีผู้ควบคุม ไม่ถือเป็นหลบหนี
นักโทษออกไปซื้อของในตลาดตามคำสั่งของพัสดีโดยไม่มีผู้ควบคุมไม่มีความผิดฐานหลบหนีที่คุมขัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษนักโทษที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างต้องโทษคดีเดิม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93
ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปี ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ระหว่างต้องโทษได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายซ้ำอีก นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตามโทษที่ศาลกำหนด สำหรับความผิดครั้งหลังด้วย
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้ว ก็ย่อมหักกลบลบกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษนักโทษที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างต้องโทษจำคุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93
ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปีฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาระหว่างต้องโทษได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายซ้ำอีก นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังนี้ด้วย
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้วก็ย่อมหักกลบลบกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายในเรือนจำ: หน้าที่ไต่สวนของศาลเมื่อนักโทษเสียชีวิตในความควบคุม
เมื่อผู้ต้องถูกควบคุมกักขังอยู่ในเรือนจำตายลงก็ถือว่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ชอบที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำกระเบื้องในเรือนจำโดยใช้แรงงานนักโทษเป็นการส่วนตัว ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์ของเรือนจำ
ผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตให้พัศดีทำกระเบื้องในเรือนจำโดยใช้แรงงานนักโทษ แต่พัศดีต้องยืมเงินผู้อื่นมาลงทุนทำเป็นส่วนตัว เป็นการที่พัศดีทำเป็นส่วนตัวไม่ใช่เป็นการงานของเรือนจำ พัศดีเอารายได้จากการขายกระเบื้องไว้เป็นส่วนตัว ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุปการะช่วยเหลือนักโทษหลบหนี ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยทราบดีว่านักโทษจะหนีออกจากเรือนจำ จำเลยได้นำรถยนต์ไปคอยรับตรงที่นักโทษจะหนีออกมา เมื่อนักโทษหนีออกมาจากเรือนจำแล้ว จำเลยรับนักโทษเหล่านั้นขับหนีไปดังนี้ นับว่าเป็นการอุปการะให้หนีได้ ต้องมีความผิดตามกฏหมายลักษณะอาญามาตรา 165.
of 2