พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการรายงานการหลบหนีของนักโทษ และร่วมกันปลอมเอกสารเพื่อช่วยเหลือ
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของเจ้าพนักงานคุมขัง ทำให้นักโทษหลบหนี การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
จำเลยที่ 1 เป็นเวรควบคุมนักโทษในแดน 1 ตั้งแต่ 12.00 - 18.00 นาฬิกา ก่อนจะออกเวรพ้นหน้าที่จะต้องมอบหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในแดน 1 มอบหน้าที่ยามภายนอกและลูกกุญแจตึกขังให้นายสุดใจผู้จะมารับหน้าที่ต่อ แต่เมื่อใกล้ 18.00 นาฬิกา จำเลยที่ 2 มารับหน้าที่คนเดียว จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในห้องขังใส่กุญแจตึกขังแล้ว ฝากลูกกุญแจตึกขังไว้กับจำเลยที่ 2 แล้วละทิ้งหน้าที่ไป เป็นช่องทางให้นักโทษใช้อุบายออกจากห้องขังแล้วจับหรือบังคับจำเลยที่ 2 ให้มอบลูกกุญแจไขตึกขังหลบหนีการควบคุมไปได้ ดังนี้ เป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ผิดตามมาตรา 205
จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า นายสุดใจจะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอก ในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้นๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 วรรคท้ายเป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อนแล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า นายสุดใจจะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขัง ตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอก ในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้นๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 205 วรรคท้ายเป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อนแล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในการควบคุมนักโทษ ทำให้เกิดเหตุหลบหนีและเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นเวรควบคุมนักโทษในแดน 1 ตั้งแต่ 12.00-18.00 นาฬิกา ก่อนจะออกเวรพ้นหน้าที่จะต้องมอบหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในแดน1 มอบหน้าที่ยามภายนอกและลูกกุญแจตึกขังให้นายสุดใจผู้จะมารับหน้าที่ต่อ แต่เมื่อใกล้ 18.00 นาฬิกา จำเลยที่ 2 มารับหน้าที่คนเดียว จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นยามภายในห้องขังใส่กุญแจตึกขังแล้ว ฝากลูกกุญแจตึกขังไว้กับจำเลยที่ 2 แล้วละทิ้งหน้าที่ไป เป็นช่องทางให้นักโทษใช้อุบายออกจากห้องขังแล้วจับหรือบังคับจำเลยที่ 2 ให้มอบลูกกุญแจไขตึกขังหลบหนีการควบคุมไปได้ ดังนี้ เป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ผิดตามมาตรา 205
จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า นายสุดใจจะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขังตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้ เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอกในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้นๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 วรรคท้าย เป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อนแล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 รู้ดีว่า นายสุดใจจะต้องมารับยามภายนอกและรักษาลูกกุญแจตึกขังตามวิสัยและพฤติการณ์ไม่สมควรรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้ เพราะนักโทษอาจออกจากห้องขังมาบังคับเอาลูกกุญแจตึกขังหนีไปได้ และน่าจะรู้ดีว่า ทางเรือนจำวางระเบียบให้มียามภายนอกในเวลากลางคืน ก็เนื่องจากจะให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยกันดูแลเป็นชั้นๆ เมื่อมีเหตุร้ายจะได้ช่วยกันระงับได้ทันท่วงที การยอมรับฝากลูกกุญแจจึงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ เป็นเหตุให้นักโทษหลบหนีที่คุมขังออกไป ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยอมรับฝากลูกกุญแจตึกขังไว้จากจำเลยที่ 1 นับว่าเป็นความประมาทอย่างร้ายแรง นักโทษได้ลูกกุญแจจากจำเลยที่ 2 ไขประตูตึกขังหลบหนีไปได้ จึงเป็นเพราะความประมาทปราศจากความระมัดระวังอย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 205 วรรคท้าย เป็นเรื่องให้งดการลงโทษผู้กระทำผิด ในเมื่อผู้กระทำผิดสามารถจัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน จะจัดโดยวิธีใดก็ได้ มิใช่จะต้องให้โอกาสผู้กระทำผิดไปติดตามผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังเสียก่อนแล้วจึงจะสอบสวนฟ้องร้องลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบร่วมของเจ้าหน้าที่เรือนจำต่อการหลบหนีของนักโทษ
เรือนจำจ่ายนักโทษให้จำเลยทั้งสองควบคุมร่วมกันและตามข้อบังคับของเรือนจำก็ห้ามมิให้แยกกัน การที่นักโทษแยกกันพักอยู่ใต้ต้นไม้กับจำเลยคนละแห่งใกล้ ๆ กัน มองแลเห็นกันได้นั้น ถ้านักโทษที่พักอยู่กับจำเลยคนหนึ่งหลบหนีไปโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยผู้นั้นถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยอีกคนหนึ่งด้วย อันเป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาปล่อยนักโทษหลบหนี - การอนุญาตให้ ออกจากเรือนจำไม่ถือเป็นความผิดตาม ม.168
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 168ฐานเป็นใจปล่อยให้นักโทษหลบหนีไปจากเรือนจำ. แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยมิได้มีเจตนาปล่อยผู้ต้องคุมขังให้หนีไป. เป็นแต่อนุญาตให้นักโทษออกไปจากเรือนจำ.กรณีจึงไม่เข้า มาตรา168. บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 168 ฐานเดียวย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะให้ศาลลงโทษจำเลยสถานอื่นได้. ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2485.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันนักโทษหลบหนีและการส่งตัวกลับเขตที่กำหนด: ศาลไม่เห็นด้วยกับการส่งตัวกลับหลังพ้นโทษในคดีอื่น
จำเลยถูกกำหนดเขตต์ให้อยู่แล้วหลบหนีไปกระทำผิด ศาลลงโทษกักกันในคดีก่อนแล้ว ในคดีหลังจะส่งตัวจำเลยไปอยู่ภายในเขตต์ที่กำหนดให้อยู่ต่อไปไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้คุมและการหลบหนีของนักโทษ: จำเลยไม่มีความผิด
พฤติการที่ยังไม่พอจะฟังว่าจำเลยประมาทละเลยหน้าที่ปล่อยให้นักโทษหนีไปจากความควบคุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้คุมเรือนจำจากการแบ่งแยกนักโทษเป็นเหตุให้นักโทษหลบหนี
ผู้คุมแยกนักโทษกันควบคุมซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ห้ามไม่ให้แยกกันคุม แล้วผู้คุมคน 1 ใช้นักโทษไปซื้อของ นักโทษจึงเลยหนีไป ผู้คุมทั้ง 2 คนมีผิดตามมาตรา 169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีของนักโทษและการสิ้นสุดความรับผิดของผู้คุมเมื่อจับตัวได้ แม้การจับกุมจะนำไปสู่การเสียชีวิต
ผู้คุมนักโทษปล่อยให้นักโทษหนี้โดยความประมาท แต่นักโทษผู้นั้นถูกเจ้าพนักงานยิงตายภายใน 4 เดือน คดีเป็นอันยุตติตาม ม.169