คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นัดชี้สองสถาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดชี้สองสถานและการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลฎีกาเห็นชอบตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้ โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้น ไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำให้การ จะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็น และวันนัดชี้สองสถานนั้นศาลอาจอนุญาตให้เลื่อนไปได้หากมีเหตุสมควร ทั้งการนัดชี้สองสถานตั้งแต่วันที่ศาลรับคำฟ้องเช่นในคดีนี้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องเสียเปรียบ เพราะจำเลยที่ 1 สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้ เมื่อศาลทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไร เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน การกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดชี้สองสถานและการเลื่อนคดี: การปฏิบัติตามกำหนดเวลาและคำสั่งศาล
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา182เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้วศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้นไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำให้การจะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็นและวันนัดชี้สองสถานนั้นศาลอาจอนุญาตให้เลื่อนไปได้หากมีเหตุสมควรทั้งการนัดชี้สองสถานตั้งแต่วันที่ศาลรับคำฟ้องเช่นในคดีนี้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่1และที่3ต้องเสียเปรียบเพราะจำเลยที่1สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้เมื่อศาลทำการชี้สองสถานแล้วจำเลยที่1และที่3ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไรเมื่อศาลชั้นต้นแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้จำเลยที่1และที่3ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันการกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยที่1เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบของการไม่ส่งหมายแจ้งนัดชี้สองสถาน และการพิจารณาคดีใหม่
จำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและคำขอนั้นมิได้โต้แย้งคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นอันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ส่งหมายแจ้งวันนัดชี้สองสถานให้จำเลยทราบซึ่งจะถือว่าจำเลยทราบวันนัดสืบพยานตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในวันชี้สองสถานไม่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมเป็นกรณีที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาอันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังนัดชี้สองสถาน: ข้อจำกัดและเหตุผลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันนัดชี้สองสถาน เนื้อหาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งเป็นข้อต่อสู้ที่มีพื้นฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนจำเลยที่ 1 และที่ 2 อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ระบุอ้างเหตุขัดข้องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวได้ก่อนวันชี้สองสถาน คำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้อง: ศาลอนุญาตได้แม้ไม่ส่งสำเนาคำร้องก่อนนัดชี้สองสถาน หากจำเลยไม่คัดค้านการเลื่อนนัด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 เป็นเรื่องการทิ้งฟ้องมิใช่ทิ้งคำร้องขอถอนฟ้อง กรณีเรื่องถอนฟ้องมีบัญญัติไว้ในมาตรา 175 ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องและศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ โดยฟังคำคัดค้านของจำเลยนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยจะถือเอาว่าเมื่อโจทก์มิได้นำส่งสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยก่อนวันชี้สองสถานแล้ว เป็นการทิ้งคำร้องขอถอนฟ้องแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะขอถอนฟ้องนั้นไม่มีกฎหมายสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าวของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพร้อมกับนัดชี้สองสถาน: การยื่นเพิ่มเติมฟ้องหลังนัดพร้อมยังทันตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องมรดก เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดพร้อมครั้นถึงกำหนด คู่ความ ขอเลื่อนไปเนื่องจากมีทางตกลงกันได้ จนถึงกำหนดนัดพร้อมกันครั้งที่ 2 คู่ความก็ยังขอเวลาไปเจรจา เพื่อแบ่ง มรดกกันเองก่อน ขอให้ศาลงดคดีไว้ 1 เดือน ศาลก็อนุญาตดังนี้ การนัดทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการนัด พร้อม ไม่ใช่นัดชี้สองสถาน และการนัดพร้อมทั้ง 2 ครั้งนั้นคู่ความหรือศาลก็หาได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะเป็นการเรียกได้ว่า ได้มีการชี้สองสถาน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 183 ไม่ จึงเรียกไม่ได้ว่ามีการชี้ สองสถานแล้ว./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพร้อมกับนัดชี้สองสถาน: ผลต่อการยื่นเพิ่มเติมฟ้อง
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องมรดก เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดพร้อม ครั้นถึงกำหนดคู่ความขอเลื่อนไปเนื่องจากมีทางตกลงกันได้ จนถึงกำหนดนัดพร้อมกันครั้งที่ 2 คู่ความก็ยังขอเวลาไปเจรจา เพื่อแบ่งมรดกกันเองก่อน ขอให้ศาลงดคดีไว้ 1เดือน ศาลก็อนุญาตดังนี้ การนัดทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการนัดพร้อม ไม่ใช่นัดชี้สองสถาน และการนัดพร้อมทั้ง 2 ครั้งนั้นคู่ความหรือศาลก็หาได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะเป็นการเรียกได้ว่า ได้มีการชี้สองสถาน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ไม่ จึงเรียกไม่ได้ว่ามีการชี้สองสถานแล้ว