คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นับเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลาที่ถูกต้องและการยื่นเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำการใหม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 30 วัน จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2543 ซึ่งครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 22 สิงหาคม 2543 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกในวันที่ 30 สิงหาคม 2543 จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วและเมื่อไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นหรือเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนกระทั่งจำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ไม่ชอบที่จะรับอุทธรณ์ดังกล่าวไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7677/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการนับระยะเวลาครอบครองโดยมิอาจรวมเวลาครอบครองของผู้อื่นหากมิได้อ้างเหตุรับมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้อ้างเรื่องการรับมรดกมาเป็นเหตุแห่งการนับเวลาครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่า ม.ซื้อที่ดินพิพาทและเข้าครอบครองโดยความสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ปี 2508 จนกระทั่ง ม.ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 โดยมิได้ยกให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่อาจนับเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.รวมเข้ากับเวลาการครอบครองของผู้ร้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จะฟังไม่ได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องแล้วเมื่อปี 2517 แต่หลังจากที่ ม.ถึงแก่ความตายไปเมื่อปี 2530 ผู้ร้องก็ครอบครองที่ดินพิพาทเรื่อยมา ผู้ร้องจึงมีสิทธินับเวลาที่ ม.ครอบครองอยู่ก่อนรวมเข้ากับเวลาครอบครองของผู้ร้องได้ อันเป็นการนำเวลาการครอบครองของ ม.และของผู้ร้องมานับรวมกันเพราะเหตุการรับมรดก ซึ่งเป็นเหตุที่ผู้ร้องไม่ได้อ้างไว้ในคำร้องขอ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องขอนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีชำรุดบกพร่อง: เริ่มนับเมื่อพบความเสียหายและผู้เชี่ยวชาญยืนยัน
ความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการที่ผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าวบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิคอนไม่ทั่วทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาได้นั้น เป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ เมื่อมีน้ำฝนตกหนักน้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่องดังกล่าว แม้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบแล้ว ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลดังกล่าวไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์หาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท อ. เข้าไปตรวจสอบจึงเป็นการกระทำที่สมควร จะถือว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องแล้วแต่เวลานั้นยังไม่ได้ เมื่อต่อมาบริษัท อ. ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าวคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายฎีกา: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: ทราบคำสั่งแล้วถือว่าเริ่มนับเวลา แม้ศาลมิได้แจ้ง
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาในคำบังคับและการออกหมายบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 คือลักษณะ 5ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในเรื่องการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย และแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วยกรณีต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ในอันที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีนี้แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการด้วย อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2538 และต่อ ๆ มาหลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดการที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าว แม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็เพิ่งไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วการที่จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ กรณีก็ต้องมีการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีได้อยู่นั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลา, เหตุสุดวิสัย, และหน้าที่ของผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่20กรกฎาคม2538จะครบกำหนดอุทธรณ์1เดือนในวันที่20สิงหาคม2538โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่างๆเมื่อวันที่17สิงหาคม2538แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดแสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง27วันจึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสารและเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1ออกไป15วันแล้วโจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่างๆให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่นๆตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่2โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่5กันยายน2538ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา42วันการที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาผัดฟ้องและการหมดอำนาจฟ้องคดีอาญา การนับเวลาผัดฟ้องต้องเริ่มทันทีที่ร้องขอ
กำหนดเวลาขอผัดฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ต้องเริ่มนับทันทีตั้งแต่วันแรกที่ร้องขอผัดฟ้องจะเริ่มนับในวันรุ่งขึ้นจากที่ร้องขอผัดฟ้องต่อศาลหาได้ไม่ มิฉะนั้นอาจมีกรณีที่เวลาของกำหนดระยะเวลาผัดฟ้องกับเวลาที่ครบกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่ที่จับผู้ต้องหาได้ อาจไม่ต่อเนื่องกันเกิดขึ้นได้ เมื่อเวลาที่ครบกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่ที่จับผู้ต้องหาได้คือเวลา 16.30 นาฬิกา ของวันที่ 13 ตุลาคม2529 พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องต่อศาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2529 และมีการขอผัดฟ้องรวม5 ครั้ง ครั้งละ 6 วัน ดังนี้วันที่โจทก์อาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการเป็นวันสุดท้ายจึงตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2529 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 12 พฤศจิกายน 2529 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงไม่ชอบ แม้ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องมาโดยมีการนับกำหนดเวลาผิดพลาด โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: นับจากวันสิ้นเดือนที่ค้างจ่าย ไม่ใช่วันออกจากงาน และการเบิกความต่อศาลไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนหมายความว่าหากไม่จ่ายค่าจ้างของเดือนใด นับแต่วันสิ้นเดือนนั้นโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้อง ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 อายุความเรียกร้องค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 165(9) โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2531 ค่าจ้างค้างจ่ายเดือนสุดท้ายที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ย้อนหลังไป2 ปี คือค่าจ้างเดือนมีนาคม 2529 ค่าจ้างนอกจากนั้นขาดอายุความ
พ. กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความต่อศาลแรงงานกลางว่า จำเลยค้างค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2527 เป็นเพียงการเบิกความในฐานะพยานจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172.
of 3