คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นับโทษจำคุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกันและการนับโทษจำคุกเมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษจนเต็มตามกฎหมายแล้ว
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้และคดีก่อนทั้งยี่สิบหกคดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. ซึ่งได้รับความเสียหายด้วยในทุกคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นกรรมการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเอกสารโดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งความผิดปรากฏเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 พนักงานสอบสวนอาจสอบสวนความผิดทุกสำนวนแล้วเสนอความเห็นและส่งสำนวนไปยังโจทก์พร้อมกันได้ ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีดังกล่าวทั้งยี่สิบหกคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) รวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้ เมื่อศาลลงโทษจำคุกจำเลยคดีทั้งยี่สิบหกคดีติดต่อกันมีกำหนด 20 ปีแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีปล้นทรัพย์หลายกรรม หากความผิดไม่เกี่ยวพันกัน ไม่จำกัดตามมาตรา 91(3) ป.อ.
คดีที่จะอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ซึ่งมีการจำกัดในการลงโทษในความผิดหลายกรรม เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 50 ปี นั้นจะต้องเป็นคดีที่โจทก์สามารถฟ้องความผิดที่จำเลยกระทำเป็นคดีเดียวกัน หรือสามารถรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เนื่องจากลักษณะความผิดที่กระทำนั้นเกี่ยวพันกันแม้คดีทั้งห้าสำนวนที่จำเลยถูกฟ้องจะเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ทุกคดี แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายแต่ละคดีมิใช่ผู้เสียหายรายเดียวกัน ทั้งสถานที่เกิดเหตุแต่ละคดีต่างสถานที่กันพยานหลักฐานแต่ละคดีจึงมิใช่พยานหลักฐานชุดเดียวกัน และการกระทำผิดของจำเลยไม่เกี่ยวพันกัน คดีทั้งห้าสำนวนจึงไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 91(3) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุกศาลมีอำนาจลงโทษจำคุกจำเลยโดยนับโทษติดต่อกันเกินกว่า 50 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกหลายคดี - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) - คดีไม่เกี่ยวพันกัน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน กรณีจึงจะอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 91(3) คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 รวม8 คดี และฟ้องจำเลยที่ 2 รวม 9 คดีนั้นแต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกัน เป็นคดีไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกิน 50 ปีได้ ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 91(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวพันหรือไม่เกี่ยวพันกัน และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 91(2) ป.อ.
ป.อ. มาตรา 91(2) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม แต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียวหรือกรณีจำเลยถูกฟ้องหลายคดีแต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ฐานความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่สี่และพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบแตกต่างกับสามคดีแรก และความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่หกนั้นเป็นความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัท ค. ซึ่งไม่ใช่บริษัทที่จำเลยได้กระทำความผิดในคดีอื่น ๆ คดีที่สี่และที่หกจึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้คดีจึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057-4062/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกที่ถูกต้องเมื่อมีการรวมสำนวนคดีอาญา และการหักวันต้องขังตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวมเจ็ดสำนวน ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทุกสำนวนและให้นับโทษต่อกันตามลำดับสำนวนทุกสำนวน เช่นนี้ จำเลยจะขอให้ศาลหักวันต้องขังให้จำเลยในแต่ละสำนวนทั้งเจ็ดสำนวนไม่ได้ เป็นการขัดกับความจริงและทำให้จำเลยได้รับโทษจำคุกไม่เป็นไปตามคำพิพากษาเพราะจำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาตามหมายของศาลฉบับเดียวเท่านั้น และศาลชั้นต้นก็ได้ออกหมายจำคุกนับตั้งแต่วันที่จำเลยถูกคุมขังเป็นต้นไปซึ่งเท่ากับหักวันที่จำเลยถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเริ่มนับโทษจำคุกต้องเป็นไปตามกฎหมายอาญามาตรา 22 มิใช่ตามประกาศคณะปฏิวัติ จำเลยฎีกาล่วงหน้าไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี มิได้กล่าวว่าให้นับโทษจำคุกตั้งแต่วันใด จำเลยจะฎีกาว่าศาลไม่นับระยะเวลาที่จำเลยถูกควบคุมตัวตามประกาศคณะปฏิวัติหาได้ไม่ เพราะการเริ่มนับวันจำคุกวันใด ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22 บัญญัติไว้ ซึ่งศาลจะสั่งในชั้นบังคับคดี เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาขอให้ศาลสั่งนับโทษเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้ จึงถือว่าฎีกาของจำเลยมิใช่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา แต่เป็นการฎีกาในการบังคับคดีจำเลยจะฎีกาล่วงหน้ามาก่อนหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเริ่มนับโทษจำคุกและการฎีกาในชั้นบังคับคดี: ศาลสั่งนับโทษตามกฎหมายเมื่อไม่ได้ระบุในคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี มิได้กล่าวว่าให้นับโทษจำคุกตั้งแต่วันใด จำเลยจะฎีกาว่าศาลไม่นับระยะเวลาที่จำเลยถูกควบคุมตัวตามประกาศคณะปฏิวัติหาได้ไม่ เพราะการเริ่มนับวันจำคุกวันใด ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 บัญญัติไว้ ซึ่งศาลจะสั่งในชั้นบังคับคดี เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาขอให้ศาลสั่งนับโทษเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้ จึงถือว่าฎีกาของจำเลยมิใช่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา แต่เป็นการฎีกาในการบังคับคดี จำเลยจะฎีกาล่วงหน้ามาก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุก: ผลของคำพิพากษาที่สั่งให้นับโทษต่อจากโทษอื่น และผลของการแก้โทษ
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งวันมีคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 และ 188 โดยคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยย่อมต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น แม้ต่อมาภายหลังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะแก้โทษจำคุกก็ไม่มีผลต่อวันเริ่มโทษจำคุกแต่อย่างใด คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้ว โดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต และนับโทษจำเลยต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การเริ่มนับโทษจำคุกจำเลยจึงต้องเริ่มนับเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอาญาอื่นครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้โทษของจำเลยเหลือเพียง 36 ปี 8 เดือน แต่ก็ยังคงให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่มีผลต่อวันเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลย