พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีเกี่ยวพันกันและการนับโทษต่อกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเจ็ดสำนวนรวมกันเพราะเป็นคดีเกี่ยวพันกัน จึงลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงห้าปีทั้งเจ็ดสำนวน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษฐานปลอมรอยตราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีโทษจำคุกอย่างสูงถึงเจ็ดปี โดยศาลอุทธรณ์กับศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยไว้สำนวนละ 1 ปี 4 เดือน เมื่อรวมโทษที่โจทก์ฟ้องเจ็ดสำนวน เป็นจำคุกทั้งหมด 9 ปี 4 เดือนไม่เกินยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อกันในคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ: หากแยกฟ้องและศาลไม่รวมพิจารณา จะนับโทษต่อกันไม่ได้
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้กับคดีก่อนในข้อหาความผิดอย่างเดียวกันการกระทำความผิดทั้งสองคดีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ผู้เสียหายส่วนมากเป็นรายเดียวกันและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน หากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ดังนี้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้ แม้ศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน ก็จะลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวน และให้นับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ และกรณีนี้แม้คดีที่ศาลสั่งให้นับโทษต่อถึงที่สุดแล้วก็ตาม จำเลยก็ยื่นคำร้องขอไม่ให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมพิจารณาคดีและการนับโทษต่อกัน แม้ไม่มีคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะนับโทษต่อจากคดีอื่นได้
เดิมคดีนี้และคดีอื่น ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกันแต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้แยกพิพากษาเป็นรายคดีซึ่ง โจทก์ได้ยื่นคำขอให้นับโทษต่อกันทุกสำนวนไว้ก่อนศาลพิพากษาในสำนวนหลักที่มีการรวมพิจารณา และศาลชั้นต้นก็ลงโทษจำคุกจำเลยทุกสำนวน จึงชอบที่ศาลจะนับโทษจำเลยติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมพิจารณาคดีและนับโทษต่อกัน แม้โจทก์มิได้ขอท้ายฟ้องแต่ได้ยื่นคำขอไว้ก่อนศาลพิพากษา
เดิมคดีนี้และคดีอื่น ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกันแต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้แยกพิพากษาเป็นรายคดี ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำขอให้นับโทษต่อกันทุกสำนวนไว้ก่อนศาลพิพากษาในสำนวนหลักที่มีการรวมพิจารณา และศาลชั้นต้นก็ลงโทษจำคุกจำเลยทุกสำนวนจึงชอบที่ศาลจะนับโทษจำเลยติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053-2069/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาหลายสำนวน การให้นับโทษต่อกัน และขอบเขตการฎีกา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดี 17 สำนวน ซึ่ง ว. จำเลยถูกฟ้องทุกสำนวน บางสำนวนมีจำเลยอื่นร่วมด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยตัดบทมาตราที่ศาลชั้นต้นปรับบทไว้เกินฟ้องออกบ้าง ที่ศาลชั้นต้นให้ลงโทษตามบทหนักที่สุดก็แก้เป็นว่าให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุดหรือตามบทและกระทงที่หนักที่สุดด้วย แล้วแต่กรณีบางสำนวนยังคงลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 3 ปี 8 เดือน ตามเดิมบ้าง ตัดมาตราที่เกินฟ้องออกแล้วแก้โทษให้เบาลงจาก 3 ปี 8 เดือน เป็น 1 ปี 4 เดือนบ้าง เป็น2 ปีบ้าง และที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้นับโทษติดต่อกัน ก็ให้นับโทษจำเลยทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนไม่เกิน 5 ปี คู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่