พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามหลักศาสนาอิสลาม (นาซาร์) และการได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
ที่พิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดาจะได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525
สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ป.พ.พ.มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522 จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก.ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก.ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก.ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อน โจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว
สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ป.พ.พ.มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522 จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก.ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก.ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก.ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อน โจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยหนังสือนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) ต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นบิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามเพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว (ลาภาซ) แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์หรือกล่าวลาภาซไม่ถูกต้อง จึงมีปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชน และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์ของโจทก์เป็นนาซาร์ที่มีเงื่อนไขและไม่เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้กล่าวปฏิบัติตาม หนังสือนาซาร์ของโจทก์เป็นนาซาร์ที่ไม่สมบูรณ์ตามหลักศาสนาอิสลามคดีโจทก์จึงไม่อาจนำกฎหมายอิสลามว่าด้วยมรดกมาใช้บังคับ เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรม จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามนาซาร์ (พินัยกรรมอิสลาม) และการครอบครองที่ดิน กรณีโอนไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายและสละการครอบครอง
ที่ดินพิพาทแปลงปลูกบ้านเป็นที่ดินมีโฉนด แม้บิดา จะได้ทำหนังสือนาซาร์ ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ยกที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่มิได้จดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การ ยกให้นี้จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 สำหรับที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 การที่โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือรับการยกให้และรับหนังสือนาซาร์เก็บรักษาไว้เอง ไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้และแม้โจทก์ได้รับการให้เมื่อปี 2508 ครอบครองทำนาอยู่2 ปี แล้วย้ายไปอยู่บ้านสามีเมื่อปี 2510 แต่ในปี 2522จำเลยยื่นแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ทางราชการได้ประกาศเรื่องราวที่จำเลยขอออก น.ส.3 ก. ตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงออก น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยดังนี้การที่จำเลยได้นำที่นาไปออก น.ส.3 ก. ได้โดยโจทก์มิได้คัดค้านแสดงว่าแม้โจทก์จะเคยครอบครองที่นานี้มาก่อนโจทก์ก็ได้สละการครอบครองนั้นแล้ว ที่พิพาทซึ่งเป็นที่นาจึงเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น บิดามารดาโจทก์ได้ทำหนังสือนาซาร์ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามหลักศาสนาอิสลามยกที่ดินให้แก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า หนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลาม เพราะผู้ทำไม่ได้เปล่งวาจากล่าว(ลาภาซ)แสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือนาซาร์ หรือกล่าวลาภาซ ไม่ถูกต้อง ดังนี้ จึงมีปัญหาที่คู่ความโต้เถียงกันในปัญหาข้อกฎหมายว่าหนังสือนาซาร์ที่โจทก์อ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอิสลามหรือไม่ เมื่อโจทก์จำเลยเป็นอิสลามมิกชนและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวจึงต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489มาตรา 4 ศาลชั้นต้นจึงให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนี้ และเมื่อดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามเช่นนี้ ดะโต๊ะยุติธรรมจึงต้องลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การลงชื่อของดะโต๊ะยุติธรรมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือนาซาร์มีผลเมื่อตาย: การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องมรดกและการยกทรัพย์
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และเป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้ว แต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนด คือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้น และคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่า หนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้ว แต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนด คือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้น และคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือนาซาร์: พินัยกรรมภายใต้กฎหมายอิสลาม ผลย้อนหลังและการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และ เป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่าหนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้วแต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนดคือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้นและคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่าหนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้วแต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนดคือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้นและคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้