คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายคลังสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้า: ข้อบังคับต้องได้รับการตกลงชัดแจ้งจากเจ้าของสินค้า
พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 29(1)และ มาตรา 9(4) ให้คณะกรรมการจำเลยมีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9(4) คือ จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยจักต้องรับผิด เมื่อจำเลยออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่ให้ผู้ฝากสินค้ากับจำเลยต้องเสนอข้อเรียกร้องค่าเสียหายภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันรับมอบสินค้าขึ้นฝ่ายเดียว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นมาอ้างให้พ้นความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บรักษาสินค้าเพื่อศุลกากร ไม่ถือเป็นการรับฝากตามสัญญาขนส่งและเก็บรักษา
การที่จำเลยรับฝากสินค้าเพื่อให้เจ้าของสินค้าไปดำเนินพิธีการทางศุลกากร มิใช่รับฝากจากบุคคลทั่วไปโดยเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นการค้าปกติ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทนายคลังสินค้าและการพิสูจน์ความรับผิดจากเหตุเพลิงไหม้
การที่จำเลยรับฝากสินค้าเพื่อให้เจ้าของสินค้าไปดำเนินพิธีการทางศุลกากร มิใช่รับฝากจากบุคคลทั่วไปโดยเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นการค้าปกติ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับแก่จำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529-1530/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาสินค้าในโรงพักสินค้า ไม่ถือเป็นการรับฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเพลิงไหม้
แม้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยจะเป็นผู้ทำการเก็บรักษาสินค้า แต่ก็ปรากฏว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จำเลยไม่คิดค่าฝาก หากเจ้าของสินค้าไม่มารับสินค้านั้นภายใน 3 วัน จำเลยจะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยเร็ว และการที่เจ้าของสินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีทางศุลกากร เช่นนี้ การที่จำเลยรับทำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษี หาใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนไม่ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772 ประกอบมาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงพักสินค้าของจำเลยจะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ไม่ได้ความว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย เนื่องจากในวันเวลาเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ของจำเลยและกรมศุลกากรได้ร่วมกันปิดประตูโรงพักสินค้าตามระเบียบของจำเลยแล้ว เมื่อเกิดเพลิงไหม้ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิง 2 คันมาช่วยดับเพลิง แต่ไม่อาจดับได้ทันท่วงทีเพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าที่เกิดเหตุได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจเข้าไปดับให้ถึงต้นเพลิงหรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ พฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ต้องถูกไฟไหม้เสียหาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากสินค้าและการใช้ความระมัดระวังของผู้รับฝาก: การพิจารณาว่าจำเลยเป็นนายคลังสินค้าหรือไม่ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความระมัดระวัง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ
จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน 3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีค่าบำเหน็จ
ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่าของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่น จำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วยแต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บสินค้าของท่าเรือ: การพิจารณาความเป็นนายคลังสินค้าและขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย
การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยรับเก็บสินค้าไว้เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีเท่านั้น จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 เมื่อสินค้าเกิดเสียหายจึงไม่อาจนำบทบัญญัติอันว่าด้วยการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 772 ประกอบด้วยมาตรา 616 มาใช้บังคับ
จำเลยจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เว้นแต่จะฝากเกิน 3 วัน จำเลยจึงจะคิดค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสินค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อเป็นการลงโทษให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกไป การที่จำเลยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฝากทรัพย์เมื่อเกินกำหนด 3 วัน นับแต่เจ้าของสินค้านำสินค้าเข้าไว้ในโรงพักสินค้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุกวันนั้น โดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์เพื่อที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับฝากทรัพย์โดยมีค่าบำเหน็จ
ไม่ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้สินค้าในโรงพักสินค้าเพราะเหตุใดสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความสะเพร่าของบุคคลที่ทิ้งบุหรี่หรืออย่างอื่น จำเลยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ มีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่ภายนอกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เคมีในการดับเพลิง มีคำสั่งห้ามสูบบุหรี่ภายในโรงพักสินค้าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิงมาช่วยแต่ไม่อาจดับเพลิงได้ทันท่วงที เพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจดับเพลิงถึงต้นเพลิง หรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.