คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำส่งสำเนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ร้องในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้วการที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132(1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริงก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ฎีกาของจำเลย หน้าแรกมีข้อความประทับด้วย ตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบ คำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้า ไม่ มาให้ถือ ว่าทราบคำสั่งแล้ว"โดย มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่น ฎีกาเซ็น ไว้ในช่อง ระหว่างคำว่า"ลงชื่อ" และคำว่า "ผู้ร้องหรือผู้ยื่น" จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่า จะมาฟังคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม2532 ถ้า ไม่ มาก็ให้ถือ ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้น สั่งในฎีกาของจำเลยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2532 ว่า รับฎีกาให้ผู้ฎีกานำส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือ ว่าทิ้งฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือ ว่าคำสั่งศาลนั้นได้ ส่งให้จำเลยโดย ชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่ วันที่ 24 ตุลาคม 2532 การที่จำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาตาม ที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดฟังคำสั่งศาล และเพิกเฉยต่อการนำส่งสำเนาฎีกา
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา(วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์: หน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตาม
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1 (3) จำเลยเป็นผู้อุทธรณ์ถือว่าจำเลยเป็นโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วันตามที่ศาลชั้นต้นสั่งย่อมถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 (1) ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องนี้และบทบัญญัติในสองมาตราดังกล่าวให้นำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาลแะการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงชอบแล้ว
แม้จะฟังว่าจำเลยวางเงินค่านำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ศาลแล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องนำเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น กำหนดก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียได้